มะพูด
สปีชีส์ของพืช
มะพูด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Clusiaceae |
สกุล: | Garcinia |
สปีชีส์: | G. dulcis |
ชื่อทวินาม | |
Garcinia dulcis |
มะพูด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia dulcis) เป็นไม้ท้องถิ่นในอินโดนีเซียและหมู่เกาะอันดามัน ภาษาอินโดนีเซียเรียกมุนดู ภาษาเขมรเรียกประโฮด ภาคอีสานเรียกมะหูด เป็นไม้ยืนต้นเกิดในป่าดงดิบแล้งและป่าโปร่ง ต้นมีรอยบาดแผลมีน้ำยางสีขาวไหลออกมาแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบหนาเป็นมัน ดอกสีเหลืองอมเขียว ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสอมเปรี้ยวอมหวาน
ผลมะพูดกินเป็นผลไม้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำผลไม้ ทำแยม ทางยา ใช้น้ำคั้นจากผลแก้เลือดออกตามไรฟัน ขับเสมหะ รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ถอนพิษ เปลือกนำไปต้ม กรองเอาแต่น้ำ ใช้ล้างแผล ในชวาและสิงคโปร์ใช้เมล็ดตำละเอียดรักษาอาการบวม ใช้ย้อมสีเสื่อ
อ้างอิง
แก้- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550หน้า 136
- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 241
- "PLANTS Profile for Garcinia dulcis". USDA Plants Database. สืบค้นเมื่อ 2007-11-12.