สุเนตร ชุตินธรานนท์

นักประวัติศาสตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ ชาวไทย

ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ เป็นนักประวัติศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย


สุเนตร ชุตินธรานนท์

ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 พ.ศ. 2562
การศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศศ.บ.)
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ศศ.ม.)
มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ปร.ด.)
อาชีพนักประวัติศาสตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์
อดีตอาจารย์

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์สุเนตรจบการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขา ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุเนตรเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (2557-ปัจจุบัน) เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา (2550-2557) และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า

ผลงาน

แก้

มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น มีผลงานด้านหนังสือ เช่น

  • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐): ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. 2531)
  • พม่ารบไทย (พ.ศ. 2537)
  • สู่ลุ่มอิระวดี (2537)
  • บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. 2538)
  • พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2542)
  • พม่าอ่านไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทรรศนะพม่า (พ.ศ. 2544)
  • เรือ: วัฒนธรรมชาวน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (2545)
  • ชาตินิยมในแบบเรียนไทย (2552)
  • จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้: เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคกรุงธนบุรี (2562)


สำหรับผลงานวิจัย ในปี พ.ศ. 2552 คือ ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ศึกษามุมมองของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, และมาเลเซีย ว่ามีมุมมอง ทัศนคติต่อไทยอย่างไร ซึ่ง ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ

นอกจากนี้ ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดคุยกับวีระ ธีรภัทรทางวิทยุคลื่น F.M.96.5 MHz เป็นต้น และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544) ภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550-2557) "พันท้ายนรสิงห์" (พ.ศ. 2558) โดยในเครดิตภาพยนตร์ปรากฏชื่อของ ดร. สุเนตร เป็นผู้เขียนบทร่วมกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ด้วย [1][2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ จาก IMDb
  2. อาจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๖๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2021-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๒๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑