ปรัชญาวิศวกรรม เป็นระเบียบวิธีที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งพิจารณาว่าวิศวกรรมศาสตร์คืออะไร วิศวกรทำอะไร และผลงานของพวกเขามีผลต่อสังคม รวมถึงแง่มุมของจริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ตลอดจนภววิทยา ญาณวิทยา ฯลฯ ที่อาจศึกษาได้ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ หรือ ปรัชญาเทคโนโลยี

ประวัติศาสตร์ แก้

วิศวกรรม เป็นอาชีพที่มุ่งปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติผ่านการออกแบบ การผลิต และบำรุงรักษาสิ่งประดิษฐ์และระบบเทคโนโลยี ตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจ ธรรมชาติ หัวใจหลักของวิศวกรรม คือ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติทางวิศวกรรม ปรัชญาของวิศวกรรม คือ การพิจารณาประเด็นทางปรัชญาที่ใช้กับศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม รวมถึงความเป็นภววิสัยของประสบการณ์ จริยศาสตร์ของกิจกรรมทางวิศวกรรมในสถานปฏิบัติงานและในสังคม และสุนทรียศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม เป็นต้น

คำว่าวิศวกรรมในอดีต หมายถึง การประดิษฐ์ แต่ความแตกต่างระหว่างงานศิลปะ งานฝีมือและเทคโนโลยียังไม่ชัดเจน คำว่า art (ศิลปะ) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ คำว่า ARS คำว่า craft (งานฝีมือ) มีรากศัพท์มาจากภาษากลุ่มเยอรมัน คือคำว่า kraft ส่วนคำว่า Technology (เทคโนโลยี) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Techne รากศัพท์เดิมจึงหมายถึง ทักษะหรือความสามารถในการผลิตสิ่งที่ตรงข้ามกับการพูด, และความสามารถด้านกีฬา นั่นคือสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ประติมากรรม หรือ อาคาร หรือจับต้องได้น้อยกว่า เช่น ผลงานวรรณกรรม ปัจจุบัน คำว่า ศิลปะ มักนำไปใช้กับสาขาทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดงหรือวรรณกรรม โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าวิจิตรศิลป์ (อย่างเช่น 'ศิลปะการเขียน') งานฝีมือ มักนำไปใช้กับทักษะงานฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นการเย็บปักถักร้อย หรือ เครื่องบิน (อย่างเช่น 'งานฝีมือของการ เรียงพิมพ์ ') และ เทคโนโลยี มีแนวโน้มที่จะหมายถึงผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม (อย่างเช่น 'เทคโนโลยี การพิมพ์ ') ในทางตรงกันข้าม วิศวกรรม คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผ่านการออกแบบและผลิตสิ่งประดิษฐ์ (อย่างเช่น 'วิศวกรรมของเทคโนโลยีการพิมพ์')

จริยศาสตร์ แก้

สิ่งที่ทำให้การออกแบบทางวิศวกรรมแตกต่างจากการออกแบบทางศิลปะ คือ ข้อกำหนดสำหรับวิศวกรในการคาดการณ์เชิงปริมาณของพฤติกรรมและผลกระทบของสิ่งประดิษฐ์ก่อนดำเนินการผลิต การคาดการณ์ดังกล่าวอาจมีความแม่นยำมากหรือน้อย แต่โดยปกติจะรวมถึงผลกระทบต่อบุคคลและสังคมด้วย ในทางสังคมวิศวกรรมถือได้ว่าเป็นข้อบังคับทางเทคโนโลยี และไม่เพียงตัดสินในเชิงเจาะจงว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นทำงานได้หรือไม่ แต่ยังรวมถึงอิทธิพลที่มีต่อสังคมและการมีคุณค่าทางสังคมอีกด้วย สิ่งที่วิศวกรทำขึ้นอยู่กับการประเมินคุณค่าทางศีลธรรม [1]

การสร้างแบบจำลอง แก้

ระบบทางเทคนิคและสังคม เช่น ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยองค์ประกอบของมนุษย์และสิ่งประดิษฐ์ เทคนิคการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และกายภาพแบบดั้งเดิมอาจไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของวิศวกรรมที่มีต่อผู้คนและวัฒนธรรมอย่างเพียงพอ [1] [2] สาขาวิศวกรรมโยธาพยายามอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างอาคารตรงตามโครงการและความต้องการอื่น ๆ ก่ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการก่อสร้างจริง วิธีการที่ใช้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อการวิเคราะห์และการออกแบบ การสร้างแบบจำลองและคำอธิบายระบบ ใช้ความพยายามในการแยกหลักการทั่วไปที่ไม่ได้ระบุไว้เบื้องหลังวิธีการทางวิศวกรรม

วงจรของการผลิต แก้

สาขาวิศวกรรมแบบดั้งเดิมดูเหมือนไม่ต่อเนื่อง แต่วิศวกรรมของสิ่งประดิษฐ์มีผลกระทบที่ขยายออกไปนอกเหนือจากสาขาวิชาดังกล่าวไปสู่สาขาที่รวมถึงจิตวิทยา การเงิน และ สังคมวิทยา จากนั้นการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ใด ๆ จะคำนึงถึงเงื่อนไขที่จะผลิตขึ้น เงื่อนไขที่จะใช้ และเงื่อนไขที่จะดำเนินการจัดการ วิศวกรสามารถพิจารณาปัญหา "วงจรชีวิต" ดังกล่าวได้โดยไม่สูญเสียความแม่นยำและความเข้มงวดที่จำเป็นในการออกแบบระบบการทำงาน [1]

ดูเพิ่มเติม แก้

  • คาร์ล มิตแชม
  • Henry Petroski
  • ปรัชญาเทคโนโลยี
  • ปรัชญาวิทยาศาสตร์
  • จริยธรรม
  • จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

สิ่งพิมพ์ แก้

หนังสือ แก้

บทความ แก้

  • Philosophy in the Making เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Natasha McCarthy Ingenia March 26, 2006
  • Creed M.J. (1993) "Introducing Structures in a Modern Curriculum", Proceedings of the Conference, Innovation and Change in Civil Engineering Education, The Queen's University of Belfast
  • Davis, M. (2001) The Professional Approach to Engineering Ethics: Five Research Questions, Science and Engineering Ethics 7 (July 2001): 379-390.
  • Lewin D (1981) Engineering Philosophy - The Third Culture, Paper to the Royal Society, UK
  • Mitcham C. (1994), "Engineering Design Research and Social Responsibility", Ethics of Scientific Research, pp. 153–196 and 221-223
  • Hess, J.L. and Fore, G., (2018). "A systematic literature review of US engineering ethics interventions", Science and Engineering Ethics, 24(2), pp.551-583.
  • Mitcham, C. and Englehardt, E.E., 2019. "Ethics across the curriculum: Prospects for broader (and deeper) teaching and learning in research and engineering ethics", Science and Engineering Ethics, 25(6), pp.1735-1762.

หมายเหตุและข้อมูลอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "2nd Philosophy of Engineering Seminar Information" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-22.
  2. Engineering Models Retrieved May 2018

เชื่อมโยงภายนอก แก้