จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (ละติน: Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus; ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121[2] – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง โดยมีจดหมายจารึก "Meditation" ที่เป็นหนังสือบันทึกที่จักรพรรดิมาร์กุสเขียนไว้เพื่อเตือนตนเองให้เป็นผู้ปกครองที่ดีเป็นงานชิ้นสําคัญของลัทธิสโตอิกชิ้นหนึ่ง ถึงแม้ว่าว่าจักรพรรดิมาร์กุสจะไม่ได้มีเจตนาจะเผยแพร่สู่สาธารณะ

มาร์กุส เอาเรลิอุส
รูปแกะครึ่งตัวของมาร์กุส เอาเรลิอุส
จักรพรรดิโรมัน
ครองราชย์8 มีนาคม ค.ศ. 161 - ค.ศ. 169
ก่อนหน้าอันโตนีนุส ปิอุส
ถัดไปก็อมมอดุส
จักรพรรดิร่วม
ประสูติราว 26 เมษายน ค.ศ. 121
กรุงโรม[1]
สวรรคต17 มีนาคม ค.ศ. 180
วินโดโบนา หรือ ซีร์มิอุม
พระราชบุตร13 คนรวมทั้ง ก็อมมอดุส
พระนามเต็ม
มาร์กุส ไอลิอุส เอาเรลิอุส เวรุส ไกซาร์
พระรัชกาลนาม
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ มาร์กุส เอาเรลิอุส อันโตนินุส เอากุสตุส
ราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียน
พระราชบิดามาร์กุส อันนิอุส เวรุส
พระราชมารดาโดมิเชีย ลูกิลลา

เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี ค.ศ. 170 ถึง ค.ศ. 180 ที่ยังถือกันว่าเป็นงานชิ้นสำคัญทางวรรณกรรมสำหรับการปกครองของหน้าที่และหน้าที่ที่ได้รับการสรรเสริญในเนื้อหาที่ “exquisite accent and its infinite tenderness”[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "Marcus Aurelius". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
  2. Augustan History, "Marcus Aurelius"
  3. John Stuart Mill in his Utility of Religion, compared Meditations to the Sermon on the Mount

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้