พระกฤษณะ
พระกฤษณะ (สันสกฤต: कृष्ण) หรือเอกสารไทยเรียก พระบรมจักรกฤษณ์ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดู เป็นอวตารองค์หนึ่งของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวทและยังทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดในคัมภีร์พรหมไววรรตปุราณะอีกด้วย
พระกฤษณะ | |
---|---|
![]() รูปปั้นพระกฤษณะที่ศรีมริอัมมันมนเทียร สิงคโปร์ | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | कृष्ण |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Kṛṣṇa |
ชื่อในการทัพศัพท์ภาษาทมิฬ | Kiruṣṇā |
ชื่อในอักษรกันนาดา | ಕೃಷ್ಣ |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษากันนาดา | Kr̥ṣṇa |
ชื่อในภาษาทมิฬ | கிருஷ்ணா |
ส่วนเกี่ยวข้อง | สวายัมภควัน, ปรมัตมาน, พระพรหม, พระนารายณ์, พระวิษณุ, ทศาวตาร, Radha Krishna[1][2] |
วิมาน | โคโลก |
ศึกสำคัญ | สงครามทุ่งกุรุเกษตร |
คัมภีร์ | ภควัทาปุราณะ, Harivamsa, วิษณุปุราณะ, มหาภารตะ (ภควัทคีตา), คีตาโควินทะ |
เทศกาล | กฤษณะจันมาสตามิ, โฮลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | |
บิดา-มารดา | พระนางเทวกี (พระมารดา) พระวสุเทพ (พระบิดา) Rohini Devi (พระมารดาฝากพระครรภ์) นางยโศธา (พระมารดาเลี้ยง) นันทะ บาบา (พระบิดาเลี้ยง) |
พี่น้อง | พระพลราม พระสุภัทรา |
ราชวงศ์ | Somavansha (Yaduvanshi) |
ประวัติของพระนามแก้ไข
คำว่า กฤษณะ เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า ดำ คล้ำ มืด หรือน้ำเงินเข้ม ผู้เป็นเจ้าของความมั่งคั่งและชื่อเสียงทั้งหมดซึ่งใช้พรรณนาบุคคลที่มีสีผิวคล้ำ พระกฤษณะทรงได้รับคำพรรณนาบ่อย ๆ ว่าผิวดำ แต่ในรูปภาพนั้นพระองค์ได้รับการวาดด้วยสีผิวสีน้ำเงินเข้ม มีสัตว์เลี้ยง คือ โคสีขาว
พระประวัติแก้ไข
พระกฤษณะเป็นหลานตาของกษัตริย์ ณ มถุรานคร พระกษัตริย์พระนามว่า ท้าวอุครเสน พระกษัตริย์มีบุตร 2 คน คือ ท้าวกังสะและนางเทวกี นางเทวกีได้สมรสกับพระวสุเทพ ต่อมากังสะกบฏต่อพระบิดา ได้จับท้าวอุครเสนและพี่สาวพี่เขยขังไว้ ฤๅษีนารทมุนีทำนายว่า พระวิษณุจะอวตารมาเกิดเป็นบุตรคนที่แปดของนางเทวกีเพื่อสังหารท้าวกังสะ ท้าวกังสะจึงฆ่าลูกทุกคนของนางเทวกี หลังจากฆ่าหกคนแรกแล้ว คนที่เจ็ดคือพระพลราม เป็นร่างอวตารของพญาอนันตนาคราช พระแม่โยคมายาได้สลับเข้าครรภ์ของนางโรหิณี พระกฤษณะเป็นคนที่แปด พระวสุเทพสามารถลักลอบเอาพระกฤษณะไปฝากให้โคบาลชื่อนันทะและนางยโศธาเลี้ยงในหมู่บ้านโคกุลนอกนครมถุรา ต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นก็ได้สังหารท้าวกังสะและเหล่าอสูรบริวาร ปลดปล่อยท้าวอุครเสน พระวสุเทพ และนางเทวกี ท้าวอุครเสนทรงได้ให้การศึกษาในสำนักฤๅษีสานทีปนี และได้แต่งตั้งพระกฤษณะขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเมืองมถุรา ต่อมาท้าวชราสันธ์ ผู้เป็นพ่อตาของท้าวกังสะ ยกทัพมาหมายแก้แค้นถึง 17 ครั้ง แต่ก็พ่ายแพ้ทุกครั้ง พระกฤษณะเห็นว่าเมืองมถุราไม่เหมาะแก่การรับศึกหนักเป็นเวลานาน จึงไปสร้างเมืองใหม่ที่ดินแดนริมฝั่งทะเลใกล้กับแคว้นกัมโพชชื่อว่า ทวารกา
มหาภารตะแก้ไข
พระกฤษณะเป็นญาติฝ่ายมารดาของฝ่ายปาณฑพ พระกฤษณะได้ช่วยเหลือพี่น้องปาณฑพหลายครั้งหลายหน เช่น ช่วยเป็นประธานในพิธีราชสูยะของยุธิษฐิระ ช่วยภีมะฆ่าท้าวชราสันธ์ ช่วยเหลือพระนางเทราปตีจากการถูกทุหศาสันเปลื้องผ้าส่าหรี และเป็นผู้ถ่ายทอดภควัทคีตาแก่อรชุน เป็นสารถีและเป็นผู้ชี้นำของอรชุนในการปราบแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝ่ายเการพ เช่น ภีษมะ โทรณาจารย์ และ กรรณะ
การตายของพระกฤษณะแก้ไข
หลังจากมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตรสิ้นสุดลง พระกฤษณะครองกรุงทวารกาไปอีก 36 ปี ราชวงศ์ยาทพซึ่งกำลังแย่งชิงอำนาจกันได้ฆ่าล้างราชวงศ์กันเอง พระกฤษณะและพระพลราม ได้หนีเข้าป่าไป พระพลรามสิ้นพระชนม์ใต้ต้นไม้ ส่วนพระกฤษณะทรงเสด็จต่อไป ระหว่างที่พระกฤษณะกำลังนั่งสมาธิ นายพรานชราได้ยิงธนูใส่ข้อเท้าของพระองค์ถึงแก่ความตาย... หลังจากการตายของพระกฤษณะ กรุงทวารกาและเหล่ายาทพทั้งหมดได้จมลงสู่มหาสมุทร กลียุคได้เข้ามาแทนที่ทวาปรยุค
พระชายาของพระกฤษณะแก้ไข
พระชายาเอกแก้ไข
พระชายาองค์อื่นที่ปรากฏนามแก้ไข
พระนามของพระกฤษณะแก้ไข
- มาธวะ (Madhava) แปลว่า ผู้นำมาซึ่งฤดูใบไม้ผลิ
- เกศวะ (Keshava) แปลว่า ผู้มีผมงาม
- หริ (Hari) แปลว่า ผู้กำจัด
- โควินทะ (Govinda) แปลว่า ผู้ให้ความสุขแก่วัว
- ทวารกานาถ,ทวารกาธีศ (Dwarakanath,Dwarkadheesh) แปลว่า ผู้ปกครองแห่งกรุงทวารกา
- กัณหะ (Kanha) เป็นชื่อเรียกของพระกฤษณะในวัยเด็ก
- วาสุเทพ (Vasudeva) เป็นชื่อเรียกตามชื่อพระวสุเทพผู้เป็นบิดา
- โคบาล (Gopala) แปลว่า เด็กเลี้ยงวัว
- มนะโมหนะ (Manamohana) แปลว่า ผู้มีเสน่ห์สูงสุด
คติพราหมณ์ไทยแก้ไข
ในคติพราหมณ์ไทย มีอวตารของพระวิษณุลำดับที่แปดเรียกว่า กฤษณาวตาร[4] หรือ กิศณุอะวะตาล ในหนังสือ นารายณ์สิบปาง ระบุว่า ราพณ์ลงมาบังเกิดเป็นอสูรชื่อ พาณาสูร มีสิบเศียร และยี่สิบมือ ทั้งทรงอาวุธครบทุกมือ กินเมืองรัตนานคร พระนารายณ์จึงอวตารลงมาในวงศ์กษัตริย์นามพระบรมจักรกฤษณ์ มีครุฑเป็นพาหนะ ครองราชสมบัติในเมืองณรังกา แล้วไปสังหารพาณาสูร โดยมีพระพลเทพใช้คันไถช่วยรบด้วย หลังจากนั้นจึงกลับคืนเกษียรสมุทร เนื้อหาสอดคล้องกับพระราชนิพนธ์เรื่อง อุณรุท[5]
การบูชาแก้ไข
ชาวฮินดูในอินเดียปัจจุบัน มีเทศกาลบูชาพระกฤษณะในเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี โดยจะมีการต่อตัวขึ้นไปสูงเหมือนหอคอยมนุษย์ และมีการราดน้ำนมลงพื้นเพื่อเป็นการบูชาอีกด้วย ในฐานะที่พระกฤษณะเคยเป็นเด็กเลี้ยงวัวมาก่อน[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Bryant 2007, p. 114.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKK
- ↑ Raychaudhuri 1972, p. 124
- ↑ "นารายณ์สิบปาง". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ นารายณ์สิบปางและพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ. พระนคร : พระจันทร์, 2510, หน้า 17
- ↑ "ตำนานจานเด็ด 01 กุมภาพันธ์ 2559 วัฒนธรรมอินเดีย". ช่อง 7. 1 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระกฤษณะ |