พระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช)
พระศรีศิลป์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชประสูติแต่แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ และเป็นพระโสทรานุชาในสมเด็จพระยอดฟ้า เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติ ก็ทรงอุปการะพระศรีศิลป์เรื่อยมา จนกระทั่งพระชันษา 20 พรรษาได้คิดขบถขึ้นและนำไปสู่การสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา
พระศรีศิลป์ | |
---|---|
ประสูติ | พ.ศ. 2084 |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2104 พระราชวังโบราณ อยุธยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สุพรรณภูมิ |
พระบิดา | สมเด็จพระไชยราชาธิราช |
พระมารดา | แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ |
พระประวัติ
แก้พระศรีศิลป์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราชประสูติแต่นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มีพระเชษฐา 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระยอดฟ้า ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชาธิราช สมเด็จพระยอดฟ้าเสด็จผ่านพิภพสืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาต่อจากสมเด็จพระราชบิดา ในขณะนั้นแม่หยัวศรีสุดาจันทร์ ได้ลอบเป็นชู้กับขุนวรวงศาธิราชและสมคบคิดกันนำสมเด็จพระยอดฟ้าไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา ส่วนพระศรีศิลป์ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 7 พรรษาแม่หยัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราชทรงเลี้ยงไว้
หลังจากขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว ขุนพิเรนทรเทพและข้าราชการจำนวนหนึ่งวางแผนลอบสังหารในขณะที่ขุนวรวงศาธิราชแม่หยัวศรีสุดาจันทร์พระราชบุตรี (พระราชธิดาในขุนวรวงศาธิราชที่ประสูติแต่แม่หยัวศรีสุดาจันทร์) และพระศรีศิลป์ เสด็จขึ้นไปจับช้างที่เมืองลพบุรี ในครั้งนั้นขุนวรวงศาธิราช แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ และพระราชบุตรีถูกจับและสังหารสิ้น ส่วนพระศรีศิลป์นั้นทรงรอดพ้นจากภยันตรายในครั้งนี้ได้
เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ทรงอุปการะพระศรีศิลป์เรื่อยมา จนเมื่อพระศรีศิลป์มีพระชันษาได้ประมาณ 14 พรรษา จึงทรงให้พระศรีศิลป์ออกผนวชเป็นสามเณร ณ วัดราชประดิษฐาน (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวว่า ผนวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ) แต่พระศรีศิลป์กลับซ่องสุมกำลังพลคิดการกบฏ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยามหาเสนาจับกุมตัวพระศรีศิลป์มาพิจารณาความ เมื่อรับเป็นสัจแล้ว ทรงไม่ประหารพระศรีศิลป์แต่ทรงให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิกราช โดยให้หมื่นจ่ายอดเป็นผู้ควบคุม
ครั้งพระศรีศิลป์มีพระชันษาครบที่จะทรงอุปสมบทเป็นภิกษุได้แล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้พระศรีศิลป์ออกผนวช แต่พระศรีศิลป์ได้หนีจากการคุมตัวออกไปอยู่ที่ม่วงมดแดงก่อนหน้านั้นถึง 3 วัน จึงให้เจ้าพระยามหาเสนาไปตามพระศรีศิลป์กลับมา
พระศรีศิลป์นั้นได้เข้ากับพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ ซึ่งต้องโทษถูกจองจำไว้ก่อนหน้าและมีหนังสือลับออกมาให้พระศรีศิลป์เข้าไปช่วย โดยพระศรีศิลป์ได้เข้าไปขอฤกษ์เพื่อบุกเข้าพระราชวังหลวงกับพระพนรัตน์ป่าแก้ว (พระสังฆราชวัดป่าแก้ว) แต่พระศรีศิลป์บุกเข้าไปยังพระราชวังหลวงก่อนถึงกำหนด ในครั้งนั้นเจ้าพระยามหาเสนาขับช้างเข้าชนกับพระศรีศิลป์ แต่เจ้าพระยามหาเสนาเป็นฝ่ายโดนขอของพระศรีศิลป์และพลัดตกจากหลังช้างไป พระศรีศิลป์จึงเข้ามายังพระราชวังหลวงได้ ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นไม่ทันตั้งพระองค์จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งหนีไปยังเกาะมหาพราหมณ์ หลังจากนั้น พระศรีศิลป์จึงเข้าไปช่วยพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ได้สำเร็จ
ในขณะนั้นพระราเมศวร พระมหินทราธิราช และเสนาบดีได้เข้ารบกับพระศรีศิลป์ แต่ละฝ่ายต่างล้มตายเป็นอันมากโดยพระศรีศิลป์นั้นต้องปืนสิ้นพระชนม์ลง หลังจากนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับเข้าพระราชวังและมีพระราชดำรัสให้นำตัวพระพนรัตน์ป่าแก้ว พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ์ หมื่นภักดีศวร และหมื่นไภยนรินทร์ ไปประหารเสียแล้วนำศพเสียบไว้ที่ตะแลงแกงพร้อมกับศพ
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระศรีศิลป์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระไชยราชาธิราช) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกพร้อม มิตรภักดี (พระยานรินทร์ราชเสนี). พ.ศ. 2486.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)