สถานีย่อย:การเมือง
สถานีย่อยการเมือง
การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา
ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ นักทฤษฎีการเมืองคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร"
วิชารัฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใจ
บทความยอดเยี่ยม
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย ใน พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของเขา ระหว่าง พ.ศ. 2543–พ.ศ. 2544 นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีกยังได้เสนอชื่อของเขาเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย (อ่านต่อ...)
ที่เก็บถาวร |
ภาพยอดเยี่ยม
หมวดหมู่
รู้หรือไม่...
- ...จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ในภาพ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและคนเดียวที่ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
- ...เซอร์ รอเบิร์ต วอลโพล เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสหราชอาณาจักร และเป็นนายกรัฐมนตรีที่สังกัดพรรควิก
- ...สมาชิกคณะราษฎรที่อายุยืนที่สุดคือ ร้อยโท กระจ่าง ตุลารักษ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ด้วยอายุ 98 ปี
- ...รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- ...คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยึดอำนาจรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ที่เก็บถาวร |
ข่าวใหม่
- 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ผู้นำกองทัพกระทำรัฐประหาร ยึดอำนาจไปจากมุฮัมมัด มุรซี ประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งคนแรกของอียิปต์ พร้อมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญ และแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวจนกว่าจะเลือกตั้งใหม่ (อัลญะซีเราะฮ์ อิงกลิช) (มติชน)
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556 บราซิลประท้วงกดดันรัฐบาลหนักขึ้น ผู้ประท้วงราว 5 หมื่นคน ต่างกลับไปรวมตัวกันตามถนนสายต่าง ๆ ในเซาเปาลู เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลที่พวกเขา เรียกว่า คอร์รัปชัน - ไร้ประสิทธิภาพ (คม ชัด ลึก)
- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เชคฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ประชุมกับสมาชิกราชวงศ์ เตรียมการสละบัลลังก์ให้แก่ เชคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี มกุฎราชกุมารแห่งกาตาร์ (คม ชัด ลึก)
- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ตำหนินิตยสารไทมส์ ว่าทำลายความพยายามคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างศาสนาในประเทศ ((คม ชัด ลึก)
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เป็นประธานการประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ดีเอสไอ ตำรวจ และพนักงานอัยการคดีพิเศษ เพื่อสรุปสำนวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553(ข่าวสดออนไลน์)
- 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ประเทศเกาหลีเหนือ ไม่ตอบรับการประชุมฟื้นสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากไม่สามารถหาตัวแทนในการประชุมได้ (ไทยรัฐ)
- 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 นางธิดา โตจิราการ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. และส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมกันออกแถลงการณ์นปช. ประจำสัปดาห์ที่ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล เวิลด์ ลาดพร้าว (ข่าวสดออนไลน์)
ข่าวปัจจุบัน |
เหตุการณ์ประจำเดือน
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) – เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ได้รวมเข้าด้วยกัน นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังสงครามเวียดนามสงบลง
- พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) – ในฟิลาเดลเฟีย สภาแห่งทวีปให้การรับรองคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา โดยประกาศว่าสิบสามอาณานิคมอเมริกันมิใช่ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – วินสตัน เชอร์ชิลล์, โจเซฟ สตาลิน และแฮร์รี เอส. ทรูแมน ร่วมกันหารือในการประชุมพอทสดัม เพื่อตัดสินใจหาแนวทางการปกครองเยอรมนีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่เก็บถาวร |
คุณช่วยเราได้
|
นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณช่วยเราได้
|
คำคมประจำเดือน
ว่าด้วยการสู้กันของระบอบเก่าและระบอบใหม่— แปลก พิบูลสงคราม
ที่เก็บถาวร |
![]() |
สถานีย่อยอื่น ๆ
- การทหาร
- การเมือง
- การเขียนโปรแกรม
- การ์ตูนญี่ปุ่น
- การบินอวกาศ
- คณิตศาสตร์
- เคมี
- ดนตรี
- ดาราศาสตร์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- โทรทัศน์
- ทวีปยุโรป
- นิยายวิทยาศาสตร์
- ปรัชญา
- ประเทศต่าง ๆ
- ประวัติศาสตร์
- พรรณพฤกษา
- พระพุทธศาสนา
- พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
- พายุหมุนเขตร้อน
- แพทยศาสตร์
- ฟิสิกส์
- ฟุตบอล
- ภาพยนตร์
- ภาษา
- ภูมิศาสตร์
- มวยปล้ำอาชีพ
- รถไฟฟ้า
- ระบบสุริยะ
- เภสัชกรรม
- โลกของสัตว์
- โลกวรรณศิลป์
- วิดีโอเกม
- วิทยาศาสตร์
- วิทยุสมัครเล่น
- เวลา
- วอลเลย์บอล
- ศาสนา
- สงครามกลางเมืองซีเรีย
- สงครามเย็น
- สถาบันอุดมศึกษาไทย
- สมุนไพร
- สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เหตุการณ์ปัจจุบัน
- แอฟริกา
- แฮร์รี่ พอตเตอร์