ชนวัว หรือ กีฬาชนโค[1] เป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคใต้ สำหรับในประเทศไทยอาจเป็นความนิยมที่เริ่มมาจากการเลี้ยงวัวไว้บริโภคของชาวมุสลิม[1] แต่พื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ปรากฏความนิยมอยู่บ้างเช่นกัน ซึ่งการแข่งเพื่อความสนุกสนานนี้อาจมีให้พบเห็นได้จนถึงประเทศลาว[2] การแข่งขันกระทำโดยการปล่อยวัวหนุ่มที่แข็งแรงให้พ้นจากคอก ให้วัวผู้ทั้งสองฝ่ายตรงรี่เข้าปะทะกัน ใช้พละกำลังและอาวุธคือเขาเข้าต่อสู้ สัตว์ทั้งสองต้องใช้กำลังยืนหยัดต่อสู้ไม่ยอมถอยเพื่อชัยชนะ ส่วนใหญ่ของผู้ชมที่รายรอบรอชมการชนวัวนั้น ล้อมรอบกันแน่นขนัดก็เพื่อต้องการเห็นชัยชนะและกำลังความแข็งแกร่งของวัวผู้ตัวที่ชนะ บางคนก็เลือกที่จะชมร่างกายที่สวยงามของวัวซึ่งเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตประจำวันของพวกเขา แต่ส่วนใหญ่มักเพิ่มการพนันขันต่อ เพื่อเพิ่มการลุ้นและการเชียร์วัวตัวที่ชอบได้มากยิ่งขึ้น วัวที่นิยมใช้แข่งขันเป็นวัวที่มีรูปร่างบึกบึนกำยำ เขา ส่วนหัว ลำตัว และขาหน้า ต้องแข็งแรง เมื่อวิ่งเข้าปะทะหัวชนกัน เสียงดังสนั่น เมื่อตัวใดตัวหนึ่งไม่ยอมถอยหรือวิ่งหนี ก็ต้องชนกันจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดแรงหรือได้รับบาดเจ็บจนพ่ายแพ้ไป ลานชนโค[1][3]นิยมใช้ลานดินที่กว้างและทำคอกล้อมหรือทำให้มีคันดินล้อมรอบไว้เป็นสนาม

แสดงภาพกีฬาชนวัว

การชนวัวมักเล่นเป็นการพนันเช่นเดียวกับการเล่นการแข่งขันกีฬาไก่ชน

ข้อมูลแหล่งอ้างอิง แก้