โลกใหม่
ระวังสับสนกับ โลกยุคใหม่
โลกใหม่ (อังกฤษ: New World) เป็นคำที่ใช้สำหรับดินแดนที่นอกไปจากทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย ที่ก็คือทวีปอเมริกา และอาจจะรวมไปถึงออสตราเลเชีย[ต้องการอ้างอิง]ด้วย เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อทวีปอเมริกายังใหม่ต่อชาวยุโรปผู้ที่เดิมเชื่อว่าโลกประกอบด้วยทวีปเพียงสามทวีปที่เรียกรวมกันว่าโลกเก่า คำว่า “โลกใหม่” ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “โลกยุคใหม่” (Modern era) คำหลังหมายถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มิใช่แผ่นดิน
ที่มา
แก้ในปี ค.ศ. 1493 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินทางกลับสเปนหลังจากการเดินทางไปสำรวจอเมริกาเป็นครั้งแรก และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนของปีนั้นปีเตอร์ มาร์เตอร์ ดังกิเอรา (Peter Martyr d'Anghiera) กล่าวถึงโคลัมบัสในจดหมายว่าเป็นผู้พบ “โลกใหม่” (novi orbis)[1] ในจดหมายอีกฉบับหนึ่งมาร์เตอร์ก็ยังใช้คำว่า “โลกใหม่” (orbo novo)[2] ในปี ค.ศ. 1516 มาร์เตอร์ก็พิมพ์งานชื่อ “เกี่ยวกับโลกใหม่” (De orbe novo)
ในปี ค.ศ. 1524 คำนี้ก็นำไปใช้โดยจิโอวานนิ ดา แวร์รัซซาโน (Giovanni da Verrazzano) ในบันทึกการเดินทางในปีนั้นเลียบฝั่งทะเลที่ต่อมาคือสหรัฐอเมริกาและแคนาดา.[3]
ในปัจจุบันการใช้คำว่า “โลกใหม่” ในบริบทของประวัติศาสตร์จะใช้เมื่อกล่าวถึงการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, การพิชิตยูคาทานโดยสเปน และเหตุการณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วคำว่า “โลกใหม่” บางครั้งก็ยังใช้ในบริบทของชีววิทยาเมื่อกล่าวถึงโลกเก่า (Palearctic, Afrotropic) และ สปีชีส์ของโลกใหม่ (Nearctic, Neotropic)
ขณะที่คำว่า “โลกใหม่” มักจะหมายถึงทวีปอเมริกา ออสเตรเลียก็อาจจะได้รับการบรรยายว่า “ใหม่” ในบางบริบท ในบริบทของชีววิทยาออสเตรเลียไม่เก่าและไม่ใหม่เพราะพืชพันธุ์ที่พบในออสเตรเลียแตกต่างเป็นอย่างมากจากที่พบในทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และ ทวีปอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ O'Gorman, Edmundo (1961). The Invention of America, p. 84.
- ↑ Zerubavel, Eviatar (2003). Terra Cognita: The Mental Discovery of America, p. 72. Citing: Thacher, John B. (1903). Christopher Columbus, vol. 1, p. 62.
- ↑ Verrazzano, Giovanni da (1524). "The Written Record of the Voyage of 1524 of Giovanni da Verrazzano as recorded in a letter to Francis I, King of France, July 8th, 1524" เก็บถาวร 2006-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Citing: Wroth, Lawrence C., ed. (1970). The Voyages of Giovanni da Verrazzano, 1524-1528. Yale, pp. 133-143. Citing: a translation by Susan Tarrow of the Cellere Codex.