ลูกโลก (อังกฤษ: globe) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เป็นการจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้า อาจทำมาจากกระดาษ พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายกับแผนที่ แตกต่างกันตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริง เป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมของสภาพภูมิประเทศ ขนาดประเทศและลักษณะทางกายภาพได้เหมือนจริงมากกว่า แต่มีข้อเสียคือลูกโลกจะไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดของโลกในเวลาเดี่ยวกันได้อีกทั้งยังพกพาได้ลำบาก[1]

ลูกโลก

ลูกโลกมีสองแบบคือลูกโลกธรรมดาหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า (terrestrial globe) แปลตรงตัวว่าโลกบกกับอีกแบบ คือทรงกลมท้องฟ้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า (celestial globe) แปลตรงตัวว่าโลกท้องฟ้า ซึ่งปกติแล้วจะแสดงกลุ่มดาวบนท้องฟ้าหรือแสดงดวงดาวบนท้องฟ้าและตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ

คำว่า globe มาจากภาษาละตินคำว่า globus ซึ่งมีความหมายว่าทรงกลม ลูกโลกนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน บุคคลที่กล่าวถึงลูกโลกเป็นครั้งแรกคือสตราโบซึ่งได้อธิบายไวใน The Globe of Crates เมื่อ 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน ค.ศ. 1492 มาร์ทีน เบไฮม์ได้ผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่ชื่อว่า แอร์ทอัพเฟิล (Erdapfel)[2] ส่วนลูกทรงกลมท้องฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่คือ รูปสลักแอตลาสแบกโลก ซึ่งแกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ของจักรวรรดิโรมัน

ทรงกลมบก (ลูกโลกธรรมดา)

แก้

แผนที่ระนาบราบนั้นจำเป็นต้องใช้เส้นโครงแผนที่ในการสร้าง ซึ่งมักมีการบิดเบือนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และยิ่งพื้นที่มีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีความบิดเบือนมาก ลูกโลกเป็นการแสดงลักษณะของโลกแบบเดียวในตอนนี้ที่ไม่มีการบิดเบือนของรูปร่าง ขนาดและคุณลักษณะที่มีขนาดใหญ่ เช่นทวีปและมหาสมุทร

ลูกโลกมีหลายขนาด โดยเทียบจากที่โลกมีเส้นรอบวงยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร (40 ล้านเมตร)[3][4] ลูกโลกส่วนมากมีเส้นรอบวงยาว 1 เมตร ทำให้มีมาตราส่วน 1:40 ล้าน ในประเทศที่ใช้หน่วยวัดแบบอังกฤษจะสร้างลูกโลกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต (30 ซม.) ทำให้มีเส้นรอบวงยาว 3.14 ฟุต มาตราส่วนจึงเท่ากับ 1:42 ล้าน

ลูกโลกบางลูกมีการแสดงลักษณะภูมิประเทศและระดับความลึก ค่าระดับความสูงและค่าระดับความลึกนั้นเป็นการแสดงผลที่เกินจริงโดยเจตนา เพราะมาตราส่วนที่ห่างขนาดนี้ไม่สามารถแสดงผลได้ ตัวอย่างเช่นผู้ผลิตรายหนึ่งผลิตลูกโลกพื้นผิวสามมิติที่มีเส้นรอบวงยาว 200 ซม. (มาตราส่วน 1:20 ล้าน) โดยแสดงผลให้ยอดเขาเอเวอเรสต์สูง 2.5 ซม. เมือเทียบกับมาตราส่วนแล้วจะสูงกว่าความเป็นจริงประมาณ 57 เท่า[5][6]

ลูกโลกสมัยใหม่มักมีการใส่เส้นขนานและเส้นเมริเดียน ทำให้สามารถบอกตำแหน่งโดยประมาณของสถานที่ต่าง ๆ ได้ บางครั้งมีการแสดงเขตแดนและชื่อประเทศลงบนลูกโลกด้วย ลูกโลกบางใบมีการใส่แอนาเล็มมาเพื่อแสดงการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในช่วงเวลาหนึ่งปี

ลูกโลกโดยทั่วไปจะให้ทิศเหนืออยู่ด้านบน แต่ลูกโลกบางใบสามารถหมุนแกนโลกทิศใต้ขึ้นมาข้างบนได้เพื่อที่จะสามารถดูลักษณะในซีกใต้ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถดูลักษณะของโลกในทิศทางที่แตกต่างพื่อช่วยต้านอคติที่เกิดจากการนำเสนอแบบเดิม ๆ

ทรงกลมท้องฟ้า

แก้
 
ทรงกลมท้องฟ้าที่วินเซนโซ โคโรเนลลิสร้างถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

เป็นลูกโลกที่แสดงตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าและระบาบสุริยวิถี โดยไม่นับรวมดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์

ประวัติ

แก้
 
แอร์ทอัพเฟิลของมาร์ทีน เบไฮม์ ลูกโลกเก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอด สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1491–1493 เป็นลูกโลกที่แสดงแค่บริเวณโลกเก่า ปัจจุบันแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเยอรมันที่เนือร์นแบร์ค

ลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏขึ้นพร้อมกับแนวคิดและความเชื่อเรื่องโลกกลมของนักดาราศาสตร์ชาวกรีกในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเชื่อกันว่าตัวอย่างของลูกโลกจำลองทางภูมิศาสตร์ที่เก่าที่สุดถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย คราเตสแห่งมอลลัสแห่งซิลิเชีย (ปัจจุบันคือชาคูโลวา) ในกลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช

ปัจจุบันไม่มีลูกโลกจำลองจากสมัยโบราณและยุคกลางเหลือรอด ส่วนตัวอย่างของทรงกลมท้องฟ้าที่เหลือรอดอยู่คือรูปสลักแอตลาสแบกโลกที่แกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งนาโปลี[7]

แบบจำลองของโลกที่แสดงโลกเก่าทั้งหมดสร้างขึ้นในยุคทองของอิสลาม[8][9] เดวิต วูดเวิร์ดกล่าวว่า หนึ่งในตัวอย่างก็คือลูกโลกที่จามัล แอดดิน อัลบุคอรีนำไปปักกิ่งใน ค.ศ.1267[10]

ลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดอยู่สร้างขึ้นใน ค.ศ 1492 โดยมาร์ทีน เบไฮม์มันมีชื่อว่า แอร์ทอัพเฟิล (Erdapfel) มาร์ทีน เบไฮม์เป็นช่างทำแผนที่ นักเดินเรือและพ่อค้าชาวเยอรมันที่ทำงานในเนือร์นแบร์ค ประเทศเยอรมนี ก่อนจะสร้างลูกโลกใบนี้เขาได้เดินทางไปทั่วโลก เขาพำนักอยู่ในลิสบอนชั่วคร่าวใน ค.ศ. 1480 พัฒนาธุรกิจการค้าและคลุกคลีกับนักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์ เมื่อเดินทางกลับบ้านเกิดเขาก็ได้ทำการสร้างลูกโลกใบนี้ขึ้นโดยให้ เกออร์ค กล็อคเคินโดน เป็นผู้วาด[7] เขาเรียกลูกโลกของเขาว่า "Nürnberg Terrestrial Globe." แต่ในเวลาต่อมามันรู้จักกันในชื่อแอร์ทอัพเฟิล

ลูกโลกที่เก่าแก่อีกลูกคือลูกโลกฮันท์–เลน็อกซ์ เชื่อกันว่านี้เป็นที่มาของวลี "Hic Sunt Dracones" ความหมายคือ "Here Be Dragons - ที่นี่มีมังกร" ลูกโลกใบนี้ทำจากไข่นกกระจอกเทศสองซีกและมีขนาดประมาณลูกเกรปฟรูต ถูกค้นพบครั้งแรกใน ค.ศ. 2012 มีการคาดเดาว่ามันน่าจะอยู่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1504[11] และอาจเป็นลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่แสดงพื้นที่โลกใหม่ สเตฟาน มิสไซน์ผู้วิเคราะห์ลูกโลกให้กับ นิตยสารปอร์โตแลน (The Portolan journal) ของ วอชิงตัน แมพ โซไซตี้ กล่าวว่าเป็น "ส่วนหนึ่งของคอลเล็กชันสำคัญของยุโรปในรอบทศวรรษ"

ใน ค.ศ. 1507 มาร์ติน วัลด์ซีมูลเลอร์เป็นคนแรกที่วาดทวีปอเมริกาลงในแผนที่โลก ลูกโลกที่ทันสมัยอย่างมากอีกใบหนึ่งสร้างโดยตากี อัลดีนที่หอดูดาวคอนสแตนติโนเปิลแห่งตากี อัลดีนในช่วงทศวรรษที่ 1570[12]

ทรงกลมท้องฟ้าที่ไม่มีรอยต่อใบแรกของโลกสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ในจักรวรรดิโมกุลซึ่งสนับสนุนโดยจักรพรรดิชะฮันคีร์[13]

Globus IMP อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องกลกับลูกโลกขนาด 5 นิ้ว ถูกใช้เป็นเครื่องมือนำทางในยานอวกาศของโซเวียตและรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1961–2002 ใน ค.ศ. 2001 มีการใช้แผนที่ดิจิทัลแทนเครื่องมือตัวนี้ในยานอวกาศโซยุซ ทีเอ็มเอ[14]

ในชวงยุค 1800 ลูกโลกขนาดเล็ก (น้อยกว่า 3 นิ้ว) เป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะความเป็นสุภาพบุรุษและเป็นของเล่นเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กที่มีฐานะ[15]

วิธีการผลิต

แก้
ภาพยนตร์สั้นของเนเธอร์แลนด์แสดงวิธีการผลิตลูกโลก (ค.ศ. 1955)

โดยปกติแล้วการผลิตลูกโลกจะใช้การพิมพ์ลงในแผ่นกระดาษกอร์ (Gore) ที่มีลักษณะกระดาษรูปโค้งจันทร์เสี้ยวที่มีลักษณะเรียวแหลมบริเวณขั้ว[16] และนำมาติดลงบนวัตถุทรงกลมซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้ หากลูกโลกนั้นมีกระดาษกอร์มาเท่าไหร่ผิวของลูกโลกก็จะเรียบเนียนมากเท่านั้น

ในปัจจุบันลูกโลกส่วนมากใช้เทอร์โมพลาสติกในการผลิต ตั้งแกนโลกให้เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5° เพื่อให้สามารถทำให้นึกภาพได้ง่ายขึ้นว่าฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การแสดงผล

แก้

แผนที่จะแสดงความบิดเบือนของโลกเช่นทำให้บริเวณขั่วโลกมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ว่าลูกโลกนั้นจะมีรูปร่างที่เหมือนจริงทำให้มันมีลักษณะคล้ายโลกมากกว่าแผนที่ ลูกโลกมีรูปทรงกลมคล้ายผลส้ม คือ ตรงบริเวณขั้วโลกทั้งสองยุบราบลงเล็กน้อยและป่องตรงบริเวณศูนย์สูตร โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร ยาว 12,756 กิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ยาว 12,714 กิโลเมตร [17][18]นี้ทำให้เห็นว่าโลกนั้นไม่ได้กลมเปะแต่ถึงอย่างงั้นค่าพวกนี้ก็เป็นแค่ส่วนต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผิวโลกนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นมหาสมุทรมีเนื้อที่รวมกัน 375 ล้านตารางกิโลเมตรและส่วนที่เป็นพื้นดินอย่างทวีปและเกาะต่าง ๆ มีเนื้อที่รวมกัน 150 ล้านตารางกิโลเมตร เมื่อรวมทั้งพื้นน้ำและแผ่นดินแล้ว โลกจะมีเนื้อที่รวมประมาณ 525 ล้านตารางกิโลเมตร โดยคิดสัดส่วนบริเวณผิวของเปลือกโลกจะเป็นพื้นน้ำ 2 ใน 3 ส่วน และส่วนที่เป็นแผ่นดิน 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้น การสร้างลูกโลกจึงต้องเป็นไปตามสัดส่วนของโลก แต่เนื่องจากเมื่อมีการย่อส่วนเป็นลูกโลกแล้ว จะพบว่าค่าความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร และจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้จะมีค่าไม่ต่างกันมากนัก จึงเห็นได้ว่ารูปโลกมีลักษณะทรงกลม [19][20]

ข้อมูลที่แสดงบนลูกโลกนั้นมีการใช้สัญลักษณ์, สี, หรืออื่น ๆ ในการแสดงสภาพบนผิวโลกเช่นความสูงความต่ำเป็นต้นโดยจะมีการแสดง 2 แบบ ดังนี้

  1. ลูกโลกแสดงลักษณะผิวโลก โดยแบ่งผิวโลกออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ ส่วนที่เป็นทะเลหรือมหาสมุทรโดยส่วนมากจะเป็นสีฟ้าและน้ำเงิน และแสดงพื้นดินด้วยสีต่าง ๆ ตามความสูงโดยจะมีการกำหนดอยู่บนลูกโลกนั้น ๆ
  2. ส่วนที่สมมติขึ้น เช่นมีการใช้เส้นละติจูด ลองจิจูด เส้นศูนย์สูตร เพื่อเป็นการบอกพิกัดทางภูมิศาสตร์ หรือมีการใช้จุดหรือสัญลักษณ์ในการบอกเมืองท่าหรือเมืองสำคัญเป็นต้น [21]

เช่น:[22]

  • เครื่องหมายแสดงทิศ
  • ทางรถยนต์
  • ทางรถไฟ
  • เส้นแบ่งอาณาเขต
  • แม่น้ำ
  • จังหวัด
  • อำเภอ

รูปภาพ

แก้

ประโยชน์

แก้

ทำให้เราได้มองโลกได้ตามความจริงและได้เห็นทุกมุมมองของโลกแสดงรายละเอียดที่ถูกต้องกว่า

ข้อเสีย

แก้

ยากในการพกพาแสดงข้อมูลรายละเอียดได้น้อยไม่สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดทั้งโลกได้ในคราวเดียว

อ้างอิง

แก้
  1. ลูกโลก
  2. "Der Behaim-Globus in Nürnberg" (ภาษาเยอรมัน). Bayern-online.
  3. The Earth’s circumference is 40 million m because the metre was originally defined to be one 10-millionth of the distance between the poles and the equator.
  4. Arc length#Arcs of great circles on the Earth
  5. MapScaping på Twitter: "3D topographic globe at Stanford's Branner Library."
  6. The GEO One 25" Extreme Raised Relief Classroom Floor Globe
  7. 7.0 7.1 Microsoft Encarta Encyclopedia 2003.
  8. Medieval Islamic Civilization By Josef W. Meri, Jere L Bacharach, pages 138–139
  9. Covington, Richard (2007), "The Third Dimension", Saudi Aramco World, May–June 2007: 17–21, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12, สืบค้นเมื่อ 2008-07-06
  10. David Woodward (1989), "The Image of the Spherical Earth", Perspecta, MIT Press, 25: 3–15 [9], JSTOR 1567135
  11. Missinne 2019, p. 261.
  12. Soucek, Svat (1994), "Piri Reis and Ottoman Discovery of the Great Discoveries", Studia Islamica, Maisonneuve & Larose, 79 (79): 121–142 [123 & 134–6], doi:10.2307/1595839, JSTOR 1595839
  13. Society, National Geographic (2011-01-21). "globe". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-01-23.
  14. Tiapchenko, Yurii. "Information Display Systems for Russian Spacecraft: An Overview". Computing in the Soviet Space Program (Translation from Russian: Slava Gerovitch).
  15. Bliss, Laura (13 October 2014). "These tiny glass globes were all the rage in London 200 years ago". Quartz (publication). สืบค้นเมื่อ 2014-10-14.
  16. "Image: globe.jpg, (450 × 100 px)". netpbm.sourceforge.net. สืบค้นเมื่อ 2015-09-01.
  17. The Earth’s circumference is 40 million m because the metre was originally defined to be one 10-millionth of the distance between the poles and the equator.
  18. Arc length#Arcs of great circles on the Earth
  19. โลก
  20. ดาวเคาระห์โลก
  21. "การแสดงผลบนลูกโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.
  22. "การแสดงผล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-07.