ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว
คำแปลตามพจนานุกรม
แก้ทิศพายัพ [พายับ] ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้นิยามคำว่า ทิศพายัพไว้แปลว่า ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในทิศทั้งแปด
ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย
แก้ช้างเผือกประจำทิศพายัพ คือ ช้างบุษปทันต์อยู่ทิศพายัพ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศพายัพ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุษปทันต์ มีลักษณะ ๗ ประการ สีดังหมากสุกผิวเนื้อเลอียด มีกระหน้าตัวใหญ่งามงาน้อยขึ้นขวา เสียงดังเสียงเมฆ พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา คชศาสตร์
คตินิยมและความเชื่อ
แก้ตามคติความเชื่อของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานั้น เชื่อกันว่าในสรรพสิ่งทั้งหลายมีเทวดาอยู่รายรอบตัวเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือในกฎหมายตราสามดวงที่มักกล่าวถึงเทวดาไว้ในพระไอยการต่าง ๆ เช่น ในลักษณภญาณมีกล่าวไว้ว่า “...แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย คือพระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษาพระพุทธศาสนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอขันธเสมาแลพระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถานที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน...”
ตามตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือ มะพูด มะกรูด และ มะนาว
ส่วนเทวดาประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือคือพระราหู ราหู ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘
ส่วนมหาเทพประจำทิศคือ พระพายุ ซึ่งคือที่มาของคำว่า พายัพ