สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์

สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์
วรรณศิลป์ (Literature ) หมายถึง ศิลปะการประพันธ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์ มีลักษณะลีลาเฉพาะตน รูปแบบการประพันธ์ มีทั้งกวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรม และบทละคร รวมทั้ง กวี นักเขียน ผู้ถ่ายทอดความรู้ และมีผลงานการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ที่มีศิลปะในการแต่งหนังสือที่มีองค์ประกอบที่สำคัญในการแสดงความรู้สึกสะเทือนใจ จินตนาการและการแสดงออกเฉพาะตัว และมีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ

แนะนำวรรณกรรม

พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี พ.ศ. 2364-2366 และแต่งๆ หยุดๆ ไปตลอดเป็นระยะ สิ้นสุดการประพันธ์ราว พ.ศ. 2388 รวมเวลามากกว่า 20 ปี กลอนนิทานเรื่อง พระอภัยมณี นี้ เป็นผลงานกลอนนิทานที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดเรื่องหนึ่งในกระบวนวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า หากให้เลือกกวีไทยที่วิเศษสุดเพียง 5 คน สุนทรภู่จะต้องเป็นหนึ่งในห้าคนนั้น และ "ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ ถ้าจะลองให้ผู้อ่านชี้ขาดว่าเรื่องไหนดีกว่าเพื่อน ก็น่าจะยุติต้องกันโดยมากว่า เรื่องพระอภัยมณีเป็นดีที่สุด เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาวแต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง" กลอนนิทานเรื่องนี้ยังได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอนอีกด้วย...อ่านเพิ่มเติม

ประกายวรรณกรรม

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง...อ่านเพิ่มเติม

กระดาน...น้ำหมึก


แกะกล่องหนังสือใหม่

เดอะลาสต์เลกเชอร์ เป็นงานเขียนของ แรนดี เพาช์ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมแนวคิดจาก "การบรรยายครั้งสุดท้าย" ตามประเพณีของมหาวิทยาลัย ทว่าการบรรยายครั้งสุดท้ายของเขาจะเป็นการบรรยายครั้งสุดท้ายในชีวิตจริงๆ เนื่องจากแรนดี เพาช์ พบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งในตับอ่อนระยะสุดท้าย และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่กี่เดือนเท่านั้น

แรนดี เพาช์ บรรยายครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550 หนังสือวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื้อหาภายในเกี่ยวกับประสบการณ์และมุมมองอันล้ำค่าต่อ "ชีวิต" เพาช์เขียนไว้ในคำนำว่า เขาเลือกจะปาฐกถาถึงความเบิกบานของการมีชีวิตอยู่ และประจักษ์ถึงคุณค่าของชีวิต เขากล่าวถึงความสุจริต เกียรติยศ และการระลึกรู้บุญคุณ ด้วยความตั้งใจที่จะส่งต่อเรื่องที่เขาต้องการบอกกับลูกของเขาในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ซึ่งเขาไม่อาจอยู่บอกกับลูกด้วยตนเองได้ เพาช์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ขณะอายุได้ 48 ปี

วาทะ...คำคม

...อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย...


เกร็ดวรรณกรรม


ห้องวรรณศิลป์

การแบ่งประเภทของวรรณกรรม

กวีนิพนธ์มหากาพย์ร้อยกรองร้อยแก้วนิทานนิยายนวนิยายเรื่องสั้นชีวประวัติบทละครวรรณกรรมนักบุญวรรณกรรมเยาวชนนวนิยายแฟนตาซีนวนิยายวิทยาศาสตร์นวนิยายกำลังภายใน

วรรณกรรมในหมวดหมู่ต่างๆ

พระราชนิพนธ์ชีวประวัตินวนิยายนิทานเรื่องสั้นบทละครมหากาพย์วรรณกรรมคลาสสิกวรรณกรรมแปลวรรณกรรมด้านศาสนานวนิยายอิงประวัติศาสตร์นวนิยายรักโรแมนติกวรรณกรรมเยาวชนวรรณกรรมแฟนตาซีนวนิยายวิทยาศาสตร์นวนิยายสืบสวนสอบสวนนวนิยายกำลังภายในวรรณกรรมทั่วไป...
ดูเพิ่มเติม : วรรณกรรมประเภทต่างๆ

วรรณกรรมประเทศต่างๆ

วรรณกรรมไทยวรรณกรรมจีนวรรณกรรมญี่ปุ่นวรรณกรรมเอเชียวรรณกรรมอังกฤษวรรณกรรมเยอรมันวรรณกรรมฝรั่งเศสวรรณกรรมสเปนวรรณกรรมยุโรปอื่นๆ...
ดูเพิ่มเติม : วรรณกรรมแบ่งตามประเทศ

กวีนิพนธ์

วรรณคดีไทยรายชื่อวรรณคดีไทยมหากาพย์กวีนิพนธ์ร่วมสมัย...
ดูเพิ่มเติม : กวีนิพนธ์

ฉันทลักษณ์

โคลงกลอนกาพย์ฉันท์ร่ายรุไบยาตSonnetCoupletOctameterPentameter...
ดูเพิ่มเติม : ฉันทลักษณ์

การดัดแปลงวรรณกรรม

ละครเวทีละครวิทยุละครโทรทัศน์ภาพยนตร์โอเปราหนังสือเสียงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อุปรากรจีนการแสดงโขน...
ดูเพิ่มเติม : การดัดแปลงวรรณกรรม

นักเขียน

รายชื่อนักเขียนนามปากกานักเขียนแบ่งตามสัญชาตินักเขียนแบ่งตามประเภทผลงานนักแปลกวี

อื่นๆ

สื่อวรรณกรรมรางวัลวรรณกรรมสำนักพิมพ์ต่างๆชุมชนทางวรรณกรรมคำศัพท์และเทคนิคทางวรรณกรรม

บทความคัดสรร/คุณภาพ

กวนอู
กษัตริย์อาเธอร์
เจ. เค. โรว์ลิง
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
เพชรพระอุมา
วิลเลียม เชกสเปียร์
สุนทรภู่
อันเนอ ฟรังค์
แฮร์รี่ พอตเตอร์
กาเลวาลา
เชอร์ล็อก โฮมส์
ซินเดอเรลล่า
เดอะฮอบบิท
ธุลีปริศนา
พระอภัยมณี
วิกตอร์ อูโก
อีเลียด
แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์


สานวรรณศิลป์

นี่คือส่วนหนึ่งที่คุณช่วยเราได้
ดูเพิ่มที่ โครงการวิกิวรรณศิลป์

ทุกคนรวมทั้งคุณ สามารถช่วยเขียนวิกิพีเดียได้ เพียงพิมพ์ชื่อเรื่องที่คุณต้องการลงในกล่องข้างล่าง (ดู หลักการตั้งชื่อที่เหมาะสม) แล้วคลิกที่ปุ่ม "สร้างบทความ" แล้วเริ่มเขียนได้เลย



สถานีย่อยอื่น ๆ