รณ ฤทธิชัย
รณ ฤทธิชัย มีชื่อจริงว่า รณฤทธิชัย คานเขต (12 กันยายน พ.ศ. 2492 - ) นักแสดงชาวไทยที่เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี พ.ศ. 2528 และรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2529 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเรื่อง ครูสมศรี กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จากนั้นได้หันมาทำงานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร ติดต่อกัน 5 สมัย
เกิด | 12 กันยายน พ.ศ. 2492 รณฤทธิชัย คานเขต |
---|---|
คู่สมรส | ดวงชีวัน โกมลเสน [1] |
อาชีพ | นักแสดง, นักการเมือง |
พระสุรัสวดี | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2528 - ครูสมศรี |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2529 - ครูสมศรี นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534 - คนเลี้ยงช้าง |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
รณฤทธิชัย คานเขต เกิดที่บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของนายสาระ และนางท่อน คานเขต จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อ พ.ศ. 2517 [2]
งานการเมือง
แก้นายรณฤทธิชัย คานเขต เริ่มลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2522 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในนามพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้นก็ลงสมัครมาโดยตลอด จนกระทั่งได้รับเลือกเป็นส.ส.จังหวัดยโสธร ในนามพรรคชาติไทย เป็น ส.ส. ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ย้ายเข้าร่วมงานกับ พรรคความหวังใหม่ และ พรรคไทยรักไทย ในสังกัด "กลุ่มริมน้ำ" เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค นายรณฤทธิชัยได้หันมาร่วมงานกับพรรคชาติไทยอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่กับพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)
นายรณฤทธิชัย คานเขต เป็นสมาชิกในกลุ่มบ้านริมน้ำของนายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2553[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคภูมิใจไทยแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และในปี พ.ศ. 2562 ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้งแต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน
ปัจจุบัน ได้เข้ามาสังกัดพรรครวมแผ่นดิน พร้อมกับดารา นักร้อง และนักแสดงหลายท่าน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้รณฤทธิชัย คานเขต ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดยโสธร สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
แก้- น้ำตาหยดสุดท้าย (2519)
- นายฮ้อยทมิฬ (2523) รับบท บักโทน
- อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท หมอประสาน
- เดอะไกด์ (2523)
- เสือเฒ่า สิงห์หนุ่ม (2524) รับบท สอึ้ง สปี้งสบัด
- สัตว์สงคราม (2524) รับบท อินทรีย์เหล็ก
- ไอ้ค่อม (2524) รับบท ไอ้หา
- ทอง ภาค 2 (2525) รับบท ผู้พันอินทรีย์
- มือปืน (2526) รับบท สารวัตรธนู
- ล่าข้ามโลก (2526)
- สงครามเพลง (2526) รับบท ก้อง
- มือเหนือเมฆ (2527) รับบท สุธรรม
- ชุมแพ ภาค 2 (2527)
- หน่วย 123 (2527) รับบท เตชา
- หกสี่เอี่ยว พยัคฆ์เหนือเมฆ (2528) รับบท นักเลง
- ข้ามากับดวง (2528) รับบท เสี่ยฉุย
- จับตาย (2528) รับบท กษิต
- ครูสมศรี (2529) รับบท บุญเพ็ง
- ขุมทองนรก (2529)
- ท้ายิง (2529)
- ดวลปืน (2529) รับบท กำพล
- ซิ่งวิ่งลุย (2529)
- เหยื่อทรชน (2530)
- คนกลางแดด (2530) รับบท เปลว
- ปล้นข้ามโลก (2530) รับบท สารวัตรศิษฐ์
- เหยื่อ (2530) รับบท นักรบ
- เก๊าม้าเก็ง (2531) รับบท ลัก
- ไอ้มือดำ (2531) รับบท หมวดธนู
- มือสังหาร (2531)
- นักรบดำ (2531) รับบท ข้าศึกโต้
- ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ (2532) รับบท สารวัตร
- คนเลี้ยงช้าง (2533) รับบท หัวหน้าคำรณ
- สงครามเพลงแผน 2 (2533) รับบท รณ รับเชิญ
- เพชรพระอุมา (2533) รับบท เนวิน
- นายซีอุย แซ่อึ้ง (2534)
- Dead Target (2534) ภาพยนตร์ฮ่องกง
- มาห์ (2534) รับบท สารวัตร (รับเชิญ)
- มือปืน 2 สาละวิน (2536) รับบท พ.ท. ชอมิน
- อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) รับบท นายภู
- มังกรเจ้าพระยา (2537)
- เสียดาย (2537) รับบท พ่อของปู
- ฉีกป่าล่าคน (2538)
- ศยามล (2538)
- สุริโยไท (2544) รับบท พระเจ้าแปร
- The Legend of Suriyothai (2546) รับบท พระเจ้าแปร
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 6 อวสานหงสา (2558) รับบท เมงราชาญี
- พันท้ายนรสิงห์ (2558) รับบท กำนันถึก
ละครโทรทัศน์
แก้- ทูตมรณะ (2533) (ช่อง 7) รับบท
- สุดถนนบนทางเปลี่ยว (2534) (ช่อง 3) รับบท
- แม่เบี้ย (2534) (ช่อง 7)
- ฉันจะบิน (2534) (ช่อง 7)
- เรือนแรม (2536) ช่อง 7 รับบท
- รักแปลกที่แตกต่าง (2537) (ช่อง 7) รับบท
- ถนนสายสุดท้าย (2537) (ช่อง 7) รับบท
- เจ้านาง (2537) ช่อง 5 รับบท คุณสมาน (รับเชิญ)
- ไฟสิ้นเชื้อ (2537) (ช่อง 3)
- สารวัตรใหญ่ (2537) (ช่อง 7)
- คุณนายโอซาก้า (2537) (ช่อง 5)
- ชมรมขนหัวลุก ตอน มฤตยูมืด (2538) (ช่อง 5)
- ระเบิดเถิดเทิง (2539) (ช่อง 5) (รับเชิญ)
- เมืองดาหลา (2546) (ช่อง 7) รับบท (รับเชิญ)
- พันท้ายนรสิงห์ (ภาพยนตร์โทรทัศน์) (2559) (ช่องเวิร์คพอยท์) รับบท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พบกับบ้าน(ในอดีต) ของ รณ ฤทธิชัย+ดวงชีวัน
- ↑ ฐานข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. พ.ศ. 2544[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี18เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗