สุริโยไท
สุริโยไท เป็นภาพยนตร์ไทยปี 2544 กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เล่าเรื่องพระชนมชีพของพระสุริโยทัย ซึ่งทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "สตรีผู้ยิ่งใหญ่"[2] พงศาวดารไทยบันทึกว่า พระนางทรงรบกับตะโดธรรมราชาที่ 1 จนสิ้นพระชนม์บนคอช้างเพื่อปกป้องสมเด็จพระมหาจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี และอาณาจักรอยุธยา ภาพยนตร์นี้ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย[1] จนกระทั่ง พี่มาก..พระโขนง ทำลายสถิติ[3]
สุริโยไท | |
---|---|
กำกับ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
บทภาพยนตร์ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สุเนตร ชุตินธรานนท์ |
อำนวยการสร้าง | หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | ไอกอร์ ลูเธอร์ สตานิสลาฟ ดอร์ซิก อานุภาพ บัวจันทร์ |
ตัดต่อ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล โคลลิน กรีน |
ดนตรีประกอบ | ริชาร์ด ฮาร์วีย์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2544 |
ความยาว | 185 นาที (ปกติ) 300 นาที (ฉบับสมบูรณ์) |
ภาษา | ภาษาไทย ภาษาพม่า |
ทุนสร้าง | 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] |
ทำเงิน | 324.5 ล้านบาท (กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) 550 ล้านบาท (ทั่วประเทศ) |
ต่อจากนี้ | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เนื้อเรื่อง
แก้เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคตในปี พ.ศ. 2072 พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา และพระสุริโยไท มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 5 พระองค์ คือ พระราเมศวร , พระมหินทร, พระสวัสดิราช(พระวิสุทธิกษัตรีย์), พระบรมดิลก และ พระเทพกษัตรี ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช
เมื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ พระไชยราชา ผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ควรจะได้สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรทรงขอให้ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระโอรสวัย 5 พรรษา อันเกิดแต่พระอัครชายาวัย 17 พรรษาเป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทน ระหว่างนั้นบ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริต ติดสินบนเถลิงอำนาจ โดยเฉพาะ เจ้าพระยายมราช บิดาของพระอัครชายา
5 เดือนให้หลังสมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงเข้ายึดราชบัลลังก์ และให้สำเร็จโทษพระรัษฏาธิราช ตามราชประเพณีโบราณ รวมถึงสั่งประหารขุนนางทุจริตทุกคน และทรงขึ้นครองราชย์แผ่บุญญาธิการเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป ทรงออกรบปราบหัวเมืองอยู่เนือง ๆ และได้แต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา ว่าราชการแทนพระองค์อยู่ที่กรุงอโยธยา ส่วนพระมเหสีของพระไชยราชา คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์กับ ขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ เชื้อราชวงศ์อู่ทองด้วยกัน และได้สมคบคิดกัน ลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า พระโอรสของพระไชยราชา ที่ประสูติจากท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (จิตรวดี)ได้ขึ้นครองราชย์แทน ในขณะที่มีพระชนม์เพียง 10 พรรษา แต่ต่อมาไม่นานก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนาขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระวรวงศาธิราช
นับตั้งแต่สิ้นรัชกาลพระไชยราชา พระเฑียรราชาก็ได้ผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยไททรงเตรียมฝึกทหาร โดยมีผู้จงรักภักดี คือ ขุนพิเรนทรเทพ, ขุนอินทรเทพ, หมื่นราชเสน่หานอกราชการ และหลวงศรียศลานตากฟั เฝ้าคุ้มกันภัยให้ ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ระหว่างนั้นทางพม่าได้รวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และแผ่ขยายอำนาจรุกรานไทยภายใต้พระมหากษัตริย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ และได้เดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2091 เกิดเป็นสงครามยุทธหัตถี ที่ทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งเป็นเหตุให้ พระสุริโยไทสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
รายชื่อนักแสดง
แก้- หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี รับบท พระสุริโยไท
- ศรัณยู วงศ์กระจ่าง รับบท พระเฑียรราชา หรือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบท ขุนพิเรนทรเทพ หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
- พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง รับบท พระไชยราชา หรือ สมเด็จพระไชยราชาธิราช
- จอนนี่ แอนโฟเน่ รับบท ขุนวรวงศาธิราช
- ใหม่ เจริญปุระ รับบท ท้าวศรีสุดาจันทร์
- สินจัย เปล่งพานิช รับบท ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (จิตรวดี)
- สรพงษ์ ชาตรี รับบท หมื่นราชเสน่หา (นอกราชการ)
- อำพล ลำพูน รับบท ขุนอินทรเทพ หรือ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
- ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ รับบท หลวงศรียศลานตากฟ้า
- วรรณษา ทองวิเศษ รับบท พระอัครชายา ในสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
- พิศาล อัครเศรณี รับบท สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
- เพ็ญพักตร์ ศิริกุล รับบท พระนางจิรประภามหาเทวี
- ทาริกา ธิดาทิตย์ รับบท พระสนมอินทรเทวี ในสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
- รณฤทธิชัย คานเขต รับบท พระเจ้าแปรตะโดธรรมราชา
- สหรัถ สังคปรีชา รับบท พระเจ้าบุเรงนอง
- วรุฒ วรธรรม รับบท สีหตู
- ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์ รับบท พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
- สมบัติ เมทะนี รับบท เมงเยสีหตู
- เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ รับบท มหาอุปราช (จัน บ้านมหาโลก)
- สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ รับบท ออกญามหาเสนา
- มานพ อัศวเทพ รับบท ออกญาสวรรคโลก
- กรุง ศรีวิไล รับบท ออกญาพิชัย
- อดิเทพ ชดช้อย รับบท พันเทพรักษา
- สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบท สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
- อรัญญา นามวงศ์ รับบท แม่นมทองสุก
- นัยนา จันทร์เรือง รับบท พุดกรอง
- ปวันรัตน์ นาคสุริยะ รับบท เกยูร
- จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา รับบท ปริก
- ญาณี ตราโมท รับบท ออกญาราชภักดี
- มีศักดิ์ นาครัตน์ รับบท ออกญายมราช
- ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี รับบท ท้าววรจันทร์
- เขมสรณ์ หนูขาว รับบท บัวเผื่อน
- ฝนพา สาทิสสะรัต รับบท สร้อย
- ไกรลาศ เกรียงไกร รับบท ขุนหาญเรืองฤทธิ์
- สามารถ พยัคฆ์อรุณ รับบท ไอ้ไป๋
- เขาทราย แกแล็คซี่ รับบท ไอ้เป๋
- เมืองชัย กิตติเกษม รับบท ทลวงฟัน
- แรม วรธรรม รับบท พระยาจักรี
- ยอดชาย เมฆสุวรรณ รับบท พระมหานาค
- ปวีณา หงสกุล รับบท แม่ของพระสุริโยไท
- พิศมัย วิไลศักดิ์ รับบท พระมาตามหัยยิกา
- สุรชัย จันทิมาธร รับบท เฒ่านก
- ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ รับบท พระสุนทรสงคราม
- ดำรง พุฒตาล รับบท ออกญาโกษาธิบดี
- นาถ ภูวนัย รับบท ออกญาศรีสุรินทร์
- จรัสพงษ์ สุรัสวดี รับบท ขุนพินิจ
- เกียรติศักดิ์ ศักดานุภาพ รับบท พระราเมศวร
- อภิญญ์ รัชตะหิรัญ รับบท พระมหินทร์
- พิมลรัตน์ พิศลยบุตร รับบท พระสวัสดิราช หรือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และ พระสุริโยไท (วัยสาว)
- ชมพูนุท เศวตวงศ์ รับบท พระบรมดิลก
- จีระนันท์ กิจประสาน รับบท พระเทพกษัตรีย์
- วิทยา โกมลฐิติกานต์ รับบท พระเยาวราช
- สรณัฎฐ์ ฉัตรวิบูรณ์ รับบท ขุนพิเรนทรเทพ (วัยหนุ่ม)
- รุษยา เกิดฉาย รับบท ท้าวศรีสุดาจันทร์ (วัยสาว)
- ไกร ครรชิต รับบท เจ้าเมืองทวารวดี
- มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา รับบท ยาย (บัวเผื่อน)
- อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา รับบท หัวหน้าโขลน
- ผจญ ดวงขจร รับบท ทนาย
- ไพโรจน์ ใจสิงห์ รับบท หมื่นด่างล้าน
- ครรชิต ขวัญประชา รับบท หมื่นพร้าว
- อ.วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ รับบท หมอซินแส
- อ.อำพัน เจริญสุข รับบท จีนฮง
- สีเทา เพ็ชรเจริญ รับบท พรานเหม็น
- โกร่ง กางเกงแดง รับบท หลวงราชนิกูล
- ล้อต๊อก รับบท ชาวบ้าน
- ด.ช.ลูคัส อดัม บุญธนากิจ รับบท พระรัษฎาธิราชกุมาร
- ด.ช. ปรมัติ ธรรมผล รับบท พระยอดฟ้า
- ด.ช.จีรวัฒน์ จันทร์สมบูรณ์ รับบท พระศรีศิลป์
- กังวาล รุ่งเรือง รับบท หมื่นทรงเดช
- บุญส่ง ดวงดารา รับบท พระบันทูล
- นภาพร หงสกุล รับบท สุ่น
- พรพิมล รักธรรม รับบท สนมนางใน
- สรนันท์ ร. เอกวัฒน์ รับบท พระยานารายณ์
การสร้างและความสำเร็จ
แก้สุริโยไทสร้างขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 69 พรรษา[4] ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ว่าทรงเป็นห่วงประวัติศาสตร์ไทย เพราะเริ่มห่างหายไปจากความรับรู้และการให้ความสำคัญของชาวไทยร่วมสมัย
ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องโดยอิงจากคำบอกเล่าของโดมิงโก ดือ ซีซัส (Domingos De Seixas) ทหารรับจ้างของชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอโยธยาช่วง พ.ศ. 2067-2092 เป็นภาพยนตร์ทุนสร้างมหาศาลกว่า 400 ล้านบาท นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีทุนสร้างมากที่สุดในขณะที่ออกฉาย โดยใช้เวลาสร้างนานกว่า 5 ปี โดยแบ่งเป็นเวลาในการเขียนบท 2 ปี และถ่ายทำ 3 ปี[4]
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทอดพระเนตรภาพยนตร์ "สุริโยไท" รอบปฐมทัศน์ ณ ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2544[5] อีกสามวันต่อมาได้มีการฉายรอบสื่อมวลชน ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า เดอะมอลล์ บางกะปิ[6]
สุริโยไทเข้าฉายจริงเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกัน ซึ่งในวันแรกนั้นมีผู้มารอชมเป็นจำนวนมาก โรงภาพยนตร์บางแห่งมีการรอต่อแถวซื้อบัตรนานกว่าหนึ่งชั่วโมง อีกทั้งยังมีการฉายในระบบไอแมกซ์ด้วย[7] ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายและเป็นที่กล่าวขานอย่างมาก โดยได้รับคำวิจารณ์ว่าสร้างได้อย่างละเอียดละไม ใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย ทรงผมและฉากประกอบ แต่ก็ได้รับคำวิจารณ์จากชาวต่างชาติว่า เนื้อหามีรายละเอียดซับซ้อนเกินไปเนื่องจากมีตัวละครมาก และดำเนินเรื่องอย่างล่าช้า อีกทั้งในตอนจบก็ไม่มีไคลแม็กซ์ ถึงแม้ว่าบทภาพยนตร์จะเข้มข้นด้วยเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจในราชบัลลังก์เหมือนบทละครของเช็คสเปียร์ก็ตาม [4]
สุริโยไทเป็นหนึ่งในสิบอันดับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยรายได้ 324.5 ล้านบาท ในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดเชียงใหม่ [8] และรายได้รวมทั้งประเทศ 550 ล้านบาท[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Elley, Derek (December 14, 2001). "Film Reviews: Suriyothai". Variety. สืบค้นเมื่อ April 29, 2021.
- ↑ Simon Winchester, The Sun Never Sets: Travels To The Remaining Outposts Of The British Empire (Prentice Hall/Simon &.) "Exploring Ayutthaya by Canal Boat." The New York Times. 7 June 1987. Web. 2 Dec. 2013.
- ↑ "Give it up for the ghost". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). กาลานุกรมสยามประเทศไทย พ.ศ. 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 355 หน้า. หน้า 264. ISBN 9789742280703
- ↑ ศาลาเฉลิมกรุง. "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทอดพระเนตรภาพยนตร์แห่งสยามประเทศ "สุริโยไท"รอบปฐมทัศน์". www.salachalermkrung.com.
- ↑ "15 สิงหาคมนี้ พบกับ SF CINEMA CITY 3 สาขาใหม่ที่ เดอะมอลล์ บางกะปิ-บางแค". ryt9.com.
- ↑ "เข้าฉายสัปดาห์แรก ผู้คนแห่ชมหนัง สุริโยไท ทั่วประเทศ". SIAMZONE.COM.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- บทวิจารณ์และชมภาพยนตร์ตัวอย่าง เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์
- สุริโยไท ที่ สยามโซน.คอม