พระมหาธรรมราชาที่ 2

พระร่วงเจ้าสุโขทัย

พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พ.ศ. 1901–1952)[1] เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง[1] ครองราชย์ พ.ศ. 1911–1942 แล้วจึงออกผนวชจนสวรรคตใน พ.ศ. 1952[1]

พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหากษัตริย์สุโขทัย[1]
ครองราชย์พ.ศ. 1911–1942[1]
ก่อนหน้าพระมหาธรรมราชาที่ 1
ถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 3
พระราชสมภพพ.ศ. 1901[1]
อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคตพ.ศ. 1952[1]
อาณาจักรสุโขทัย
อัครมเหสีสมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
พระราชบุตรสมเด็จรามราชาธิราช
ศรีธรรมาโศกราช
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาที่ 1
พระราชมารดาสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา
ศาสนาพุทธ
พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนบานเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระยาเลอไทย
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหาธรรมราชาที่ 3
พระมหาธรรมราชาที่ 4

พระราชประวัติ

แก้

พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 ประสูติใน พ.ศ. 1901[1] และครองราชสมบัติใน พ.ศ. 1911[1] เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) กับสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา ได้ศึกษาจนจบศิลปศาสตร์ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา ทรงขยายพระราชอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง[2]

พระอัครมเหสีของพระองค์คือสมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ พระองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จรามราชาธิราช ส่วนพระองค์รองมีพระนามว่าศรีธรรมาโศกราช[3]

ใน พ.ศ. 1912 พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงส่งพระมหาสุมนเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่อาณาจักรล้านนาตามที่พญากือนาทรงขอมา[4] ถึง พ.ศ. 1921 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายสุโขทัยต้านทานไม่ได้ พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมออกจากเมืองมาถวายบังคม[5] สมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้ครองกรุงสุโขทัยต่อไปในฐานะประเทศราช ถึง พ.ศ. 1931 จึงกลับเป็นเอกราชได้ และขยายอาณาเขตกว้างขวางขึ้นดังปรากฏว่าใน พ.ศ. 1939 อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงน่าน หลวงพระบาง นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เชียงแสน เป็นต้น[1]

ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 ออกผนวชที่ทุ่งชัย[6] พระราชเทวีจึงสำเร็จราชการแทนและเตรียมจะให้พระรามราชาธิราชขึ้นครองราชย์ แต่ในปี พ.ศ. 1943 พญาไสยลือไทยก็ได้ชิงปราบดาภิเษกเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 3 เสียก่อน หลังจากนั้น พระมหาพญาลือไทย ครองสมณเพศ จนถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. 1952[1]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 37)
  2. "จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ ๒". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 1942. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "จารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ ๑". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 38)
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 44
  6. "จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ 1". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 1942. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. ISBN 9786167308258.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 2 ถัดไป
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)   พระมหากษัตริย์ไทย
(พ.ศ. 1911–1942)
  พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย)