เภสัชวิทยา
เภสัชวิทยา (อังกฤษ: Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา,[1] การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา[2][3][4]
การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ทั้งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยานั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกต์ใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา
ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์[5] โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง[6] แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก[7] โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน[8] ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1847 โดยรูดอล์ฟ บูคไคม์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงผลของยาที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรคและการเกิดพิษจากยาเหล่านั้น[7]
ในช่วงแรกของการศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาสารที่ได้จากธรรมชาติเป็นหลัก โดยส่วนคือสารสกัดที่ได้จากพืช แต่หลังจากการพัฒนาทางด้านชีวการแพทย์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการปรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยาในห้องปฏิบัติการไปในการบำบัดรักษาโรคเพิ่มมากขึ้น[9] ในปัจจุบัน เภสัชกรในฐานะผู้ศึกษาหลักด้านเภสัชวิทยาใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพันธุศาสตร์ อณูชีววิทยา เคมีและเครื่องมือขั้นสูงอื่น ๆ เพื่อแปลงข้อมูลระดับโมเลกุลหรือกำหนดเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาระดับโมเลกุลเพื่อการบำบัดรักษาและควบคุมโรค ข้อบกพร่องของร่างกายหรือเชื้อก่อโรคที่จำเพาะ รวมไปถึงการสร้างวิธีการในการดูแลป้องกัน การวินิจฉัย และการพัฒนายาเพื่อการรักษาในระดับบุคคล (personalized medicine)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- American Society for Pharmacology and Experimental Therapeutics
- British Pharmacological Society
- Pharmaceutical company profiles at NNDB
- International Conference on Harmonisation
- US Pharmacopeia
- International Union of Basic and Clinical Pharmacology
- IUPHAR Committee on Receptor Nomenclature and Drug Classification เก็บถาวร 2019-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ Vallance P, Smart TG (January 2006). "The future of pharmacology". British Journal of Pharmacology. 147 Suppl 1 (S1): S304–7. doi:10.1038/sj.bjp.0706454. PMC 1760753. PMID 16402118.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Definition and classification of Drug or Pharmaceutical Regulatory aspects of drug approval เก็บถาวร 2017-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed 30 December 2013.
- ↑ US Federal Food, Drug, and Cosmetic Act, SEC. 210., (g)(1)(B). เก็บถาวร 2009-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed 17 August 2008.
- ↑ Directive 2004/27/EC of the European Parliament and of the Council of 31 March 2004 amending Directive 2001/83/EC on the Community code relating to medicinal products for human use. Article 1. Published 31 March 2004. Accessed 17 August 2008.
- ↑ Brater DC, Daly WJ (May 2000). "Clinical pharmacology in the Middle Ages: principles that presage the 21st century". Clin. Pharmacol. Ther. 67 (5): 447–50. doi:10.1067/mcp.2000.106465. PMID 10824622.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Mannfred A. Hollinger (2003)."Introduction to pharmacology". CRC Press. p.4. ISBN 0-415-28033-8
- ↑ 7.0 7.1 Rang HP (January 2006). "The receptor concept: pharmacology's big idea". Br. J. Pharmacol. 147 Suppl 1 (S1): S9–16. doi:10.1038/sj.bjp.0706457. PMC 1760743. PMID 16402126.
- ↑ Maehle AH, Prüll CR, Halliwell RF (August 2002). "The emergence of the drug receptor theory". Nat Rev Drug Discov. 1 (8): 637–41. doi:10.1038/nrd875. PMID 12402503.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Rang, H.P.; M.M. Dale; J.M. Ritter; R.J. Flower (2007). Pharmacology. China: Elsevier. ISBN 0-443-06911-5.