พระมหาธรรมราชาที่ 4

พระมหาธรรมราชาที่ 4[1] (สวรรคต พ.ศ. 1981) พระนามเดิมว่า พระยาบาลเมือง หรือ บรมปาล[1] เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง[1] ครองราชย์ พ.ศ. 1962–1981[1]

พระมหาธรรมราชาที่ 4
พระมหากษัตริย์สุโขทัย[1]
ครองราชย์พ.ศ. 1962–1981[1]
ก่อนหน้าพระมหาธรรมราชาที่ 3
ถัดไปสมเด็จพระราเมศวรเจ้า (อุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา)
ผู้ครองเมืองพิษณุโลก
ก่อนหน้าเจ้าสามพระยา
ถัดไปสมเด็จพระราเมศวรเจ้า
พระราชสมภพไม่ปรากฏ
สวรรคตพ.ศ. 1981
พระราชบุตรพระยายุทธิษเฐียร
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาที่ 2
พระราชมารดาแม่นางษาขา

พระราชประวัติ

แก้
  พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
 พ่อขุนบานเมือง
 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 พระยาเลอไทย
 พระยางั่วนำถุม
 พระมหาธรรมราชาที่ 1
 พระมหาธรรมราชาที่ 2
 พระมหาธรรมราชาที่ 3
 พระมหาธรรมราชาที่ 4

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระยาบาลเมืองเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 3[2] แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เช่น ประเสริฐ ณ นคร แย้งว่า พระยาบาลเมืองควรเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2 เพราะธรรมเนียมการนำชื่อปู่มาตั้งชื่อหลาน แสดงว่า พระมหาธรรมราชาที่ 3 และที่ 4 (พระยาบาลเมือง) เป็นพี่น้องกัน[3] โดยมีพระราชบิดาคือพระมหาธรรมราชาที่ 2[4]

พระยาบาลเมืองมีพระราชมารดาคือแม่นางษาขา และมีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งเป็นพระราชเทวีในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2[5]

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าเมื่อพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลก (พระมหาธรรมราชาที่ 3) สวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือเกิดจลาจล เพราะพระยาบาลเมืองและพระยารามแห่งสุโขทัยแย่งชิงอำนาจกัน สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาจึงเสด็จมาเมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทั้งพระยาบาลเมืองและพระยารามทรงทราบก็เสด็จออกมาถวายบังคม เมื่อสมเด็จพระอินทราชาเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงโปรดให้เจ้าสามพระยามาครองกรุงพิษณุโลก[6]

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก หมายเลข 2/ก 104 ระบุว่าเมื่อเจ้าสามพระยาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ขณะนั้นพระยาบาลเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลกได้ลงมาเข้าเฝ้า จึงพระราชทานสุพรรณบัฏเครื่องราชูปโภคและเฉลิมพระนามเป็นมหาธรรมราชาธิราช มีการมหรสพเฉลิมฉลองที่เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยารามราช พระยาเชลียง และพระยาแสนสอยดาว มาช่วยงานด้วย[5]

การสวรรคตและสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย

แก้

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าพระราชโอรสไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 1981[7] จึงสันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชาที่ 4 อาจสวรรคตในปีนี้ นับแต่นั้นราชวงศ์สุพรรณภูมิก็ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาอีกหลายสมัยและอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยาก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[8]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 43)
  2. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, หน้า 214
  3. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 40)
  4. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 45)
  5. 5.0 5.1 ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์, หน้า 175-176
  6. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 50
  7. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 395
  8. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 69
บรรณานุกรม
  • วินัย พงศ์ศรีเพียร, บรรณาธิการ. ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, 2539. 329 หน้า. ISBN 978-777-1-97-7 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. ISBN 9786167308258.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534. 370 หน้า. ISBN 978-417-144-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum

ดูเพิ่ม

แก้
ก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 4 ถัดไป
เจ้าสามพระยา   ผู้ครองเมืองพิษณุโลก
(พ.ศ. 1962–1981)
  สมเด็จพระราเมศวรเจ้า