แผนที่โลก
แผนที่โลก คือแผนที่แสดงพื้นที่ส่วนใหญ่หรือพื้นที่ทั้งหมดของโลก การครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้มีปัญหาเรื่องเส้นโครงแผนที่ แผนที่โลกเป็นการแปลงผิวโลกที่มีลักษณะเป็น 3 มิติมาทำเป็นภาพในระนาบราบ (ภาพ 2 มิติ) การทำแผนที่โลกมีเทคนิคมากมายที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและนำเสนอแผนที่ให้มีความสมจริง สวยงาม และตอบสนองความต้องการ[2]
การสร้างแผนที่โลกจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโลก ทวีปและมหาสมุทร การสร้างแผนที่โลกให้ถูกต้องในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยกลางจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีชายฝั่งไม่ถึงครึ่งและส่วนของทวีปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่รู้จักในวัฒนธรรมต่าง ๆ การที่ชาวยุโรปเริ่มทำการสำรวจมากขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้ความรู้เกี่ยวกับโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างน้อยก็ช่วงกลางทศวรรษ 1700 ที่ชายฝั่งทั่วโลกได้รับการบันทึกลงในแผนที่ ส่วนดินแดนภายในทวีปก็ค่อย ๆ ได้รับการบันทึกภายในศตวรรษที่ 20
โดยทั่วไปแล้วแผนที่โลกจะเน้นเรื่องลักษณะทางกายภาพซึ่งแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์อย่าง เทือกเขา แม่น้ำ ชนิดดินและการใช้ที่ดิน กับ ด้านการเมือง ซึ่งเน้นเรื่องเขตแดนและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ แผนที่ธรณีวิทยาไม่ได้แสดงแค่พื้นผิวแต่ยังแสดงลักษณะการวางตัวของหินแข็ง รอยเลื่อนและโครงสร้างใต้ผิวดิน แผนที่โคโรเพลทจะใช้เฉดสีและความเข้มที่ตัดกันเพื่อความแตกต่างระหว่างภูมิภาคและเขตแดน เช่นการแสดงสถิติทางประชากรหรือทางเศรษฐกิจ
เส้นโครงแผนที่
แก้การแสดงแผนที่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการใช้เส้นโครงแผนที่หรือกระบวนการฉายโลกลงในระนาบราบ เส้นโครงแผนที่ทุกชนิดมีการบิดเบือนของลักษณะทางภูมิศาสตร์ ระยะทางและทิศทางไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มีการพัฒนาเส้นโครงแผนที่หลาย ๆ แบบเพื่อปรับสมดุล ความถูกต้องและความแม่นยำแต่ว่าความผิดเพี้ยนนั้นก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เส้นโครงแผนที่ ๆ รู้จักกันดีคือเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ซึ่งเดิมออกแบบมาเพื่อเป็นแผนที่เดินเรือ
-
เส้นโครงแผนที่แบบระนาบสัมผัสขั้วโลก
-
เส้นโครงแผนที่แบบกอลล์ แต่ละตารางกริดพื้นที่เท่ากัน
-
เส้นโครงแผนที่แบบโรบินสัน ใช้บ่อยในงานของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
แผนที่เฉพาะเรื่อง
แก้แผนที่โลกส่วนมากมีหลายลักษณะโดยแบ่งเป็นด้านต่าง ยกตัวอย่างเช่น[3]
- แผนที่โลกที่แสดงภูมิประเทศ (World Map Physical) จะแสดงข้อมูลของ ภูเขา ทะเลทราย ทะเลสาบ มหาสมุทร ชนิดของดิน หรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น
- แผนที่โลกที่แสดงภูมิอากาศ (World Map weather) จะแสดงข้อมูลของอุณหภูมิ มรสุม อุณหภูมิ ค่าเฉลี่ยของฝน เป็นต้น
- แผนที่การเมืองคือ (World Map Political) แผนที่ที่แสดงเขตแดน อาณาเขตของประเทศและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
- แผนที่เขตเวลา (World Time Zone Map) เป็นแผนที่แสดงการแบ่งเขตพื้นที่ซึ่งใช้เวลาอ้างอิงเดียวกัน
- แผนที่แสดงสถิติ (World Choropleth maps) คือแผนที่ที่ใช้สีและความเข้มของสีเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ เช่นสถิติประชากรศาสตร์ หรือสถิติทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
- แผนที่โลกคานทิโน (Cantino World Map) หรือ แผนที่การเดินเรือคานทิโน พลานิสเฟียร์เป็นแผนที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในปัจจุบัน
- ลูกโลก (Globe) เป็นแผนที่แบบ 3 มิติ ที่ทำออกมาในรูปแบบทรงกลม ซึ่งลูกโลกมีข้อได้เปรียบที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งในแง่ รูปทรง (Shape) ขนาด (Size) ระยะทาง (Distance) ทิศทาง (Direction) แต่เมื่อนำมาทำเป็นแผนที่ ในระบบ 2 มิติ ทำให้ข้อมูลหลายอย่างคลาดเคลื่อนไปเช่น ขนาดของพื้นที่ ๆ มีการบิดเบือน
-
แผนที่แสดงลักษณะภูมิอากาศ
-
แผนที่การเมืองที่มีสีสันเรียบง่ายในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015
-
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ
-
แผนที่แสดงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์แบ่งตามประเทศ
-
แผนที่แสดง ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ของสหประชาชาติแบ่งตามประเทศใน ค.ศ. 2016
-
แผนที่แสดง การคาดหมายคงชีพแบ่งตามประเทศ
-
ความหนาแน่นของประชากร (ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร) แบ่งตามประเทศในปี 2015
-
แผนที่แนววงแหวนไฟ
-
แผนที่โลกเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว (ยุคไทรแอสซิก)
-
ภาพถ่ายจากดาวเทียม ของโลกในเวลากลางคืน
แผนที่โลกยุคแรก
แก้แผนที่โลกในยุคแรกจะนับรวมตั้งแต่รูปวาดของโลกตั้งแต่ยุคเหล็ก ยุคแห่งการสำรวจ จนถึงช่วงสมัยใหม่ตอนต้น ที่มีการเกิดขึ้นของวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ แผนที่ในอดีตจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักในอดีต รวมถึงพื้นฐานทางปรัชญาและวัฒนธรรมของแผนที่ ซึ่งแตกต่างจากการทำแผนที่สมัยใหม่มาก แผนที่มักเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการเผยแพร่แนวคิดของตนและส่งต่อไปยังคนรุ่นหลัง[4]
-
แผนที่โลกในจิตนาการของ อะแนกซิแมนเดอร์ (610–546 ก่อนคริสต์ศักราช)
-
แผนที่โลกตามจิตนาการของโพซิโดนีอุส (150–130 ก่อนคริสต์ศักราช) วาดใน ค.ศ. 1628
-
แผนที่รูปทีและโอเป็นหนึ่งในแผนที่โลกในยุคกลาง (จาก Meyers Konversationslexikon 1895) (เอเชียอยู่ด้านขวา)
-
ตาบุลารอเกริอานา แผนที่โลกของมุฮัมมัด อัลอิดรีซีย์ใน ค.ศ. 1154 เป็นแผนที่แบบกลับหัว
-
แผนที่โลกในรูปแบบเส้นโครงแผนที่แบบออกแทน (1514) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี
-
แผนที่โลกของเกราร์ดุส เมอร์เคเตอร์ (1569) รูปแบบแรกของเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์
-
แผนที่โลกโดย Claes Janszoon Visscher ใน ค.ศ. 1652
-
แผนที่ประวัติศาสตร์โลกของ Gerard van Schagen ใน ค.ศ. 1689
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Large-Scale Distortions in Map Projections, 2007, David M. Goldberg & J. Richard Gott III, 2007, V42 N4.
- ↑ American Cartographic Association's Committee on Map Projections (1988). Choosing a World Map. Falls Church: American Congress on Surveying and Mapping. pp. 1–2.
- ↑ "Thematic Maps". Map Collection & Cartographic Information Services Unit. University Library, University of Washington. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2009.
- ↑ "History of maps and cartography". emporia.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2017.
บรรณานุกรม
แก้- Edson, Evelyn (2011). The World Map, 1300–1492: The Persistence of Tradition and Transformation. JHU Press. ISBN 1-4214-0430-3
- Harvey, P. D. A. (2006). The Hereford world map: medieval world maps and their context. British Library. ISBN 0-7123-4760-7
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "World maps", the CIA World Factbook, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011