สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น[1] มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย

สังข์ทอง
ชื่ออื่นสังข์ทอง
กวีไม่ทราบ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ละครหลวง)
ประเภทบทละคร
ยุคไม่ทราบ
รัตนโกสินทร์ (ละครหลวง)
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

ในคำนำหนังสือ"พระราชนิพจน์บทละครเรื่องสังข์ทอง" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า

...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไมห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตงว่า เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า…

สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง กล่าวคือเล่ากันว่า

  • เมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ อยู่ในบริเวณใกล้วัดมหาธาตุเนื่องจากมีลานหินเป็นสนามตีคลีของพระสังข์
  • ส่วนในภาคใต้ เชื่อว่าเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า "เขาขมังม้า" เนื่องจากเมื่อพระสังข์ตีคลีชนะได้ขี่ม้าข้ามภูเขานั้นไป

ระบำดาวดึงส์

แก้

ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องประกอบการแสดงเรื่องสังข์ทอง ตอนที่ 2 ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ มีการจัดแสดงที่ดรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีหม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา เป็นผู้ควบคุมฝึกหัดคิดท่ารำ

ท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะพร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย

รายชื่อนักแสดง

แก้
ปี พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2561
สถานีออกอากาศ ภาพยนตร์โทรทัศน์16 มม. ช่อง 7 ละคร ช่อง 7
ผู้สร้าง ดาราวิดีโอ สามเศียร
ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น
บทโทรทัศน์ พิกุลแก้ว ภาวิต
ผู้กำกับ มานพ สัมมาบัติ ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์
ออกอากาศ จันทร์-อังคาร เวลา 21:00น.-22:15น. ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:00น.-09:00น. ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:00น.-09:00น.
เริ่มออกอากาศ 17 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2524 รวม 46 ตอน 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวม 106 ตอน 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 รวม 110 ตอน
บทบาท นักแสดง
พระสังข์ ศุภชัย เธียรอนันต์ วสุ ประทุมรัตน์วัฒนา สุรศักดิ์ สุวรรณวงษ์
พระสังข์ (ตอนเด็ก) ด.ช.นรา กุยะเนตร ด.ช.ชญานิน เต่าวิเศษ ด.ช.ถิรคุณ ศรีชู
เจ้าเงาะ ร่างแปลงของพระสังข์ ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์ โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์
รจนา พระธิดาลำดับที่ 7 ของท้าวสามนต์ ทัชชา จีรพรรณ ธารธารา รุ่งเรือง เกศรินทร์ น้อยผึ้ง
สิงหล ราชบุตรเขยลำดับที่ 1 ของท้าวสามนต์ หนุ่ม มาวิน ณพบ ประสบลาภ
วิลาวัณย์ พระธิดาลำดับที่ 1 ของท้าวสามนต์ พัชรมัย สุขประเสริฐ ชนุชตรา สุขสันต์
อาลีข่าน(2550)/มังราย(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 2 ของท้าวสามนต์ วรรธนศม เมฆสุวรรณ รัฐศิลป์ นลินธนาพัฒน์
พรรณผกา พระธิดาลำดับที่ 2 ของท้าวสามนต์ รัตติมา กุลยานันท์ ปิ่นทิพย์ อรชร
มโนรมย์(2550)/จีโอวานนี(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 3 ของท้าวสามนต์ เจษฎา รุ่งสาคร คริสเตียน เอเกิล
นารีรัตน์(2550)/พนารัตน์(2561) พระธิดาลำดับที่ 3 ของท้าวสามนต์ ธัญธารีย์ โรจนเรืองไชย อัญรส ปุณณโกศล
ซิยิ่มกุ๊ย(องค์ชายสี่)(2550)/ไชยันต์(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 4 ของท้าวสามนต์ พศิน ศรีธรรม สุพศิน แสงรัตนทองคำ
ปัทมา พระธิดาลำดับที่ 4 ของท้าวสามนต์ ประถมาภรณ์ รัตนภักดี ชนารดี อุ่นทะศรี
ไชยันต์(2550)/ซิยิ่มกุ๊ย(องค์ชายสี่)(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 5 ของท้าวสามนต์ ฆธาวุธ ปิ่นทอง ธนศักดิ์ จิตตพงษ์
อนงค์(2550)/ผกากรอง(2561) พระธิดาลำดับที่ 5 ของท้าวสามนต์ รุ้งรดา เบญจมาธิกุล กัญจน์อมล เคล้าจิตพูลสุข
มังราย(2550)/มโนรมย์(2561) ราชบุตรเขยลำดับที่ 6 ของท้าวสามนต์ วรนันท์ พร้อมมูล พบศิลป์ โตสกุล
ทรงกลด(2550)/ประคองยศ(2561) พระธิดาลำดับที่ 6 ของท้าวสามนต์ กนกวรรณ งามทรัพย์มณี ธนภัทร ดิษฐไชยวงศ์
ท้าวยศวิมล ปินนเรศ ศรีนาคาร มาฬิศร์ เชยโสภณ อัมรินทร์ สิมะโรจน์
ท้าวสามนต์ อิทธิฤทธิ์ สิงหรัตน์ ไพโรจน์ สังวริบุตร รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์
พระมเหสีจันท์เทวี มเหสีของท้าวยศวิมล ปริศนา วงศ์ศิริ น้ำทิพย์ เสียมทอง แคนดี้ เอเวอรี่
พระมเหสีจันทา มเหสีของท้าวยศวิมล สนธยา สารยิน ปริษา ทนาวิวัฒน์ ประถมาภรณ์ รัตนภักดี
พระมเหสีมณฑา มเหสีของท้าวสามนต์ เยาวเรศ นิสากร วณิษฐา วัชโรบล ปนัดดา โกมารทัต
พระแม่เจ้าพันธุรัต จอมใจ จรินทร์ แอน มิตรชัย อรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์
พระธิดาจันที ฐิติวัลย์ กล้าตลุมบอน ศมลภัท นาคอุไร
พยนตรา ศัตรูของพระสังข์ (เป็นตัวละครที่เพิ่มเติมในภายหลัง) สพล ชนวีร์ สุกฤษฎิ์ สงแก้ว
ท้าวหัสนัย ชมวิชัย เมฆสุวรรณ ธนเดช ดีสีสุข
พระวิษณุกรรม พลพจน์ พูลนิล
มาตุลี บริพันธ์ ชัยภูมิ มู๋บิน ลูกหยี
ท่านหมื่นการุณ มู๋บิน ลูกหยี ฉัตรมงคล บำเพ็ญ
แม่เฒ่าสุเมธา อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา กรองทอง รัชตะวรรณ
ตา ธรรมศักดิ์ สุริยน ครรชิต ขวัญประชา
ยาย ศรีนวล ขำอาจ เยาวเรศ นิสากร
อำมาตย์เดชา - พอเจตน์ แก่นเพชร
คุณท้าววดี นิตยา ปานะถึก ศิรดา ศิริวัฒน์
คุณท้าวอำไพ ทรงพร ณ บางช้าง ทัศนีย์ สุดาสมุทร์
คุณท้าวสมศรี พัชรี เสงี่ยมลักษณ์ วิไลลักษณ์ ไวงาน
คุณท้าวชมนาด จุลรินทร์ทิพย์ จิตรีขันธ์ นิตยา ปานะถึก
มเหสีหงส์ฟ้า(หงส์พรายผีแปลงกาย) กมลวรรณ ศตรัตพะยูน
นางเงาะ (ร่างแปลงของรจนา) วรัญภรณ์ พัฒน์ช่วย
ท่านหมื่นโอชา ธนภพ จมูกบาน วรรธนศม เมฆสุวรรณ
อำมาตย์ชัยยา สุระ มูรธานนท์
มะลิ ณัฐมนต์ พันธุ์เพ็ง
มะลัย พิมพ์ศิริ คชหิรัญ
หมอหลวง จิดาภา เจิมงามพริ้ง
นาคราช ด.ช. ธาวิน มงคลจักรวาฬ
ท้าวนาคราช สมชาย ปาตัน ศุภชัย เทียรอนันต
นาคี กุสุมา โพธิ์ศรี
พระธิดาจันที (วัยเด็ก) ด.ญ.พลอย ศรนรินทร์ ด.ญ.รัญชนา รงควิลิต
นางยักษ์อ้อนแอ้น เกษรา ละม่อม
นางยักษ์พรรณี บุญญาณี สังข์ภิรมย์
ราชครู ชวนากร ดาราธร
ท่านหมื่นอำนาจ อมต อินทานนท์ สุรพล ไพรวัลย์
โหราจารย์ ฤทธิ์ ลือชา
พี่เลี้ยงของนาคราช ธนภพ จมูกบาน
มัจฉา แสงดาว วนิชพันธุ์
หัวหมู่วิชัย หาญณรงค์ บางระจัน
คำมูล ลัดดาวรรณ มั่นคงดี ไพลิน นิลตระการ

 อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้