เภสัชพลศาสตร์
เภสัชพลศาสตร์ (อังกฤษ: pharmacodynamics) คือการศึกษาผลทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาและความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นและผลของยา เภสัชพลศาสตร์เป็นการศึกษาว่ายามีผลอะไรต่อร่างกายบ้าง ซึ่งตรงกันข้ามกับเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) ที่เป็นการศึกษาผลของร่างกายที่มีต่อยา
นิยามของ IUPAC
เภสัชพลศาสตร์: การศึกษาการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระบบสิ่งมีชีวิต รวมถึงปฏิกิริยาและการจับกับองค์ประกอบของเซลล์ และผลทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของการออกฤทธิ์เหล่านี้[1]
ปัจจุบันเภสัชพลศาสตร์สามารถประเมินผลของยาต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- มัลติเซลลูลาร์ ฟาร์มาโคไดนามิกส์ (Multicellular Pharmacodynamic หรือ MCPD) คือการศึกษาคุณสมบัติอยู่กับที่และภาวะเคลื่อนไหวและความสันพันธ์ระหว่างกลุ่มของยา และภาวะเคลื่อนไหวของกลุ่มเซลล์ในเชิง 4 มิติ การศึกษานี้จะทำทั้งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสิ่งมีชีวิตเพื่อเปรียบเทียบกัน
- เน็ตเวิกด์ มัลติเซลลูลาร์ ฟาร์มาโคไดนามิกส์ (Networked Multicellular Pharmacodynamics หรือ Net-MCPD) ใช้ศึกษาผลของยาต่อสารพันธุกรรมด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ Duffus, J. (1 January 1993). "Glossary for chemists of terms used in toxicology (IUPAC Recommendations 1993)". Pure and Applied Chemistry. 65 (9): 2003–2122. doi:10.1351/pac199365092003.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Jackson, R.C. (2003) Predictive software for drug design and development เก็บถาวร 2013-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pharmaceutical Development and Regulation 1 ((3)), 159-168.
- Werner, E., In silico multicellular systems biology and minimal genomes, DDT vol 8, no 24, pp 1121-1127, Dec 2003. (Introduces the concepts MCPD and Net-MCPD)
- Dr. David W. A. Bourne, OU College of Pharmacy