ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) เป็นสำนักหนึ่งของปรัชญาเฮลเลนนิสติก ก่อตั้งโดยเซโนแห่งซิเทียมในเอเธนส์ เมื่อราวต้น 300 ปีก่อนคริสต์กาล สโตอิกเป็นแนวคิดทางจริยศาสตร์ส่วนบุคคลมีลักษณะมุ่งเน้นระบบของตรรกะและมุมมองต่อโลกธรรมชาติ ตามคำสอนของสโตอิกถือว่ามนุษย์ในฐานะสิ่งมีชีวิตทางสังคมจะมีหนทางสู่ยูไดโมเนีย (eudaimonia; ความสุข) คือการยอมรับชั่วขณะที่มันแสดงตนออกมาเอง โดยการไม่ยอมให้บุคคลถูกควบคุมได้โดยแรงปรารถนาซึ่งความสุขหรือโดยความกลัวต่อความเจ็บปวด โดยใช้จิตใจของบุคคลหนึ่งเพื่อเข้าใจโลก และเพื่อทำหน้าที่ตามส่วนของบุคคลในแบบแผนของธรรมชาติ รวมไปถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นภายใต้ความยุติธรรม

รูปปั้นส่วนหัวของเซโนแห่งซิเทียม ผู้ก่อตั้งลัทธิสโตอิก จากของสะสมฟาร์นีสที่เนเปิลส์
สโตอา ที่มาของชื่อลัทธิสโตอิก (ในภาพคือสโตอาแห่งแอตตาลุสในเอเธนส์

สโตอิกเป็นที่รู้จักมากจากคำสอนว่า "คุณธรรม (virtue) เป็นสิ่งดีสิ่งเดียว (only good)" สำหรับมนุษย์ และสิ่งภายนอกเช่นสุขภาพ ความมั่งคั่ง และความสุข ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ดีหรือเลวร้ายในตัวของมันเอง (อะไดอะฟอรา) แต่มูลค่าในฐานะ "วัตถุเพื่อให้คุณธรรมสามารถเกิดขึ้น/เกิดแก่ได้" ลัทธิสโตอิกและจริยศาสตร์ตระกูลอริสโตเติล รวมกันเป็นหนึ่งในแนวคิดแรก ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับจริยศาสตร์คุณธรรม[1] นอกจากนี้ สโตอิกยังถือว่า อารมณ์ทำลายล้างบางประการ เป็นผลมาจากความผิดพลาดในการติดสิน (errors of judgment) และเชื่อว่ามนุษย์ควรมีเป้าหมายในการดำรงไว้ซึ่งความต้องการ (เรียกว่า ไพรไฮเรซิส) ซึ่ง "เป็นไปตามธรรมชาติ" ดังนั้น สโตอิกจึงเชื่อว่าสิ้งที่เป็นตัวแทนของปรัชญาของบุคคลหนึ่งได้ดีที่สุดไม่ใช่คำที่พูดออกมาแต่คือการกระทำ[2] โดยสรุป ในการจะมีชีวิตที่ดีได้นั้น บุคคลย่อมต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เนื่องมาจากความเชื่อว่าทุกสิ่งดำรงอยู่ในธรรมชาติ

ชาวสโตอิกจำนวนมาก เช่น เซเนกา กับ เอพิเทกทัส เน้นย้ำว่า "คุณธรรมนั้นเพียงพอต่อความสุข" บัณฑิตย่อมมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ (emotionally resilient) ต่อเรื่องร้าย ๆ ความเชื่อนี้คล้ายคลึงกับความหมายของวลี "ความเยือกเย็นแบบสโตอิก" (stoic calm) อย่างไรก็ตามคำนี้ไม่ได้รวมถึงมุมมองของสโตอิกแบบ "จริยธรรมมูลฐาน" (radical ethical) ที่จะมีเพียงบัณฑิตเท่านั้นที่สามารถถือว่าเป็นอิสระและว่า การล้มเหลวทางจริยธรรมล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งอันเสื่อมทรามเหมือนกันหมด[3]

ลัทธิสโตอิกเฟื่องฟูมากในสมัยยุคโรมันโบราณและกรีก-โรมัน กระทั่งราวศตวรรษที่ 3 ถึง 4 ในบรรดาสาวกของลัทธิ เช่น จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส ลัทธิสโตอิกเสื่อมความนิยมลงภายหลังศาสนาคริสต์กลายมาเป็นศาสนาประจำรัฐในศตวรรษที่ 4 อย่างไรก็ตามในยุคถัด ๆ มาได้มีการฟื้นฟูแนวคิดสโตอิกขึ้นมาใหม่ในเรนเนซองส์ (ลัทธิสโตอิกใหม่) และในยุคปัจจุบัน (ลัทธิสโตอิกร่วมสมัย)[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Sharpe, Matthew. "Stoic Virtue Ethics เก็บถาวร 2018-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Handbook of Virtue Ethics, 2013, 28–41.
  2. John Sellars. Stoicism, 2006, p. 32.
  3. Stoicism, Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  4. Becker, Lawrence C. (2001). A New Stoicism. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9781400822447.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ

แก้
  • A. A. Long and D. N. Sedley, The Hellenistic Philosophers Cambridge: Cambridge University Press, 1987.
  • Inwood, Brad & Gerson Lloyd P. (eds.) The Stoics Reader: Selected Writings and Testimonia Indianapolis: Hackett 2008.
  • Long, George Enchiridion by Epictetus, Prometheus Books, Reprint Edition, January 1955.
  • Gill C. Epictetus, The Discourses, Everyman 1995.
  • Irvine, William, A Guide to the Good Life: The Ancient Art of Stoic Joy (Oxford: Oxford University Press, 2008) ISBN 978-0-19-537461-2
  • Hadas, Moses (ed.), Essential Works of Stoicism, Bantam Books 1961.
  • Harvard University Press Epictetus Discourses Books 1 and 2, Loeb Classical Library Nr. 131, June 1925.
  • Harvard University Press Epictetus Discourses Books 3 and 4, Loeb Classical Library Nr. 218, June 1928.
  • Long, George, Discourses of Epictetus, Kessinger Publishing, January 2004.
  • Lucius Annaeus Seneca the Younger (transl. Robin Campbell), Letters from a Stoic: Epistulae Morales Ad Lucilium (1969, reprint 2004) ISBN 0-14-044210-3
  • Marcus Aurelius, Meditations, translated by Maxwell Staniforth; ISBN 0-14-044140-9, or translated by Gregory Hays; ISBN 0-679-64260-9. Also Available on wikisource translated by various translators
  • Oates, Whitney Jennings, The Stoic and Epicurean Philosophers, The Complete Extant Writings of Epicurus, Epictetus, Lucretius and Marcus Aurelius, Random House, 9th printing 1940.

งานค้นคว้า

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:ปรัชญาตะวันตก