สถานีย่อย:ภูมิศาสตร์


ภูมิศาสตร์
Geography
โครงการสถานีย่อยบทความที่ต้องการการเข้าชมหน้า
ภูมิศาสตร์กายภาพภูมิศาสตร์มนุษย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เทคโนโลยีภูมิศาสตร์‎ภูมิศาสตร์แบ่งตามทวีปภูมิศาสตร์แบ่งตามประเทศ

ทวีปอเมริกาเหนือทวีปอเมริกาใต้ทวีปยุโรปทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียโอเชียเนียทวีปแอนตาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรแปซิฟิกContinents vide couleurs.png
เกี่ยวกับภาพนี้

ลองกดตำแหน่งต่าง ๆ บนแผนที่

แก้ไข   

ภูมิศาสตร์คืออะไร

ภูมิศาสตร์ คือศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นผิวโลกอาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตผลและคน รวมทั้งการกระจายของสิ่งต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์ หรือก็คือศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์ ที่เกิดขึ้น ณ บริเวณที่ทำการศึกษา รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณโดยรอบเช่น พื้นดิน พื้นน้ำ อากาศรวมทั้งใต้ดินหรือทุก ๆ สิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งหมดทั้งสามมิติเรียกง่าย ๆ ได้ว่าพื้นที่

คำว่าภูมิศาสตร์ในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า Geo + Graphein ซึ่งแปลว่าการบรรยายเกี่ยวกับโลก

หลายๆคนอาจสงสัยว่าภูมิศาสตร์เรียนรู้แล้วจะนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือบางคนอาจพูดว่าทำไมต้องเรียนด้วย จริง ๆ แล้วความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดเนื่องจากการศึกษาเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์นั้นจะช่วยให้เรารู้เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งจะทำให้เราสามารถปรับตัวให้อยู่กับปรากฏการณ์นั้น ๆ ได้

แก้ไข   

บทความแนะนำ

Greenland-ice sheet hg.jpg

พืดน้ำแข็ง (อังกฤษ: Ice sheet) หรือเรียกอีกอย่างว่าธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป (อังกฤษ: continental glacier) เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบและมีขนาดมากกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันพืดน้ำแข็งสามารถพบได้เพียงในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ช่วงยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายในยุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้าย พืดน้ำแข็งลอเรนไทด์ได้ปกคลุมพื้นที่จำนวนมากของทวีปอเมริกาเหนือ พืดน้ำแข็งไวช์เซเลียนปกคลุมทางเหนือของทวีปยุโรป และ พืดน้ำแข็งปาตาโกเนียปกคลุมทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ พืดน้ำแข็งนั้นมีขนาดใหญ่กว่าหิ้งน้ำแข็งและธารน้ำแข็งแบบแอลป์ มวลของน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่น้อยกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตรเรียกว่าครอบน้ำแข็ง

ถึงแม้ว่าผิวหน้าของพืดน้ำแข็งจะหนาวและเย็นแต่บริเวณฐานจะอุ่นเนื่องจากความร้อนใต้พิภพ ในสถานที่ ๆ ทำให้น้ำแข็งด้านล่างละลายจากนั้นก็จะค่อย ๆ พาน้ำแข็งไหลไปเร็วกว่าบริเวณอื่นจะเรียกว่าภูมิภาคน้ำแข็งไหล (Ice stream)

ปัจจุบันพืดน้ำแข็งบริเวณขั่วโลกนั้นยังถือว่ามีอายุน้อยมาก พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกก่อตัวขึ้นครั้งแรกจากทุ่งน้ำแข็งขนาดเล็กในช่วงต้นสมันโอลิโกซีนจากนั้นก็เพิ่มขนาดและลดลงหลายครั้งจนถึงสมัยพลิโอซีนพืดน้ำแข็งก็คลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของแอนตาร์กติกา พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์นั้นไม่ได้ขยายตัวเลยจนถึงปลายสมัยพลิโอซีนแต่หลังจากนั้นก็พัฒนาตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ธารน้ำแข็งปกคลุมทวีป ทำให้พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เกิดแบบรวดเร็วและเฉียบผลันสามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ของพืชที่งอกบนเกาะได้ดีกว่าพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกที่ค่อย ๆ ก่อตัวอย่างช้า ๆ อ่านต่อ...

บทความแนะนำทั้งหมด

แก้ไข   

ภาพแนะนำ

ภาพถ่ายทางอากาศของมาเล
ภาพถ่ายทางอากาศของมาเล เมืองหลวงของประเทศมัลดีฟส์
ภาพแนะนำทั้งหมด

แก้ไข   

รู้ไหมว่า

Darvasa gas crater panorama.jpg
ไฟที่ลุกไหม่อยู่ในหลุมแก๊สดาร์วาซานั้น ถูกจุดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514
บทความรู้ไหมว่าทั้งหมด

แก้ไข   

แนะนำเครืองมือ

Robinson projection SW.jpg

แผนที่โลก คือแผนที่แสดงพื้นที่ส่วนใหญ่หรือพื้นที่ทั้งหมดของโลก การครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้มีปัญหาเรื่องเส้นโครงแผนที่ แผนที่โลกเป็นการแปลงผิวโลกที่มีลักษณะเป็นสามมิติมาทำเป็นภาพในระนาบราบ (ภาพสองมิติ) การทำแผนที่โลกมีเทคนิคมากมายที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและนำเสนอแผนที่ให้มีความสมจริง สวยงาม และตอบสนองความต้องการ อ่านต่อ...

แนะนำเครืองมือทั้งหมด

แก้ไข   

เดือนนี้ในอดีต

February–March 2007 tornado outbreak

เดือนนี้ในอดีตทั้งหมด
แก้ไข   

หมวดหมู่

แก้ไข   

ประเทศตามภูมิภาค

ประเทศคือการแบ่งเขตการปกครองทางในภูมิศาสตร์การเมืองโดยในปัจจุบันนี้มีประเทศบนโลกทั้งหมด 196 ประเทศโดยอยู่ในทวีปเอเชีย 48 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 54 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 22 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 13 ประเทศ ทวีปยุโรป 45 ประเทศ และโอเชียเนีย 14 ประเทศ ประเทศที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ 8 ประเทศ และมีดินแดน 79 ดินแดน

โดยมีประเทศแบ่งเป็นภูมิภาคต่างๆดังนี้

แอฟริกาเหนือ/แอฟริกากลาง/แอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันตก/แอฟริกาใต้ ยุโรปตะวันตก/ยุโรปเหนือ/สแกนดิเนเวีย ยุโรปตะวันออก/ยุโรปใต้


เอเชียตะวันตก/เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก/เอเชียใต้/ตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอเมริกาเหนือ/อเมริกากลาง/แคริเบียน ทวีปอเมริกาใต้/โอเชียเนีย
เมืองหลวง/เมืองสำคัญ แผนที่/ทิศทาง ภูเขา/แม่น้ำ/ทะเล/มหาสมุทร อื่น ๆ
แก้ไข   

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดในทางภูมิศาสตร์ โดย แบ่งออกเป็น 7 ทวีป คือ ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป และ ทวีปโอเชียเนีย

Antarctica (orthographic projection).svg
ทวีปแอนตาร์กติกา
Afro-Eurasia (orthographic projection) political.svg
ทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย
Americas (orthographic projection).svg
ทวีปอเมริกา
Australia (orthographic projection).svg
ทวีปออสเตรเลีย
Africa (orthographic projection).svg
ทวีปแอฟริกา
Eurasia (orthographic projection).svg
ทวีปยูเรเชีย
North America (orthographic projection).svg
ทวีปอเมริกาเหนือ
Oceania (orthographic projection).svg
โอเชียเนีย
Europe (orthographic projection).svg
ทวีปยุโรป
Asia (orthographic projection).svg
ทวีปเอเชีย
South America (orthographic projection).svg
ทวีปอเมริกาใต้
มหาทวีป
กอนด์วานา • ลอเรเชีย • แพนเจีย • รอดิเนีย
แก้ไข   

ภูมิภาค

แก้ไข   

ช่วยเราได้

ลองกด ตรงนี้ เพื่อล้างเซิร์ฟเวอร์แคชของหน้านี้
(วันที่ 31 มีนาคม เวลา 01:16)
ภูมิศาสตร์บนวิกิข่าว
ข่าว
ภูมิศาสตร์บนวิกิคำคม
คำคม สุภาษิต
ภูมิศาสตร์บนคอมมอนส์
รูปภาพ
ภูมิศาสตร์บนวิกิซอร์ซ
เอกสารต้นฉบับ
ภูมิศาสตร์บนวิกิตำรา
ตำราและคู่มือ
แก้ไข   

สถานีย่อยอื่น ๆ