สถานีย่อย:เภสัชกรรม
สถานีย่อย เภสัชกรรม |
โครงการวิกิเภสัชกรรม | การจัดระดับบทความเภสัชกรรม | ขอบข่ายและรางวัล | วิทยาศาสตร์ เภสัชกรรม |
เภสัชเคมี | เภสัชวิทยา | เภสัชเวท และสมุนไพร |
"เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปจัดการการศึกษาวิชาแพทย์ และ วิชาผดุงครรภ์และพยาบาล ได้สักหน่อย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถก็ทรงมีพระดำริว่า ตามกรมกองทหารบกมีแพทย์ประจำหน่วยพยาบาลอยู่แล้ว และยังจะได้เพิ่มเติมไปอีกเรื่อยๆ แต่ทางเภสัชกรรมนั้น ยังไม่มีผู้ใดได้เรียนและได้รับการอบรมไปประจำตามที่จำหน่ายยาเลย ควรตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้นอีกแขนงหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นด้วย จึงได้จัดตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้น สอนวิชารากฐานร่วมกันไปกับกับนักเรียนแพทย์ แล้วไปแยกกัน ทางฝ่ายแพทย์ปรุงยาก็ไปเรียนเภสัชศาสตร์ และฝึกหัดทางเภสัชกรรม..."
— สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระบิดาแห่งเภสัชกรรมไทย
แก้ไข
ปฐมบท
เภสัชกรรม เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คิดค้น ปรุง จำหน่าย และบริหารจัดการยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาทางเวชกรรม โดยจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ รวมถึงการให้องค์ความรู้ในการใช้ยาแก่ประชาชน จึงต้องใช้ทักษะการปฏิบัติการทางเคมี และความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ควบคู่กัน เพื่อบำบัดโรคให้กับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เภสัชกรรมถือเป็นวิชาชีพเก่าแก่ มีการพัฒนาการควบคู่กับการวิวัฒนาการของมนุษย์ในแต่และยุคสมัยมาโดยตลอด นับแต่ครั้งมนุษย์สั่งสมความรู้การบริบาลตนเองเบื้องต้น จนกระทั่งจดจำ และบันทึกเป็นตำรายาในเวลาต่อมา แต่เดิม เภสัชกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ ต่อมาได้มีการแยกความรู้ทางการแพทย์ออกเป็นหลายสาขา อาทิ เภสัชกรรม ทันตกรรม เวชกรรม พยาบาล สหเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยการศึกษาทางเภสัชกรรมก็ยังแบ่งออกอีกหลายสาขา ตามความหลากหลายของอาชีพ และการฝึกความชำนาญเฉพาะด้าน แก้ไข
บทความแนะนำแบคทีเรียดื้อยา (อังกฤษ: Antibiotic resistance) เป็นคำที่ใช้สื่อถึงแบคทีเรียที่มีความสามารถในการปรับตัวให้ทนต่อฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆในอดีต ส่งผลให้การรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยานี้ทำได้ยากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดที่สูงขึ้นมากกว่าเดิมในการรักษา หรือต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการรักษาโดยใช้ยาทางเลือกรอง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงกว่าปกติ และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือการเกิดพิษได้มากกว่าการรักษาด้วยสูตรการรักษามาตรฐาน การเพิ่มขึ้นของการดื้อยาของแบคทีเรียนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อดื้อยาอย่างรุนแรงประมาณปีละ 700,000 – 1,000,000 คนต่อปี เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีจะมีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างน้อย 2,000,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้ที่ประสบความล้มเหลวในการรักษาและนำไปสู่การเสียชีวิตมากถึง 23,000 คนต่อปี ด้วยความรุนแรงแรงของปัญหาการดื้อยาของแบคทีเรียนี้ ทำให้มีการเรียกร้องให้ประชาคมโลกกำหนดมาตรการการดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว จนได้เป็นข้อเสนอสำหรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศเรื่องการดื้อต่อยาของจุลชีพ แต่การดำเนินงานดังกล่าวนั้นไม่อาจกระทำได้ในทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากบางประเทศที่มีฐานะยากจนและมีระบบการสาธารณสุขที่อ่อนแอนั้นไม่อาจดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวได้เต็มที่ ทำให้กลุ่มประเทศดังกล่าวมีอุบัติการณ์การเกิดการดื้อยาของจุลชีพที่ค่อนข้างสูง อ่านต่อ... แก้ไข
สัญลักษณ์วิชาชีพแก้ไข
รายชื่อแก้ไข
สาขาวิชา
แก้ไข
รู้หรือไม่?
แก้ไข
คุณช่วยได้!
แก้ไข
สถานีย่อยที่เกี่ยวข้องแก้ไข
โครงการวิกิที่เกี่ยวข้องในสถานีย่อยเภสัชกรรมมีหน้าบริหารโครงการวิกิเพื่อบริหารบทความทางเภสัชกรรมและเภสัชศาสตร์โดยเฉพาะ คุณสามารถศึกษานโยบายโครงการ แนวทางการเขียนบทความ และช่วยเหลือ เข้าร่วมกับเราได้ที่โครงการวิกิเภสัชกรรม แก้ไข
เภสัชกรรมและเภสัชวิทยาในโครงการวิกิมีเดียอื่นๆ
แก้ไข
หัวข้อสำคัญแก้ไข
สถานีย่อยอื่น ๆ
|