ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา เป็นภาพยนตร์ภาคที่หกซึ่งเป็นภาคสุดท้ายในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำหนดฉายในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
คุณากร เศรษฐี
นักแสดงนำ
ผู้บรรยายมนตรี เจนอักษร
กำกับภาพสตานิสลาฟ ดอร์ซิก
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย9 เมษายน พ.ศ. 2558
ความยาว95 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
พม่า
มอญ
ทำเงิน115.11 ล้านบาท
(เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[1]
ก่อนหน้านี้ยุทธหัตถี
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่อง

แก้

แม้ว่าสงครามยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อาณาจักรอยุธยามีความ­สุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่ หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองแ­ละสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน

ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงระบายพระโทสะที่สูญเสียรา­ชบุตรพระมหาอุปราชามังกยอชวาโดยสังหารเหล่าแม่ทัพนายกองทั้งสิ้นทั้งปวง และเข้าไปปลงพระชนม์พระนางสุพรรณกัลยาและพ­ระราชโอรสธิดา สมเด็จพระนเรศวรจึงนำทัพชัยหมายแก้แค้นแทน­พระพี่นาง แม้จะได้รับคำทัดทานจากพระมหาเถรและพระมเห­สีมณีจันทร์ ฝ่ายพระเจ้าตองอูปกครองโดยเมงเยสีหตูผู้เป็นน้องเขยพระเจ้านันทบุเรงคิดจะศิโรราบต่ออาณาจักรอยุธยาแต่ถูกทัดทานโดยพระมหาเถรเสียมเพรียม ให้ริบตัวพระเจ้านันทบุเรงและยึดอำนาจปกครองแผ่นดินพม่าเสียเอง พระเจ้านันทบุเรงเมื่ออับจนหนทางไร้ญาติมิตรเข้าช่วยเหลือ ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรและพระเจ้านยองยานก่อกบฏ นรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ากับอโยธยา จึงยอ­มให้นัดจินหน่องราชบุตรแห่งเจ้าเมืองตองอู­พาพระองค์พร้อมกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนจ­ากหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมือง หงสาวดีก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว

ศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องยกทัพตา­มต่อตีไปยังตองอู เพื่อหมายสังหารพระเจ้านันทบุเรงให้จงได้ แต่ระหว่างตั้งทัพล้อมเมืองตองอูกองทัพอโยธยาก็ถูกกองทัพยะไข่นำโดยเมงราชาญีดักปล้นสะเบียงและได้จับตัวสมเด็จพระเอกาทศรถไป แต่พระยาชัยบุรีสามารถเข้าไปช่วยพระองค์ได้ เมื่อนัดจินหน่องโอรสในพระเจ้าตองอูเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรงเป็นต้นเหตุชักศึกเข้าบ้านจึงอัญเชิญสมเด็จพระนเรศวรให้ลักลอบเข้ามาสังหารพระเจ้านันทบุเรงด้วยตนเองถึงห้องบรรทม แต่ด้วยสังขารของพระเจ้านันทบุเรงทรงเกิดการปลงละที่จะสังหารเสีย ยกทัพกลับอโยธยา ภายหลังพระเจ้านันทบุเรงถูกนัดจินหน่องกับพระนางเมงเกงสอมเหสีเจ้าเมืองตองอูและมารดาของนัดจินหน่องสมคบคิดวางยาพิษลงในเครื่องเสวยถึงแก่การสิ้นพระชนม์ ด้วยพระชนม์มายุ 64 พรรษา

การกลับมาอโยธยาครั้งนี้ทรงเกิดดวงตาเห็นธรรมหมายใจจะออกบรรพชาละทางโลกและสละราชสมบัติให้สมเด็จพระเอกาทศรถ แต่มีภารกิจไปตีเมืองอังวะกำจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามแก่ชาวอโยธยาสืบไป ก่อนออกศึกทรงสัญญากับพระนางมณีจันทร์เมื่อเสร็จศึกจะกลับมารับขวัญรวมทั้งโอรสในท้องด้วย

พ.ศ. 2148 ระหว่างนำทัพเข้าตีอังวะสมเด็จพระนเรศวรทรงประชวรและหยุดทัพที่เมืองฝาง ระหว่างนั้นเห็นภาพนิมิตรเป็นมณีจันทร์นึกเสียพระทัยที่ทรงไม่ยอมเชื่อเรื่องตีเมืองอังวะ อีกทั้งสั่งเสียถึงราชโอรสที่อาจมีราชภัยตามมาเนื่องจากการผลัดแผ่นดิน ต่อมาได้สั่งเสียสมเด็จพระเอกาทศรถให้สืบทอดเจตนารมณ์พระองค์ให้เข้าตีอังวะ แม้พระองค์จะสวรรคตแล้วแต่ก็ให้ผูกพระศพกับหลังช้างเข้าประตูเมืองอังวะให้จงได้ ไม่นานพระองค์ก็ถึงแก่สวรรคตด้วยพระชนม์มายุ 50 พรรษา

นักแสดง

แก้

นักแสดงรับเชิญ

แก้

ข้อแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์กับภาพยนตร์

แก้
  • พระยาพะสิมไม่ได้ถูกประหารชีวิตหลังสงครามยุทธหัตถี เพราะถูกอโยธยาจับตัวไปตั้งแต่ศึกพระอุปราชาครั้งที่ 1แล้ว[2]
  • แท้จริงแล้วสงครามไทย-พม่า หลังศึกยุทธหัตถีจนถึงสมเด็จพระนเรศวรสวรรคตมีด้วยกัน 5 ครั้ง[3][4]
  1. ไทยตีเมืองทวายและตะนาวศรี ในปี พ.ศ. 2136[3]
  2. ไทยได้หัวเมืองมอญ ในปี พ.ศ. 2137 ในครั้งนี้ ไทยตีได้เมาะตะมะและเมาะลำเลิง (ซึ่งเมืองเมาะลำเลิง ในภาพยนตร์เรียกว่า เมาะละแหม่ง)[4]
  3. สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2138 ในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงล้อมเมืองหงสาวดีอยู่ถึง 4 เดือน ก็ยังตีเมืองไม่ได้ เมื่อทรงทราบว่า กองทัพพระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอู พระเจ้าแปร ได้ยกกองทัพลงมาช่วยพระเจ้าหงสาวดีถึงสามเมือง เห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากนัก จึงถอยทัพกลับคืนพระนคร[3][4]
  4. สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2142 ในครั้งนี้ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรไปถึงเมืองหงสาวดีก็พบว่าเมืองถูกเผาไปแล้วโดยพวกยะไข่ และพระเจ้าตองอูก็นำตัวพระเจ้านันทบุเรงไปไว้ที่เมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพตามขึ้นไปล้อมเมืองตองอูอยู่ 2 เดือน แต่ตีไม่ได้ รวมทั้งขาดแคลนเสบียงอาหารเนื่องจากทางขนส่งเสบียงอาหารเป็นทางไกล อีกทั้งกองโจรยะไข่ได้ตีตัดการขนส่งเสบียง ประกอบกับล่วงเข้าต้นฤดูฝน จึงทรงยกทัพกลับพระนคร[3]
  5. สมเด็จพระนเรศวรยกไปตีเมืองอังวะ ในปี พ.ศ. 2148 ในครั้งนี้ ยังไม่ทันจะได้ตีเมืองอังวะ สมเด็จพระนเรศวรก็ประชวรและเสด็จสวรรคตเสียก่อน กองทัพไทยจึงต้องเลิกกลับคืนพระนคร[4]
  • สมเด็จพระนเรศวรไม่ได้ลอบเข้าเมืองตองอูเพื่อหมายจะสังหารพระเจ้านันทบุเรงตามที่ปรากฏในภาพยนตร์[3][4]
  • ในประวัติศาสตร์จริง สมเด็จพระนเรศวรยกทัพกลับจากเมืองตองอูเพราะขาดเสบียงและในขณะนั้นกำลังล่วงเข้าต้นฤดูฝน[3]
  • ถึงแม้ในภาพยนตร์จะมีคำสั่งเสียจากสมเด็จพระนเรศวรให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปตีเมืองอังวะ แต่ในประวัติศาสตร์จริงสมเด็จพระเอกาทศรถก็ไม่ได้ได้ไปตีอังวะ แต่ให้ถอยทัพกลับคืนพระนคร[4]
  • เม้ยมะนิก เป็นเพียงตัวละครสมมุติที่แต่งขึ้นเพื่ออุปโลกให้เป็นพระชายามอญของสมเด็จพระเอกาทศรถ

อ้างอิง

แก้
  1. รายได้หนังประจำสัปดาห์ 14 - 20 พ.ค. 2558
  2. "ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หน้า 1".
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หน้า 3".
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า - วิกิซอร์ซ".[ลิงก์เสีย]