สถานีย่อย:ปรัชญา
แก้ไข
เบื้องต้นสู่ปรัชญาปรัชญา (อังกฤษ: Philosophy จาก กรีก: φιλοσοφία, philosophia, 'ความรักในปัญญา') เป็นการศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาพื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับการดำรงอยู่ (อภิปรัชญา), เหตุผล (ตรรกศาสตร์), ความรู้ (ญาณวิทยา), คุณค่า (จริยศาสตร์), จิตใจ และ ภาษา Such questions are often posed as problems แหล่งข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคำนี้คิดขึ้นโดยพีทากอรัส (c. 570 – c. 495 ปีก่อนค.ศ.) ในขณะที่บางส่วน ปฏิเสธและเชื่อว่าพีทากอรัสนำคำนี้มาใช้จากคำเดิมที่ปรากฏอยู่แล้ว วิธีวิทยาของปรัชญาประกอบด้วยการตั้งคำถาม, การถกเถียงเชิงวิพากษ์, การถกเถียงด้วยเหตุผล และการนำเสนออย่างเป็นระบบระเบียบ ในอดีต คำว่า "ปรัชญา" หมายรวมถึงความรู้ทุกแขนง ส่วนผู้ศึกษาปรัชญา เรียก นักปรัชญา นับแต่ยุคของแอริสตอเติล นักปรัชญากรีกโบราณ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "ปรัชญาธรรมชาติ" ครอบคลุมวิชาดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างเช่น ตำรา Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica (หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ) ของไอแซก นิวตัน ในปี 1687 เป็นวิชาปรัชญาก่อนที่ภายหลังจะถูกจำแนกเป็นวิชาฟิสิกส์แทน ในศตวรรษที่ 19 ภายหลังการเติบโตของมหาวิทยาลัยวิจัยทำให้ปรัชญาเชิงวิชาการ (academic philosophy) และสาขาวิชาอื่นกลายเป็นอาชีพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น หลังจากนั้นจึงมีหลายวิชาที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแยกออกไป โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ในปัจจุบัน โดยทั่วไปถือว่าปรัชญาประกอบด้วยสาขาย่อยหลักทางวิชาการได้แก่ อภิปรัชญา ซึ่งศึกษาธรรมชาติพื้นฐานของการดำรงอยู่ และ ความเป็นจริง, ญาณวิทยา ซึ่งศึกษาธรรมชาติของความรู้ และ ความเชื่อ, จริยศาสตร์ ซึ่งศึกษาคุณค่าทางศีลธรรม และ ตรรกศาสตร์ ซึ่งศึกษากฎเกณฑ์ของการให้เหตุผลเพื่อสร้างข้อสรุปจากความจริง สาขาย่อยอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักของปรัชญา เช่น ปรัชญาวิทยาศาสตร์, ปรัชญาการเมือง, สุนทรียศาสตร์, ปรัชญาภาษา และ ปรัชญาความคิด เป็นต้น (
แก้ไข
ภาพคัดสรรแก้ไข
โครงการของวิกิมีเดียที่เกี่ยวข้องโครงการพี่น้องวิกิมีเดียต่อไปนี้ ได้เปิดช่องทางเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการนี้:
แก้ไข
ที่มาข้อมูล (ถ้ามี)
|