สถานีย่อย:การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 สถานีย่อยการเขียนโปรแกรม

ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยการเขียนโปรแกรม
ทุกคนร่วมสร้างได้ตามนโยบายวิกิพีเดีย
เริ่มสร้างเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549


การเขียนโปรแกรม เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแล (ขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น เป็นหลักของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ) ซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริธึมที่จะใช้ (อัลกอริธึม คือ วิธีคิดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งอาจง่าย หรือยาก ขั้นตอนน้อย หรือ มาก ก็ได้ แต่ อัลกอริธึมที่ดี จะง่ายกว่า และขั้นตอนน้อยกว่า โดยจะต้องได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน หรือดีกว่า) ซึ่งการเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์

การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ซอร์สโค้ดสามารถใช้งานได้ โดยจะประกอบด้วย

1.คอมไพล์ เป็นการแปลซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้แฟ้มข้อมูลที่สามารถทำงานได้ เช่น ภาษาพาสคาล,ภาษาซี,ภาษาเบสิกเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า คอมไพเลอร์

2.อินเทอร์พรีท เป็นการแปลซอร์สโค้ดให้เป็นภาษาเครื่อง(machine language)ทุกครั้งที่ต้องการใช้โปรแกรม เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอลเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า อินเทอร์พรีทเตอร์

3.แอสเซ็ม เป็นการแปลซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง(machine language) หนึ่งครั้ง เพื่อให้ได้แฟ้มข้อมูลที่สามารถทำงานได้ ใช้กับ ภาษาแอสเซ็มบลี เท่านั้นเรียกตัวแปลซอร์สโค้ดชนิดนี้ว่า แอสเซ็มเบลอร์

การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน



 สถานีย่อยอื่น ๆ