เทพสามฤดู เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ ซึ่งนอกจากจะถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์เทพสามฤดู” ในปี 2530 และ 2546 ซึ่งก่อนหน้านั้น ดาราวิดีโอเคยผลิตภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่องเดียวกันภายใต้ชื่อ “ฝนสามฤดู” มาแล้วหนึ่งครั้ง โดยในปี 2517 บริษัท “ดาราฟิล์ม” (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ดาราวิดีโอ”) ได้ผลิตภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง “ฝนสามฤดู” ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. เพื่อออกฉายทางโทรทัศน์ เมื่อภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูง จึงมีการนำฟิล์มไปโบลว์เพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์ ทั้งนี้ นักแสดงนำของภาพยนตร์เรื่องนั้นประกอบไปด้วย นรา นพนิรันดร์, ชัย ราชพงษ์ และเยาวเรศ นิศากร ขณะที่นักแสดงนำรุ่นเยาว์ คือ สยม-สยาม สังวริบุตร และมลฤดี ยมาภัย

และในปี 2560 ทางสามเศียร ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่นได้นำละครพื้นบ้านเรื่อง"เทพสามฤดู" กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้ง หลังตรึงใจผู้ชมมากว่า 14 ปี โดยผลงานการเขียนบทของ “พิกุลแก้ว” หลังจากที่สร้างชื่อเสียงให้กับละครเรื่องนี้ในเวอร์ชัน 2546 จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ถือเป็นละครจักรๆ วงศ์ๆที่มีเรตติ้งค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว ออกอากาศทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7.

เนื้อเรื่อง 

แก้

ณ นครอุดม มีท้าวตรีภพเป็นเจ้าผู้ครองเมือง มีพระมเหสี 2 พระองค์ คือพระมเหสีมณี และพระมเหสีทัศนีย์ แต่ยังไม่มีพระราชบุตรเพื่อสืบสันตติวงศ์ จึงได้ทำพิธีบวงสรวงต่อพระอิศวรเพื่อขอพระโอรส เมื่อพระอิศวรรับทราบด้วยญาณแล้ว จึงได้ให้มาตุลีไปตามพระพิรุณมาเฝ้า เพื่อเตรียมจุติลงไปยังเมืองมนุษย์ แต่ทว่าพระราหูและนางจินดาเมขลาต้องการเสด็จลงไปด้วย จึงได้ปรึกษากัน โดยพระราหูเสนอให้ทั้ง 3 พระองค์จุติยังเมืองมนุษย์ตามฤดูกาล โดยฤดูร้อนจะเป็นพระราหู ฤดูฝนเป็นพระพิรุณ ฤดูหนาวเป็นนางจินดาเมขลา

เวลาผ่านไป 5 ปี พระมเหสีมณีก็ยังไม่มีพระประสูติกาล โหรหลวงนึกได้ว่ายังไม่ได้แก้บน ท้าวตรีภพจึงได้จัดพิธีแก้บน พระอิศวรทราบจึงได้แจ้งให้เทพทั้งสามลงไปจุติยังมนุษย์ เมื่อพระมเหสีมณีมีพระประสูติกาลออกมาเป็นเด็กมีเขี้ยวเหมือนยักษ์ (เนื่องจากเป็นฤดูร้อน) ทำให้ทุกคนแปลกใจว่าทำไมพระโอรสเกิดมาเป็นยักษ์ ท้าวตรีภพจึงสั่งให้นำพระโอรสไปลอยแพ

แพของพระโอรสราหู มาเกยอยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง คืนนั้น งั่ง ผีกระหังซึ่งถูกขับไล่จากหมู่บ้าน เข้ามาพบพระโอรสราหู จึงหมายจะเอาไปกิน แต่ราหูตื่นขึ้นมาจึงรีบวิ่งหนี จนไปพบกับพระฤๅษีโคดม พระฤๅษีจึงทำการปราบงั่ง โดยโยนสร้อยประคำเข้าไปที่คอ และท่องคาถา "เก้าอี้ จู้จี้ แก้ได้ ใต้ตู้ บู้บี้ มีไข้ ไปป่า ได้เต่า" สร้อยประคำรัดที่คอของงั่งจนต้องยอมแพ้ พระฤๅษีจึงนำราหูกลับไปที่อาศรม ราหูจึงได้ศึกษาวิชาที่อาศรมของพระฤๅษี โดยมีงั่งเป็นพี่เลี้ยง

ฝ่ายพระมเหสีมณี หลังจากเสียลูกไป ก็ทรงโทมนัส พระมเหสีทัศนีย์เห็นว่ามณีประสูติพระโอรสเป็นยักษ์ จึงวางแผนทำการใส่ร้ายว่ามณีแอบคบยักษ์ ท้าวตรีภพทรงเชื่อจึงได้เนรเทศมณีออกจากเมือง และต่อมาได้สั่งให้ประหารเสีย แต่มีสัตว์ประหลาดชื่อว่าวิปริตเข้ามาหมายจะเอามณีเป็นเมีย วิปริตจัดการพวกเพชฌฆาตจนหมด มณีหนีต่อไปจนพบลิงชื่อนันทเสนและยักษ์ชื่อสุระผัด นันทเสนฆ่าวิปริตตาย สุระผัดกับนันทเสนรบกันเองเพื่อแย่งมณี จนพระฤๅษีโคบุตรต้องมาห้ามศึก โดยให้สู้จนหมดแรง ทั้งสองจึงยอมรับผิดและมาขอโทษพระฤๅษีโคบุตร นันทเสนจึงพาพระฤๅษีโคบุตรไปยังศพของวิปริต พระฤๅษีโคดมจึงทำการรวมร่างของนันทเสนและวิปริตเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการไถ่บาป

ฝ่ายเทพสามฤดูได้ร่ำเรียนวิชากับพระฤๅษีโคดมจนครบถ้วนแล้วพระฤๅษีได้ขอประทานอาวุธจากพระอิศวร ให้ไว้ใช้ป้องกันตัว พระอิศวรประทานอาวุธคือ กระบองแก้วของพระราหู, พระขรรค์ของพิรุณ และลูกแก้วของจินดาเมขลา จากนั้นเทพสามฤดูจึงออกเดินทางตามที่พระฤๅษีได้แนะนำไว้ ไปพบถ้ำแห่งหนึ่ง ภายในมีสมบัติจำนวนมาก ด้วยความโลภงั่งจึงขนสมบัติออกมา ยักษ์หินที่เฝ้าปากถ้ำจึงออกอาละวาดงั่งกับราหู จนราหูต้องรีบนำสมบัติไปคืน แต่ก่อนจะถึงถ้ำ มีคนธรรพ์ตนหนึ่งรับสมอ้างว่าเป็นสมบัติของเขา ราหูไม่เชื่อจึงสู้กันจนคนธรรพ์หมดสภาพ จากนั้นราหูจึงเอาสมบัติที่ขโมยไปคืน ยักษ์หินจึงหมดฤทธิ์กลับไปที่ปากถ้ำเหมือนเดิม ต่อมาระหว่างเดินทางไปพบกับนันทเสนที่ป่ากล้วย นันทเสนเข้าใจว่ามีใครบินข้ามหัว จึงเข้ารบกับราหูจนถึงขั้นที่พระอิศวรต้องส่งมาตุลีไปห้ามศึก จากนั้นมาตุลีก็ให้ทั้ง 3 ไปยังอาศรมของพระฤๅษีโคบุตร

ที่อาศรมของพระฤๅษีโคบุตร มณีได้พบกับจินดาเมขลา จากนั้นทั้งหมดก็กราบลาพระฤๅษีเพื่อเดินทางกลับเมือง โดยพระฤๅษีได้มอบระฆังแก้วเพื่อไว้ใช้เรียกสุระผัดและนันทเสนเวลาเกิดปัญหา ระหว่างทางไปเจอเมืองยักษ์ มีท้าวอนันตวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีนางโชตะนาเป็นมเหสี ท้าวอนันตวงศ์ต้องการหาภรรยาใหม่ จึงได้ลักพาตัวมณีกลับไปยังเมืองของตน ทำให้โชตะนาไม่พอใจ ตัดสินใจเดินทางไปหาท้าวจักรวรรดิผู้เป็นพี่ชาย ท้าวจักรวรรดิเดินทางมาเจอจินดาเมขลาก็ต่อสู้กัน ท้าวจักรวรรดิใช้พัดชีวิตพัดให้จินดาเมขลากับงั่งสลบ แล้วพาไปยังเมืองของท้าวอนันตวงศ์ เกิดการสู้กันระหว่างยักษ์ 2 ตน เมื่อเทพทั้งสามเจริญวัยขึ้น พระพิรุณได้ขอองค์เหนือหัวตรีภพไปท่องเที่ยว ครั้นฤดูร้อนพระราหูเดินทางไปยังนครโรมิสัยได้พบกับพระธิดาสุวรรณอัมพร พระธิดาสุวรรณอัมพรจึงโยนพวงมาลัยไปให้พระราหู

การนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์

แก้
ปี พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2560
รูปแบบ ภาพยนตร์โทรทัศน์16 มม. ช่อง 7 ละคร ช่อง 7
ชื่อเรื่อง ฝนสามฤดู เทพสามฤดู
ผู้ผลิต ดาราฟิลม์ สามเศียร
ดาราวิดีโอ
สามเศียร
ดาราวิดีโอ
ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น
สามเศียร
ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น
บทละครโทรทัศน์ ภาวิต ภาวิต พิกุลแก้ว ภาวิต/พิกุลแก้ว
กำกับการแสดง ไพรัช สังวริบุตร สมชาย สังข์สวัสดิ์ ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์
ออกอากาศ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2546 -

4 มกราคม พ.ศ. 2547

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พระราหู (ตอนเด็ก) ด.ช. สยม สังวริบุตร ด.ช คชเอก พิทยานระเศรษฐ์ ด.ช. รัศมินทร์ แอดเดอร์ ด.ช.ถิรคุณ ศรีชู
พระพิรุณ (ตอนเด็ก) ด.ช. สยาม สังวริบุตร ด.ช. พีระพันธุ์ สุขประยูร ด.ช.จิรายุ ละอองมณี ด.ช.ธาวิน มงคลจักรวาฬ
จินดาเมขลา (ตอนเด็ก) ด.ญ. มลฤดี ยมาภัย ด.ญ. กิติวรรณ ศิริเลี้ยง ด.ญ. ปิยดา นามรัตน์ ด.ญ.ของขวัญ ลี้ปภาวัฒนะ
พระราหู / คิมหะตะราหู นรา นพนิรันดร์ ชาตรี พิญโณ ฆธาวุธ ปิ่นทอง พลพจน์ พูลนิล
พระพิรุณ / วสันตพิรุณราช ชัย ราชพงษ์ ศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล เลอสรรค์ คงเจริญ ธนเดช ดีสีสุข
จินดาเหมันต์ (2517, 2530)
จินดาเมขลา (2546, 2560)
เยาวเรศ นิสากร ชไมพร จตุรภุช อุษณียาภรณ์ ผลเจริญ คริษฐา สังสะโอภาส
พระอิศวร / องค์อิศรา ชัย ราชพงษ์ มาฬิศร์ เชยโสภณ พบศิลป์ โตสกุล
พระธิดาสุวรรณอัมพร สินี หงษ์มานพ ศิริวัฒนา เบญจมาธิกุล กชกร ส่งแสงเติม
พระธิดาอัปสรสวรรค์ ปิยะดา เพ็ญจินดา ประถมาภรณ์ รัตนภักดี ดาริน ดารากานต์
สามศรี สพล ชนวีร์ สวีเดน ทะสานนท์
นางไม้ลักษณา ศิรินภา สว่างล้ำ ปณิตา พัฒนาหิรัญ วรัญภรณ์ ณ พัทลุง
ทุมมา ด.ช. นนท์ หงษ์มานพ
ไตรจักร (2517, 2530)
ปราบไตรจักร (2546, 2560)
สุรพล ไพรวัลย์ ฉัตรมงคล บำเพ็ญ รัฐศิลป์ นลินธนาพัฒน์
ท้าวจักรวรรดิ สุรพล ไพรวัลย์ พศิณ กรรณสูต
นางยักษ์โชตะนา แอน มิตรชัย เกษรา ละม่อม
ท้าวตรีภพ เอกกวี ภักดีวงษ์ ศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล ไพโรจน์ สังวริบุตร
พระมเหสีมณีเนตร ชาลินี ดารา ธัญธารีย์ โรจนเรืองไชย น้ำทิพย์ เสียมทอง
พระมเหสีสุทัศน์ (2517, 2530)
พระมเหสีทัศนีย์ (2546, 2560)
เกศริน พูนลาภ สุภัสสร มามีเกตุ ชนุชตรา สุขสันต์
โคธรรพ์ ภาค ภัทรพงษ์ พิพัฒน์พล โกมารทัต
ขันธมาร กิตติ ดัสกร ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล
ท้าวอนันตวงศ์ ชาห์ณี ยอดชัย ณพบ ประสบลาภ
เจ้างั่ง ปาน ยิ้มแป้น ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ ทับ ท่ากระดาน
มาตุลี ท้าวดักแด้ ธรรมศักดิ์ สุริยน
สุระผัด พลกฤษณ์ จักรสุวรรณ โยกเยก เชิญยิ้ม
นันทเสน แฮมเมอร์ สมบูรณ์ ณธีพัฒน์ เปี่ยมคุโณดม
ท้าวคันธมาศ สรยุทธ คณานุรักษ์ โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์
พระมเหสีรัชฎา อำภา ภูษิต อรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์
คุณท้าวเทพทอง พัชนี นิลฉ่ำ แพท คุ้มแพรวพรรณ
สมจิต ณัฐกานต์ อ้วนมี ไพลิน นิลฉ่ำ
สมใจ นพวรรณ ใจแคล้ว ณัฐวดี สมบุญญฤทธิ์
พระขนิษฐาดวงดารา ธิดา ธีระรัตน์ ปริษา ทนาวิวัฒน์
นางแช่ม ไพลิน นิลตระการ
นางช้อย
อำมาตย์เดชา อำนาจ อินทร์จันทร์ สุระ มุรธานนท์ สาร์รินทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
อำมาตย์อาจองค์ เสริมพันธ์ สุธิเนตร กิตติ ดัสกร
หมื่นมิตร อมต อินทานนท์ ธารินทร์ ปุญญฤทธิ์
หมื่นธง วรวรรธ์ ภูวนัย
หล้าสัน กวี วงศ์จันทรา
คุณท้าวผกา เมตตา รุ่งรัตน์ ทัศนีย์ สีดาสมุทร์
คุณท้าวนิภา น้ำเงิน บุญหนัก รุจิเรข พักตระเกษริน
คุณท้าววิไล วิไลลักษณ์ ไวงาน นิตยา ปานะถึก
แม่หมอหลวง อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
พระฤๅษี บุญส่ง ดวงดารา สมชาย ปาตัน พงษ์ประยูร ราชอาภัย
พระพาย โอฬาร ชูชาญ ณัฐพล นิลภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • เทพสามฤดู (2560) ที่สยามโซน