โคลงทวาทศมาส
โคลงทวาทศมาส เป็นนิราศที่มีความพิเศษกว่านิราศเรื่องอื่น ๆ เพราะในตัวนิราศโคลงทวาทศมาสเอง มีการหยิบยกเอาการดำเนินชีวิตของประชาชนในอดีตมาประกอบเป็นเนื้อเรื่องด้วย ซึ่งการแต่งในลักษณะดังกล่าวถือเป็นการพัฒนาที่ดีขึ้นของวรรณคดีไทย โคลงทวาทศมาสมีลักษณะเป็นนิราศ แต่ที่เรียกโคลงทวาทศมาสเพราะว่าใช้โคลงดั้นในการแต่ง
การกำเนิด
แก้ทวาทศมาส แปลว่า สิบสองเดือน เป็นวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยา แต่งด้วยโคลงดั้นวิวิธมาลี ทำนองนิราศความพิศวาสเป็นอย่างเอกเรื่องหนึ่ง เข้าใจว่าจะมีหลายท่านนิพนธ์ อาทิ พระเยาวราช ขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกวีราช ขุนสารประเสริฐ เป็นต้น (บางตำราว่ามีเท่านี้ บางตำราว่ามากกว่านี้ แต่ในนิราศนรินทร์กลับว่า "สามเทวษ ถวิลแฮ" ซึ่งแปลว่า "มีสามท่าน") ที่เป็นว่าประดิษฐการใหม่ของวงการอยู่ที่โคลงพรรณนาความอาลัยรัก ซึ่งใช้ฤดูกาลเป็นพื้นฐานแห่งการพัฒนา เช่น เมื่อถึงเดือนแปดก็กล่าวถึงวันเข้าพรรษา กวีจะแต่งถึงการทำบุญ แต่มิวายจิตใจหวนระลึกถึงนางอันเป็นที่รัก
ตัวอย่าง
แก้(ต่อจากนี้เป็นข้อความในหนังสือประวัติวรรณคดีไทย ของเปลื้อง ณ นคร)
๏ กรจบบทมาศไท้ | ธาศรี ศากยแฮ | |
หัตถ์บังคมฟูมไนย | เลือดย้อย | |
บวงสรวงสุมาลี | นานไฝ่ สมแฮ | |
เดือนใฝ่หาละห้อย | ใฝ่หา ฯ |
๏ รายนุชเป็นเนตรล้า | เป็นองค พี่แม่ | |
จับจึงมาข่มเข็ญ | ขึ้นไส้ | |
รลวงพิไลจง | จักแม่ ดยวแม่ | |
เดือนแปดแปดยามไห้ | ร่ำโหย ฯ |
ในการนิพนธ์นั้น เริ่มด้วยการไหว้พระพรหม พระนารายณ์ เทพยดา พระมหากษัตริย์ แล้วเริ่มกล่าวถึงนางที่รัก อันต้องจากไกล แล้วพรรณนาอาลัย ตั้งแต่เดือน 5 เป็นลำดับไป การพรรณนารักนั้นเคล้าไปกับอากาศธาตุและเหตุการณ์ต่าง ๆ อันเกิดขึ้นในเดือนนั้น ๆ เมื่อครบสิบสองเดือนแล้วจึงพรรณนาพระเกียรติยศ กล่าวถวายพระพรและแสดงความมุ่งหมายในการนิพนธ์
กระบวนการพรรณนาอาลัยรักนับว่าสูงทางกวีรส คือ กวีที่มีความนัยอันพิศวาศ ซึ่งเป็นแบบอย่างให้กวีรุ่นหลังนำไปใช้
ด้านสำนวนโวหารมีความยอดเยี่ยม แม้จะมีถ้อยคำอันเป็นโบราณหลายคำ และ ภาษาอื่น เช่น เขมร บาลี สันสกฤต จึงยากที่จะเข้าใจได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะสันนิษฐานเอา