วิกิพีเดีย:คุณช่วยเราได้

วิกิพีเดีย มีงานที่น่าสนใจมากมาย ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วม ไม่ว่าจะเริ่มจากเขียนบทความเรื่องราวที่ชอบ ช่วยตรวจสอบบทความที่มีการเขียนแล้ว ช่วยลิงก์แต่ละบทความเข้าด้วยกัน ช่วยวาดรูปใส่เพิ่มเติมในบทความ ช่วยเขียนโปรแกรม หรือแม้แต่ช่วยบอกต่อคนรู้จัก การเขียนในวิกิพีเดียนอกจากจะหาผู้อื่นที่สนใจเรื่องเดียวกันแล้ว ยังได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องราวรอบตัวมากมาย ลองดูด้านล่างว่าคุณช่วยอะไรเราได้บ้าง หรืออาจจะดูส่วนประกอบของวิกิพีเดียได้

ช่วยเขียน เนื้อหาสารานุกรม

สิ่งที่สำคัญที่สุดของวิกิพีเดีย คือเนื้อหาสารานุกรมจำนวนมาก และมีคุณภาพสูงควบคู่กัน

คุณสามารถช่วยได้ดังนี้

ช่วยตรวจสอบ และเพิ่มคุณภาพของเนื้อหา

ดูวิธีการตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพที่ โครงการเก็บกวาดวิกิพีเดีย

เพิ่มคุณภาพ

  • แก้ไขบทความที่สั้นมาก ใน รายชื่อบทความที่สั้นมาก หน้าที่สั้นมาก ๆ บางครั้งอาจไม่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เลย เช่น ชื่อหัวข้อ การทดสอบ หรือข้อความไร้สาระ ถ้าคุณทำได้ อาจจะช่วยเขียนบทความนั้นเพิ่ม หรือพิจารณาแจ้งลบบทความนั้น
    • การมีบทความสั้นมาก ทำให้โอกาสที่คนจะช่วยเพิ่มเติมบทความลดลงด้วย คนหลายคนมักจะคิดว่ามีบทความนั้นอยู่แล้วจึงไม่เข้าไปช่วยเขียน
  • ตรวจสอบบทความที่ยาวมาก ใน รายชื่อบทความที่ยาวมาก บทความที่ยาวมาก ๆ มักจะอ่านยาก มีลักษณะเหมือนกับตำราเรียน แทนที่จะเป็นสารานุกรม และทำให้การอ้างอิง หรือลิงก์จากบทความอื่นไม่สะดวก บทความที่ยาวมาก อาจปรับปรุงโดยการแตกออกเป็นบทความใหม่
    • หลาย ๆ ครั้งจะพบได้ว่า บทความที่ยาวมากมักจะเป็นการคัดลอกเนื้อหาจากแหล่งอื่นมาใส่ในวิกิพีเดียโดยตรง ไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมักจะผิดลิขสิทธิ์ หรือไม่คุณภาพของบทความต่ำ เช่น ไม่ได้จัดหน้าให้สวยงาม ไม่มีการเชื่อมโยงไปหัวข้ออื่น รวมถึงเนื้อหาที่ไม่เป็นกลาง

เชื่อมโยงบทความ

เอกลักษณ์และข้อโดดเด่นของวิกิพีเดียเปรียบเทียบกับสารานุกรมทั่วไปคือ บทความแต่ละบทความสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ผู้อ่านสามารถศึกษาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน การพัฒนาการช่วยเชื่อมโยงบทความ ก็เป็นการช่วยพัฒนาวิกิพีเดียทางหนึ่งเช่นกัน

  • เพิ่มจุดเชื่อมโยงในบทความต่าง ๆ ดูว่ามีคำหรือวลีสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงไปหาบทความอื่นได้หรือไม่ แล้วเปลี่ยนคำหรือวลีนั้นให้เป็นจุดเชื่อมโยง หรือ ลิงก์
  • เชื่อมโยงบทความอื่นไปที่บทความใน หน้าที่โยงไปไม่ถึง หรือ รวมบทความที่โยงไปไม่ถึง บทความเหล่านี้ไม่มีหัวข้ออื่น ๆ โยงไปหา ซึ่งถ้าผู้ใช้วิกิพีเดียไม่ทราบชื่อ (และตัวสะกดที่ถูกต้อง) ของบทความเหล่านั้น ก็จะไม่มีทางหาหัวข้อเหล่านั้นเจอได้เลย คุณอาจจะพิจารณาหาหัวข้ออะไรก็ได้ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านั้น แล้วเพิ่มลิงก์เชื่อมสองหัวข้อเข้าด้วยกัน
  • เพิ่มหรือแก้ไขลิงก์ไปบทความเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่นในวิกิสนเทศ โดยคลิก "เพิ่มลิงก์ข้ามภาษา" ในล่างสุดของแถบฝั่งซ้ายมือ แล้วเพิ่มชื่อหน้า/บทความนั้นตามวิกิพีเดียภาษาอื่น เมื่อเพิ่มแล้วจะเชื่อมโยงกับทุกภาษาอัตโนมัติ

จัดหมวดหมู่

การจัดหัวข้อเข้าหมวดหมู่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาหัวข้อที่ใกล้เคียงกับที่สนใจได้ง่ายขึ้น การจัดหมวดหมู่ก็เป็นหัวใจสำคัญอีกข้อหนึ่งในการพัฒนา วิกิพีเดีย

  • ลองจัดหัวข้อที่ไม่ได้จัดเข้าหมวดหมู่ ใน รายชื่อบทความที่ไม่มีหมวดหมู่ ลองพยายามจัดตามความเหมาะสมหรืออาจจะดูตัวอย่างจากหัวข้อเดียวกันในภาษาอื่นก็ได้
  • ลองจัด หมวดหมู่ย่อยที่ยังไม่ได้ถูกจัดลงในหมวดหมู่ใหญ่ ใน รายชื่อหมวดหมู่ย่อยที่ไม่มีหมวดหมู่ ลองพยายามจัดหมวดหมู่เหล่านี้เข้ากลุ่มดู
  • ไม่ต้องกลัวที่จัดหมวดหมู่ผิด บางครั้งการจัดหมวดหมู่อาจจะผิดไปบ้างหรือไม่เข้ากลุ่ม หมวดหมู่สามารถแก้ไขง่ายและแก้ไขได้ทันทีเหมือนการเขียนบทความ
  • ดูหมวดหมู่ทั้งหมดที่ รายชื่อหมวดหมู่ทั้งหมด

ตรวจสอบภาษา

  • ปรับปรุงให้เนื้อหาอ่านง่ายขึ้น
    • แก้ตัวสะกด การใช้ภาษา ไวยากรณ์ และเครื่องหมายวรรคตอน
    • จัดรูปแบบอักษร ย่อหน้า โครงสร้างของบทความ ฯลฯ เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้อง

  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น วันที่ จำนวนตัวเลขต่าง ๆ
  • ตรวจสอบลิงก์ต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่
    • จุดเชื่อมโยงหัวข้อเดียวกันในภาษาอื่น (ลิงก์ข้ามภาษา) - ในบางครั้งอาจจะโยงผิดไปหาคำที่มีคนละความหมาย หรือโยงไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่จริง
    • แก้บทความที่กำกวม โดยการแก้ไขลิงก์จากบทความต้น ให้ลิงค์ไปหาบทความที่ถูกต้อง ดูบทความที่กำกวมทั้งหมด
      • จุดเชื่อมโยงบทความภายในวิกิพีเดีย (วิกิลิงก์) - ในบางครั้งอาจจะโยงผิดไปหาคำ ๆ เดียวกันที่มีความหมายอื่น (คำกำกวม) เช่น คุกกี้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือคุกกี้ที่เป็นของหวาน
    • แหล่งข้อมูลอื่น ตรวจสอบดูว่าลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่ยังใช้งานได้หรือไม่และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง

ช่วยแจ้งลบสื่อที่ไม่ได้ใช้ในวิกิพีเดีย

  • ภาพใน หัวข้อรวมรูปที่ไม่ได้ใช้ เป็นภาพที่ไม่ได้ถูกใช้โดยหัวข้อใดในวิกิพีเดียเลย เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่ คุณอาจจะพิจารณาแจ้งลบภาพเหล่านี้ โดยอาจจะสอบถามผู้อัพโหลดภาพนั้นก่อนที่จะทำการแจ้งลบ

ช่วยโฆษณา ประชาสัมพันธ์

ถ้าคุณได้ลองใช้ดูซักระยะ จะเห็นว่าวิกิพีเดียนั้นมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อทุกคน ทำไมไม่ลองบอกต่อละ ไม่ว่าจะ

  • ชักชวนเพื่อนๆ คนรู้จัก และญาติ ๆ ให้เข้ามาอ่าน
  • โฆษณา และอ้างถึงวิกิพีเดียในเว็บบอร์ดต่า งๆ หรือบล็อกของตัวเอง
  • ชักชวนผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การแพทย์ หรือแม้แต่แฟนการ์ตูนหรือวิดีโอเกม ให้เข้ามาร่วมเขียนบทความ
  • ลองดูบทความที่มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียจากสื่อต่าง ๆ ได้ที่ เพื่อนวิกิพีเดีย

ช่วยเหลือผู้ใช้รายอื่น

วิกิพีเดียไม่เพียงแต่เป็นสารานุกรม วิกิพีเดียยังเป็นสารานุกรมของชุมชน งานเขียนทุกงานสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของทุกคน มีหลายคนที่ใช้วิกิพีเดียและมีคำถาม ซึ่งทุกคนสามารถ

  • ช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำผู้ใช้อื่นที่หน้า แผนกช่วยเหลือ
  • ช่วยตอบคำถามผู้อ่านในหน้า ปุจฉา-วิสัชนา
  • จัดเตรียมคู่มือการใช้หน้าแนะนำต่าง ๆ โดยเขียนเพิ่มหรือแปลจากภาษาอังกฤษ
  • แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าบทความ ในหน้าพูดคุยของแต่ละบทความ หรือในหน้าศาลาชุมชน

ช่วยพัฒนาระบบโปรแกรมของวิกิพีเดีย

  • ช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยการแปลข้อความที่ปรากฏบน หน้าจอ เมนู หรือหัวข้อหลัก ของวิกิพีเดียเป็นภาษาไทย ลองดู ข้อความของระบบทั้งหมด
  • ช่วยพัฒนา มีเดียวิกิ (ซอฟต์แวร์ที่เป็นหัวใจหลักของสารานุกรมวิกิพีเดีย) โดยการช่วยแปลข้อความ รวมถึงการใช้งานของ โปรแกรมมีเดียวิกิ โดยอาจจะลองทดสอบ ดาวน์โหลดมาใช้ และรายงานปัญหาที่พบหรือเสนอความคิดเห็นได้

ไม่รู้จะเริ่มแก้ที่ไหนก่อนดี ลองแวะไปที่ ศาลาประชาคม ปุจฉา-วิสัชนา สุ่มหัวข้อ ดูรายชื่อบทความทั้งหมด หรือ รายชื่อหมวดหมู่ทั้งหมด

ประมวลความต้องการให้ช่วยเหลือในปัจจุบัน

 

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้