พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[1]
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยามานวราชเสวี
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าพระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ)
พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์)
สงวน จูฑะเตมีย์
ถัดไปคณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2492[2]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าคณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[3]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ประธานอภิรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2492[4]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระองค์เอง
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ถัดไปพระองค์เอง
ประสูติ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์7 มีนาคม พ.ศ. 2494 (65 ปี)
วังถนนวิทยุจังหวัดพระนคร ประเทศไทย
หม่อมหม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา
พระบุตร
ราชสกุลรังสิต
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5
ลายพระอภิไธย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469
พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494
ชั้นยศพลเอก

พระประวัติ

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428[5] วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 หลังประสูติได้ 11 วัน พระมารดาก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์มาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า[6]"...ให้มาเป็นลูกแม่กลาง..." สมเด็จพระบรมราชเทวีก็ทรงรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ไว้ในอุปการะ โดยทรงเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชันษาใกล้เคียงกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ประสูติปี พ.ศ 2421 เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2442[7] จากนั้นทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก โดยมีพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นการส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร"[8] เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2458 ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร

พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำกองมหันตโทษ รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์[9] แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2487 ในสมัยรัฐบาลของพันตรีควง อภัยวงศ์[10]

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[11] ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ์ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

เสกสมรส

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสกสมรสกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์; ชื่อภาษาอังกฤษ: Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นองค์ต้นราชสกุลรังสิต มีพระโอรส 2 องค์ และพระธิดา 1 องค์ ได้แก่[12][13]

  • หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ
    • หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต สมรสกับมิทเชล แอลแลนด์

ต่อมาทรงหย่ากันและเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ปัจจุบันคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) มีพระธิดาร่วมกัน 2 คน ได้แก่

    • หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต สมรสครั้งแรกกับสวนิต คงสิริ มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • ปินิตา คงสิริ
      • นิตินันท์ คงสิริ

ต่อมาสมรสใหม่กับวิลเลียม บี.บูธ มีบุตร 1 คน คือ

ต่อมาสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล

และมีหม่อม 1 คน คือหม่อมพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) มีโอรสร่วมกัน 1 คน คือ

    • หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต
  • หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับอามีเลีย มอนตอลติ (ไม่มีบุตรด้วยกัน) และเสกสมรสใหม่กับหม่อมนาลินี รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขนิล) มีบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์สนิธ รังสิต สมรสกับสมใจ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เลิศสุวรรณ)
    • หม่อมราชวงศ์จารุวรรณ รังสิต สมรสกับอเล็กซานเดอร์ ซูรซก มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • อเล็กซานเดอร์ คิม ซูรซก
      • แคทเธอรีน ไอช่า ซูรซก
    • หม่อมราชวงศ์สายสนิธ รังสิต สมรสกับปิยะลักษณ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เป้าเปรมบุตร)
    • หม่อมราชวงศ์วลัยลักษณ์ รังสิต สมรสกับไบรอัน คริสโตเฟอร์ โกเดต์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
      • เอมี มาริสสา โกเดต์
      • แองเจลา กัลยาณี โกเดต์
  • ท่านผู้หญิงจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์ (พระนามเดิม หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต) กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส[14]กับเฉลิม บูรณะนนท์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
    • จามิกร บูรณะนนท์ สมรสกับเจน แอนโดรส มีบุตรสองคน ได้แก่
      • กัลยาณี แคทรีน บูรณะนนท์
      • ชัยยา คริสโตเฟอร์ บูรณะนนท์
    • ฉันทกะ บูรณะนนท์ สมรสกับซิลเวีย ซีสนิส มีบุตร 1 คน คือ
      • ฉันทกะ บูรณะนนท์ Jr.

พระกรณียกิจ

แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย

ลำดับการดำรงตำแหน่ง

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)[8]
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[17] - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
  • นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา (ถอดพระอิสริยยศ; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487)[9]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (คืนพระอิสริยยศ; 20 กันยายน พ.ศ. 2487 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)[10]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 28 มกราคม พ.ศ. 2495)[24] โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร” สิงหนาม ทรงศักดินา 15000 ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร”

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระสมัญญานาม

แก้
  • พระบิดาแห่งเภสัชกรรมไทย[38][39]

พระยศ

แก้

พระยศทหาร

แก้
  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2454: นายร้อยโทพิเศษ[40]
  • นายพันตรี
  • นายพันโทพิเศษ ประจำกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[41]
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2493: พลเอก นายทหารพิเศษประจำกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[42]

พระยศพลเรือน

แก้
  • 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2460: มหาอำมาตย์โท[43]

พระยศเสือป่า

แก้
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2458: นายหมวดโท[44]
  • นายกองตรี
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460: นายกองโท[45]

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้ง คณะอภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์เลาะวัง. กรุงเทพฯ : โชคชัยเทเวศร์ (1988), 2535. 416 หน้า. ISBN 974-420-045-6
  7. เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี
  8. 8.0 8.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม 31, ตอน 0ง, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457, หน้า 1835
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และบรรดาศักดิ์, เล่ม 56, ตอน 0 ง, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ,หน้า 2617
  10. 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา กลับดำรงฐานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิม, เล่ม 61, ตอน 59 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 848
  11. ข่าวสิ้นพระชนม์
  12. HRH Prince RANGSIT PRAYURASAKDI
  13. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต), เล่ม 62, ตอน 39 ง, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2488, หน้า 1113
  15. ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
  16. ประกาศตั้งกรมสาธารณสุขและตั้งอธิบดีกรมสาธารณสุข ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 35 หน้า 302 วันที่ 8 ธันวาคม 2461
  17. 17.0 17.1 "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 310–313. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
  19. ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 200 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 64, ตอน 54 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490, หน้า 688
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมขุนชัยนาทนเรนทร), เล่ม 67, ตอน 18 ก, 28 มีนาคม พ.ศ. 2493, หน้า 398
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร) เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 67, ตอน 32 ก, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493, หน้า 644
  24. ราชกิจจานุเบกษา, การสถาปนาพระราชวงศ์, เล่ม 67, ตอน 69, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493, หน้า 490
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร, เล่ม 69, ตอน 7 ก, 29 มกราคม พ.ศ. 2495, หน้า 77
  26. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  27. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27 ง): หน้า 1995. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  28. "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 36 (ตอน 0 ง): หน้า 2406. 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  29. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าทองลงยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 69 (ตอน 7 ง): หน้า 310. 29 มกราคม พ.ศ. 2495. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  30. "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38 (ตอน 0 ง): หน้า 2893. 8 มกราคม พ.ศ. 2464. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  31. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 22 ง): หน้า 1621. 18 เมษายน พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  32. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0): 3310. 25 มกราคม พ.ศ. 2462. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  34. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3095. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  35. "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 2438. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  36. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 2959. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  37. "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  38. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552
  39. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
  40. พระราชทานยศนายร้อยโท
  41. พระราชทานยศนายพันโท
  42. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๙๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๖๐
  44. พระราชทานนายหมวดโท
  45. พระราชทานนายกองโท

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ถัดไป
ปรีดี พนมยงค์    
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 , 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2494)
  พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)