อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา

อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2485) ดาราภาพยนตร์ไทย ฉายา "เต่าไทย" อยู่ในวงการบันเทิงกว่า 60 ปี เริ่มเข้าวงการบันเทิงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2490 ในขณะที่มีอายุ 6 ปี จนโด่งดังเป็นขวัญใจวัยรุ่นชื่อดังในช่วงต้นทศวรรษ 2500 ถึงกลางทศวรรษ 2510 และยังเป็นพิธีกรรายการ “รวมดาวสาวสยาม” คู่กับโฉมฉาย ฉัตรวิไล และ วิญญู จันทร์เจ้า ที่โด่งดังในช่วงยุค 80

อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
เกิด18 มกราคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
คู่สมรสสักรินทร์ ปุญญฤทธิ์ (เลิกรา)
บุตรสาร์รินทร์ อิศรางกูร
อาชีพนักแสดง, นักร้อง, พิธีกร
ปีที่แสดงพ.ศ. 2490 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นนางทาษ (2505)
รวมดาวสาวสยาม (2522-2540)
กรงกรรม (2562)

ประวัติ

แก้

อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นบุตรสาวคนโตของหม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร อดีตนักแสดงและนักพากย์ชื่อดัง ฉายา "มนุษย์ 9 เสียง" กับมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2542) อรสามีน้องสองคน คือ จิรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และจิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา

ในสมัยเด็ก เธอเป็นนางเอกรุ่นเยาว์ในละครใหญ่ประจำปีของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ หลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งต่อมาได้ออกอากาศทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อสถานีขอนำมาออกอากาศ[1] หลังจบมัธยมได้เดินทางไปฝึกนาฏศิลป์เพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยทาคาระซึกะ ประเทศญี่ปุ่น ก่อนเข้าสู่วงการบันทึกเต็มตัว

อรสาเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่ออายุ 6 ขวบ[2] ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2490 และเริ่มนำแสดงร่วมกับ สมพงษ์ พงษ์มิตร ในเรื่อง ตุ๊กตาจ๋า (2494)[3] เป็นเรื่องแรกของรัตน์ เปสตันยี ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และรับบทนางเอกครั้งแรกคู่กับอดุลย์ ดุลยรัตน์ ในเรื่อง ม่านไข่มุก (2504)

ในปีต่อมานำแสดงคู่กับชนะ ศรีอุบล ในเรื่อง จอมใจเวียงฟ้า, มิตร ชัยบัญชา ในเรื่อง โจรแพรแดง และบท "อุ่นเรือน" ในเรื่อง นางทาษ (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2506)

ปลายช่วงทศวรรษ 2500-2510 เป็นหนึ่งในกลุ่มนักร้องชื่อดังแห่งยุค คณะสามศักดิ์ (สักรินทร์ ปุญญฤทธิ์, มีศักดิ์ นาครัตน์ และทนงศักดิ์ ภักดีเทวา) ที่มีรายการประจำภาคค่ำออกอากาศทางทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เธอร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ที่เคยแสดงบันทึกแผ่นเสียงหลายอัลบั้ม รับงานแสดงหลากหลายบท เป็นนางแบบปกนิตยสาร แฟชั่นโชว์และโฆษณา

ช่วงหลังเปลี่ยนแนวมาทางบทตลกในหนังไทย คู่กับดอกดิน กัญญามาลย์ จนมีคำคุ้นหูต่อท้ายโฆษณาว่า ร่วมด้วยอรสา (ตัวขาว ๆ) และดอกดิน (ตัวดำ ๆ) [4] อรสาเคยเป็นพิธีกรร่วมกับวิญญู จันทร์เจ้า และโฉมฉาย ฉัตรวิไล ในรายการยอดนิยม รวมดาวสาวสยาม ทางทีวีกองทัพบกช่อง 5 ซึ่งออกอากาศนานร่วม 20 ปี

ผลงานภาพยนตร์

แก้
  • 2491: ตุ๊กตาจ๋า
  • 2497: หนูจ๋า
  • 2500: สายโลหิต
  • 2501: สวรรค์หาย
  • 2504: ม่านไข่มุก
  • 2505: จอมใจเวียงฟ้า
  • 2505: นางทาษ รับบท อุ่นเรือน
  • 2505: โจรแพรแดง
  • 2506: พะเนียงรัก
  • 2506: กัปตันเครียว-ฉลามเหล็ก
  • 2506: 7สมิง
  • 2508: เงิน เงิน เงิน
  • 2509: ดรุณีสีเลือด
  • 2509: กาเหว่า
  • 2509: นกเอี้ยง
  • 2509: แสงเทียน
  • 2509: อรุณเบิกฟ้า (นักร้องคณะสามศักดิ์)[5]
  • 2509: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล
  • 2509: กาเหว่า
  • 2509: มือนาง
  • 2510: ปิ่นรัก
  • 2510: เหนือเกล้า
  • 2510: ปูจ๋า
  • 2510: มดแดง
  • 2510: 5 พยัคฆ์สาว
  • 2510: ทรชนคนสวย
  • 2510: เทพธิดาบ้านไร่
  • 2510: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี
  • 2510: ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ
  • 2510: สุดแผ่นดิน
  • 2510: ทะเลเงิน
  • 2510: ไฟเสน่หา
  • 2510: โนรี
  • 2510: พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร
  • 2511: ดอกอ้อ
  • 2511: น้ำอ้อย
  • 2511: ไอ้หนึ่ง
  • 2511: พระลอ
  • 2512: ลมเหนือ
  • 2512: ปราสาททราย
  • 2512: ไทยน้อย
  • 2512: ขวัญหล้า
  • 2512: ผีเสื้อ
  • 2513: ไทยใหญ่
  • 2513: แม่นาคพระนคร
  • 2513: บ้านสาวโสด
  • 2513: ไอ้สู้
  • 2513: ม้ามืด
  • 2513: ฝนเหนือ
  • 2514: เขยตีนโต
  • 2514: หนึ่งนุช
  • 2514: ไอ้ทุย
  • 2514: ลูกสาวกำนัน
  • 2514: พิษผยอง
  • 2514: ทะโมนไพร
  • 2514: ไก่นา
  • 2514: แม่นม
  • 2515: เชียงตุง
  • 2515: แม่งู
  • 2515: รักคืนเรือน
  • 2515: สุดสายป่าน
  • 2515: หัวใจปรารถนา
  • 2515: มนต์รักดอกคำใต้
  • 2515: ระเริงชล
  • 2515: กล้าสิบทิศ
  • 2515: จันทร์เพ็ญ
  • 2515: สวนสน
  • 2516: สายฝน
  • 2516: ไม้ป่า
  • 2516: เจ้าสาวเรือพ่วง
  • 2516: ภูกระดึง
  • 2516: กระสือสาว
  • 2517: คนกินเมีย
  • 2517: กำพร้าช้างแสนรู้
  • 2518: แหม่มจ๋า
  • 2518: มือปืนพ่อลูกอ่อน
  • 2518: นักเลงเทวดา
  • 2518: นักเลงป่าสัก
  • 2518: ลูกผู้ชาย
  • 2518: นายอำเภอใจเพชร
  • 2519: แบ็งค์
  • 2519: ท้ามฤตยู
  • 2519: เพลิงทรนง
  • 2519: ฉันไม่อยากเป็นคุณนาย
  • 2519: ไอ้แมงดา
  • 2519: แมงดาปีกทอง
  • 2519: แดงอังคาร
  • 2519: วัยอันตราย
  • 2520: ทรามวัยใจเด็ด
  • 2520: แม่ดอกกัญชา
  • 2520: แหย่หนวดเสือ
  • 2520: ไอ้ตีนโต
  • 2520: ไอ้คุณเฉิ่ม
  • 2520: หงส์ทอง
  • 2520: ตบะแตก
  • 2521: ไอ้ 8 นิ้ว
  • 2521: ขโมยที่รัก
  • 2521: หมัดปืนไว
  • 2521: ทีเด็ดคู่เขย
  • 2521: เท่งป๊ะต๊ะติ้งโหน่ง
  • 2521: กามเทพหัวเราะ
  • 2521: มือปืนนักบุญ
  • 2521: ยมบาลจ๋า
  • 2521: มือปืนเลือดเดือด
  • 2522: แม่เขียวหวาน
  • 2522: สาวใช้เจ้าเอ๊ย
  • 2522: ผานกเค้า
  • 2522: อวนดำ
  • 2522: ร้ายก็รัก
  • 2522: ไอ้ปืนเดี่ยว
  • 2522: เพียงคำเดียว
  • 2522: ไม่มีชาติหน้าอีกแล้ว
  • 2522: ยอดหญิงต๊ะติ๊งโหน่ง
  • 2522: ไร้เสน่หา
  • 2523: ย.ยอดยุ่ง
  • 2523: กิ่งทองใบตำแย
  • 2524: แผ่นดินต้องสู้
  • 2524: นกน้อย
  • 2524: ลุยเลอะ
  • 2524: ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง
  • 2525: เฮงสองร้อยปี
  • 2526: สาวแดดเดียว
  • 2527: ไอ้หม่าลูกแม่
  • 2533: นางอาย
  • 2541: กล่อง
  • 2544: สุริโยไท
  • 2552: หลวงพี่เท่ง 2
  • 2565: วัยอลวน 5 ตั้ม-โอ๋ ตัวตึง

ละครโทรทัศน์

แก้

พิธีกร

แก้

การแสดงบนเวที

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อารีย์ นักดนตรี ,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 101
  2. ""เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1)". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 28 กันยายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ลานดารา ครอบครัวอิศรางกูร ณ อยุธยา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน),www.fapot.org
  4. ภาพประกอบใบปิดภาพยนตร์ ,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน ,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน), 2554, ISBN:978-616-543-135-4
  5. ใบปิดหนัง อรุณเบิกฟ้า 2509

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้