พระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง)
อำมาตย์โท พระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) หรือ หม่อมราชวงศ์ชายสรรพศิลป์เครือวัลย์ ชุมแสง (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2478) นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยามคนแรก นักพฤกษศาสตร์ และอาจารย์ชาวไทย
พระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) | |
---|---|
รูปปั้นพระมนตรีพจนกิจ ที่เภสัชกรรมสมาคมฯ | |
เกิด | หม่อมราชวงศ์ชายสรรพศิลป์เครือวัลย์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2478 (50 ปี) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมิวนิก, มิวนิก ประเทศเยอรมนี |
อาชีพ | นักพฤกษศาสตร์ นักวิชาการเกษตร นักสาธารณสุข อาจารย์ |
มีชื่อเสียงจาก | นายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยามคนแรก |
คู่สมรส | คุณผิว ชุมแสง ณ อยุธยา |
บุตร | เภสัชกร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ม.ล. ประนต ชุมแสง และบุตรธิดา รวม 10 คน |
บิดามารดา | หม่อมเจ้าเปล่ง ชุมแสง หม่อมวาศน์ ชุมแสง ณ อยุธยา |
ประวัติ
แก้พระมนตรีพจนกิจ เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโอรสในหม่อมเจ้าเปล่ง ชุมแสง กับหม่อมวาศน์ ชุมแสง ณ อยุธยา เป็นพระนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบิดาประทานนามล้อกับพระนามของ พระองค์เจ้าชายชุมแสง หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา ว่า หม่อมราชวงศ์ชายสรรพศิลปเครือวัลย์ ชุมแสง (M.R. Chaisanpasil kruaivalaya) แต่เมื่อเข้ารับราชการท่านใช้เพียงชื่อสั้นว่า หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง[1]
พระมนตรีพจนกิจ สมรสกับคุณผิว ชุมแสง ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 9 คน
- เภสัชกร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. หม่อมหลวงประนต ชุมแสง หัวหน้าภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบุตรชายคนโต [2]
หม่อมหลวงประนต ชุมแสง สมรสกับเภสัชกรหญิงปทุมมาลย์ โพธิรังสิยากร บุตรีนายกระจ่าง โพธิรังสิยากร กับเจ้าจันทร์แสง ภาคิไนยเจ้าหลวงพิมพิสาร และปนัดดาเจ้าวังขวา (เฒ่า) กับเจ้าปิ่นแก้ว ธิดาเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง เจ้าผู้ครองนครแพร่[3] มีบุตรธิดา 2 คน
พระมนตรีพจนกิจ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2478 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
การศึกษา
แก้พระมนตรีพจนกิจสอบไล่ได้ชั้น 6 ภาคภาษาไทยที่โรงเรียนสวนกุหลาบไทย และภาคภาษาอังกฤษจากโรงเรียนราชวิทยาลัย ได้เข้ารับราชการในกรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการระยะหนึ่ง จึงได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา เกษตรกรรมเขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาณานิคม (tropical agriculture and colonial sciences) ที่เมืองวิทเซนเฮาเซิน (Witzenhausen) ประเทศเยอรมนี และสำเร็จประกาศนียบัตรวิชาพฤกษศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมิวนิก เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี มีผลการเรียนดีเด่น[1][4]
การทำงาน
แก้เมื่อสำเร็จการศึกษา พระมนตรีพจนกิจ กลับมารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการเกษตร สัตวบาล และการต่างประเทศ รวมทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุขระยะเริ่มแรก เช่น ผู้แทนเจ้ากรมพยาบาล ผู้บังคับการโอสถศาลารัฐบาล ผู้อำนวยการพยาบาล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ย้ายโอนมาเป็นอาจารย์ ในตำแหน่งอาจารย์เอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และเจ้าแผนกเฆมิกวิทยา (เคมี)[1] สอนวิชาต่าง ๆ หลายวิชา เช่น พฤกษศาสตร์[4] เคมี วัสดุทางการแพทย์ และเภสัชเวท แก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์และนิสิตแพทยศาสตร์ ระหว่างที่ท่านได้สอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ท่านจึงสนิทสนมกับนิสิตเภสัชศาสตร์รุ่นแรกๆ และด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพปรุงยา พระมนตรีพจนกิจได้เกื้อหนุนให้มีการพบปะชุมนุมกันระหว่างนักเรียนของท่านที่บ้านชุมแสง บ้านของพระมนตรีพจนกิจเอง จนได้กลายมาเป็นสถานที่พบปะของทั้งเภสัชกรและนิสิตเภสัชศาสตร์ในสมัยนั้น ต่อมาบรรดานิสิตเภสัชศาสตร์และเภสัชกรที่มาชุมนุมที่บ้านของท่านเป็นประจำ ขณะนั้นไม่มีกฎหมายใดๆ กำหนดไว้ว่าการประกอบวิชาชีพในร้านยาจำเป็นต้องมีเภสัชกรทำหน้าที่ประจำ คนทั่วไปทั้งที่มีความรู้แต่มิได้เป็นเภสัชกรหรือผู้ที่ไม่รู้ ได้เปิดให้บริการในร้านยาก่อให้เกิดสภาพการปรุงยา ขายยาและโฆษณายา รวมทั้งขายยาเร่ กันอย่างกว้างขวาง ทำให้ราษฎรถูกหลอกลวงและเภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาออกมาในช่วงนั้นประสบปัญหาการว่างงาน แม้ว่าจำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาในเวลาดังกล่าวจะมีไม่มากก็ตาม[5] และแม้จะมี พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 อยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้คุ้มครองวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างจริงจัง บรรดานิสิตเภสัชศาสตร์และเภสัชกรที่มาชุมนุมกันนั้น จึงเกิดความคิดที่จะตั้งสมาคมวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้วิชาชีพมีการพัฒนาทัดเทียมกับในต่างประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยมุ่งหวังที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับที่ได้ร่ำเรียนมา จึงได้มีการก่อตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยามขึ้น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472 โดยมีบ้านชุมแสง เลขที่ 647 ถนนสุริวงษ์ จังหวัดพระนคร เป็นที่ทำการสถาปนาและเป็นสถานที่ทำการของสมาคมแห่งแรก เมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมแล้ว ได้มีการประชุมใหญ่ของเภสัชกรไทยขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2472 ณ บ้านของอาจารย์ A.H. Hale ถนนพระราม 1 ตรงข้ามวัดช่างแสง ในการประชุมครั้งนั้น ทำให้เกิดคณะกรรมการเภสัชกรรมสมาคมชุดแรกประกอบด้วย พระมนตรีพจนกิจ เป็นนายก อาจารย์ A.H. Hale เป็นอุปนายก ขุนสิทธิโอสถ (เสงี่ยม ปานะศุทธะ) เป็นเลขานุการ ขุนเภสัชการโกวิทย์ (เภสัช เอฬกานนท์) เป็นเหรัญญิก อาจารย์จำลอง สุวคนธ์ เป็นปฏิคม[1]
เภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยามภายในการนำของพระมนตรีพจนกิจ ได้ดำเนินการให้ความสำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไป และด้วยเจตนารมณ์ที่จะช่วยคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนมิให้ถูกหลอกหลวง หรือแอบอ้างจากผู้ที่มิได้ร่ำเรียนมา เนื่องจากพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 นั้นกำหนดว่าเฉพาะ “การปรุงยา” เท่านั้นที่เป็นการประกอบโรคศิลปะ โดยไม่ได้ควบคุมในเรื่องของการขายยา การโฆษณายา เภสัชกรรมสมาคมฯ จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการตราและบังคับใช้พระราชบัญญัติเภสัชกรรม มีการพบปะชี้แจงนักการเมืองให้เข้าใจวิชาชีพเภสัชกรรม และให้มีการควบคุมการขายยา โดยเภสัชกรและควบคุมการโฆษณายา กระนั้นพระมนตรีพจนกิจก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติขึ้น โดยท่านได้ฝากฝังศิษย์ในวาระสุดท้ายไว้ว่า[1]
ฉันเป็นห่วงเรื่อง พ.ร.บ. เภสัชกรรมเหลือเกิน ขอให้สามัคคีและช่วยกันทำให้สำเร็จ.... ส่วนเค้าโครงการ หรือวิธีการดำเนินการ ตลอดจนวัตถุประสงค์ของสมาคมตามที่มีอยู่แล้วนั้น ขอจงช่วยกันประคับประคองเดินตามรูปไปให้ได้ อย่าได้ละเลยหรือแตกสามัคคีเสีย...”
ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายใน “พระราชบัญญัติการแพทย์การแพทย์เพิ่มเติม พ.ศ. 2472” จึงกำหนดให้การการจำหน่ายยาเป็นการประกอบโรคศิลปะด้วย และในเวลาต่อมาจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติในที่สุด ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 และ พระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.ศ. 2479 ซึ่งต่อมาเภสัชกรรมสมาคมฯ ได้เสนอให้มีการแก้ไขเป็น พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และ พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537[6]
ลำดับยศและบรรดาศักดิ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- [เมื่อไร?] อำมาตย์โท พระมนตรีพจนกิจ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อนุสรณ์
แก้- รูปปั้นพระมนตรีพจนกิจ ตั้งอยู่ที่เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ห้องพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชายสรรพศิลป์เครือวัลย์ ชุมแสง) (501) อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มูลนิธิพระมนตรีพจนกิจ (ม.ร.ว.ชายสรรพศิลปเครือวัลย์ ชุมแสง) หรือ ทุนพระมนตรีพจนกิจ มอบทุนการศึกษาให้กับคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ทั่วประเทศ
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "บุคคลสำคัญ : อำมาตย์โท พระมนตรีพจนกิจ (ม.ร.ว.ชายสรรพศิลปเครือวัลย์ ชุมแสง) (เผยแพร่ : 20 เมษ. 2554) - วารสารเภสัชกรรมไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
- ↑ "บุคคลสำคัญ : เภสัชกร ศาสตราจารย์. มล. ประนต ชุมแสง (เผยแพร่ : 27 พค. 2557)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
- ↑ เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) หมู่บ้านวังฟ่อน
- ↑ 4.0 4.1 "ประวัติศาสตร์ภาควิชาชีววิทยา เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ กำธร ธีรคุปต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-19. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.
- ↑ รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของบุคคลสำคัญทางด้านเภสัชกรรมไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2535 (The Roles of Thai Pharmacy Leaders, 1932-1992) โดยรองศาสตราจารย์วินนา เหรียญสุวรรณและคณะ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติเภสัชกรรมสมาคมฯ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-07-21.