เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสมาคมผู้แทนของเภสัชกรชาวไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472 โดยเภสัชกร 64 คน ซึ่งในขณะนั้นวิชาชีพเภสัชกรรมยังมิได้รับการยอมรับหรือรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยได้ใช้บ้านพักของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) เป็นสถานที่ดำเนินการ โดยใช้ชื่อว่า "เภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม" ในระยะเริ่มแรก

เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่อยู่
40 สุขุมวิท 38 คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออังกฤษ The Pharmaceutical Association of Thailand Under Royal Patronage
สถาปนา 5 มีนาคม พ.ศ. 2472
สถานะทางกฏหมาย สมาคม
ผู้บริหาร เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร.สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย
เว็บไซต์

เภสัชกรรมสมาคมฯ มีบทบาทในการพัฒนางานสาธารณสุขและการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ของประเทศ อาทิ การส่งเสริมการปรับปรุงพระราชบัญญัติยาและการยกระดับการศึกษาเภสัชศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรการสอนให้ถึงระดับปริญญา นอกจากนี้เภสัชกรรมสมาคมฯ ยังถือเป็นองค์กรหลักองค์กรหนึ่งของเภสัชกรรมไทยในการติดต่อกับองค์กรอื่นๆทั้งในและนอกประเทศอีกด้วย

ประวัติ

แก้

เมื่อการศึกษาทางเภสัชศาสตร์เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นสาขาวิชาชีพใหม่ที่ไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม จึงเกิดการรวมกลุ่มของเภสัชกร 64 คน ก่อตั้ง "เภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม" ขึ้น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472[1] โดยใช้บ้านพักของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) อาจารย์แผนกวิชาเภสัชเวทของแผนกแพทย์ปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ทำการในระยะเริ่มแรก เพื่อเป็นองค์กรแทนเภสัชกรในการเภสัชกรรม และยังเป็นที่พบปะสังสรรค์ของเภสัชกรในสมัยนั้น

ในปี พ.ศ. 2482 เภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ กล่าวคือ ยกระดับการศึกษาเภสัชศาสตร์ขึ้นให้ถึงระดับปริญญาและแยกออกเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และยังมีมบทบาทการคุ้มครองผู้บริโภคโดยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพระราชบัญญัติยา และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย" และได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

ทำเนียบนายกสมาคม

แก้
นายกสมาคมเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระมนตรีพจนกิจ (ม.ร.ว.ชาย ชุมแสง) พ.ศ. 2472 - 2477
2. ขุนเภสัชการโกวิท (บุญเกิด เอฬะกานนท์) พ.ศ. 2477 - 2479
3. เภสัชกร ดร.ตั้ว ลพานุกรม พ.ศ. 2480 - 2484
4. เภสัชกร ศาสตราจารย์ ดร. จำลอง สุวคนธ์ พ.ศ. 2485 - 2487
5. เภสัชกร ดร. แวว ผลวัฒนะ พ.ศ. 2488
6. เภสัชกร ดร. เกษม ปังศรีวงศ์ พ.ศ. 2489
7. เภสัชกร ศาสตราจารย์ ดร. จำลอง สุวคนธ์ พ.ศ. 2490 - 2499
8. เภสัชกร ศาสตราจารย์ ดร. ชลอ โสฬสจินดา พ.ศ. 2500 - 2504
9. เภสัชกร ศาสตราจารย์ ดร. ไฉน สัมพันธารักษ์ พ.ศ. 2505 - 2511
10. เภสัชกร ศาสตราจารย์ พันโท ดร. สามารถ อังศุสิงห์ พ.ศ. 2512 - 2518
11. เภสัชกร พลตรี ดร. ประเสริฐ ธีรคุปต์ พ.ศ. 2519 - 2520
12. เภสัชกร พลตรี ดร. สุนันท์ โรจนวิภาต พ.ศ. 2521 - 2524
13. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา พ.ศ. 2525 - 2528
14. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ บุญอรรถ สายศร พ.ศ. 2529 - 2532
15. เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.จอมจิน จันทรสกุล พ.ศ. 2533 - 2536
16. เภสัชกร ศาสตราจารย์ ดร.สมพล ประคองพันธ์ พ.ศ. 2537 - 2540
17. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต พ.ศ. 2541 - 2544
18. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร.สุนิพนธ์ ภุมมางกูร พ.ศ. 2545 - 2549
18. เภสัชกรธีระ ฉกาจนโรดม พ.ศ. 2550 - 2555
19. เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร.สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

การเดินทาง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เภสัชกรรมสมาคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้