พระยารามแห่งสุโขทัย

เจ้าผู้ครองกรุงสุโขทัย

พระยาราม เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 2[1] แห่งอาณาจักรสุโขทัย เชื่อว่าพระนามของพระองค์ตั้งตามพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระยาราม
เจ้าผู้ครองกรุงสุโขทัย
ราชาภิเษกพ.ศ. 1951
ก่อนหน้าพระมหาธรรมราชาที่ 2
ราชวงศ์ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาที่ 2
พระราชมารดาสมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์

พระราชประวัติ

แก้

พระยารามเป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 2[1] ประสูติแต่สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ มีพระอนุชาพระองค์หนึ่งพระนามว่าศรีธรรมาโศกราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 1951 พระยารามจึงสืบราชสมบัติในกรุงสุโขทัย โดยจารึกวัดบูรพารามระบุว่าพระองค์ทรงพระนามว่าสมเด็จรามราชาธิราช[2] ส่วนจารึกวัดอโสการามออกพระนามว่าพระธรรมราชาธิราช[3]

พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าเมื่อพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกสวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือเกิดจลาจลเพราะพระยาบาลเมืองและพระยารามแย่งชิงอำนาจกัน สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาจึงเสด็จมาเมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทั้งพระยาบาลเมืองและพระยารามทรงทราบก็เสด็จออกมาถวายบังคม[4] สมเด็จพระอินทราชาทรงไกล่เกลี่ยแล้วราชาภิเษกพระยาบาลเมืองเป็นพระมหาธรรมราชาครองกรุงพิษณุโลก ส่วนพระยารามโปรดให้ครองกรุงสุโขทัยดังเดิม[5]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 45
  2. "จารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ ๑". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พุทธศตวรรษที่ 20. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ ๒". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พ.ศ. 1942. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 394
  5. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 65
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9