วิจิตรศิลป์ (อังกฤษ: fine art) เป็นศิลปะที่พัฒนาขึ้นเพื่อสุนทรียภาพหรือความงามเป็นหลัก ต่างจากศิลปะประยุกต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น เครื่องปั้นดินเผาหรืองานโลหะส่วนใหญ่

ภาพแร็มบรันต์ ช่วง ค.ศ. 1665–1669 สีน้ำมันบนผ้าใบ

ในอดีต วิจิตรศิลป์มีห้าแขนงหลัก ประกอบด้วย จิตรกรรม, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, ดนตรี และกวีนิพนธ์ กับศิลปะการแสดง ได้แก่ การละครและการเต้นรำ[1] รวมไปถึงภาพต้นแบบเก่าและการวาดเส้นนับว่าเป็นจิตรกรรม เช่นเดียวกับวรรณคดีรูปแบบร้อยแก้ว ที่นับว่าเป็นกวีนิพนธ์ ในปัจจุบัน วิจิตรศิลป์โดยทั่วไปจะรวมถึงรูปแบบที่ทันสมัยด้วย เช่น ภาพยนตร์, การถ่ายภาพ, การสร้างวิดีโอ/การลำดับภาพ, การออกแบบ และศิลปะเชิงแนวคิด

คำจำกัดความของคำว่า วิจิตรศิลป์ คือ "ทัศนศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุนทรียภาพและสติปัญญาโดยตัดสินจากความงามและความหมายเป็นหลัก โดยเฉพาะ จิตรกรรม, ประติมากรรม, การวาดเส้น, การระบายสีน้ำ, กราฟิก และสถาปัตยกรรม"[2] ในความหมายมีความแตกต่างระหว่างวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ ตามที่เข้าใจกันมาแต่เดิม และเป็นที่เข้าใจกันในยุคปัจจุบันคือ การรับรู้คุณภาพความงามต้องใช้วิจารณญาณกลั่นกรอง หรือมีรสนิยมดี ซึ่งแตกต่างจากศิลปะนิยมและการบันเทิง[3]

อ้างอิง แก้

  1. The Project Gutenberg EBook of Encyclopædia Britannica. Vol. 10 (11 ed.). 1911.
  2. "Fine art | Define Fine art at Dictionary.com". Dictionary.reference.com. สืบค้นเมื่อ 2014-03-13.
  3. "Aesthetic Judgment". The Stanford Encyclopedia of Philosophy. 22 July 2010.

อ่านเพิ่มเติม แก้