ภูมิศาสตร์การเมือง

ภูมิศาสตร์การเมือง (อังกฤษ: political geography) คือการศึกษาผลกระทบเชิงพื้นที่ของกระบวนการทางการเมืองและแนวทางที่กระบวนการทางการเมืองได้รับผลกระทบจากโครงสร้างเชิงพื้นที่ โดยทั่วไปตามวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ ภูมิศาสตร์การเมืองใช้โครงสร้างสามระดับประกอบด้วย การศึกษาเกี่ยวกับรัฐในระดับกลาง การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หรือภูมิรัฐศาสตร์) ในระดับบน และการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่นในระดับล่าง โดยสามารถสรุปความสัมพันธ์หลักของสาขาที่เกี่ยวข้องว่าคือความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน รัฐ และดินแดน

ประวัติ แก้

นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อมและในการพัฒนาแนวคิดของเขาเกี่ยวกับ 'แกนหมุนทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์' หรือทฤษฎีดินแดนแกนกลาง (ใน ค.ศ. 1904) เขาได้โต้แย้งว่ายุคแห่งอำนาจทะเลกำลังสิ้นสุดและอำนาจทางบกจะเข้ามาแทนที่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ใดก็ตามที่ควบคุมดินแดนแกนกลางของ 'ยูโรเอเชีย' จะควบคุมโลกได้ ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับแนวคิดของอัลเฟรด เทเยอร์ มาฮานเกี่ยวกับความสำคัญของอำนาจทางทะเลในความขัดแย้งของโลกซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของแมคคินเดอร์ ทฤษฎีดินแดนแกนกลางได้ตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้ของจักรวรรดิขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้การขนส่งบริเวณชายฝั่งหรือข้ามมหาสมุทรเพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร และกลุ่มพันธมิตรที่ต่อต้านจักรวรรดิในส่วนอื่นของโลกไม่สามารถพิชิตได้ มุมมองนี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีอิทธิพลตลอดช่วงสมัยของสงครามเย็นซึ่งสนับสนุนแนวคิดของทหารเกี่ยวกับการสร้างรัฐกันชนระหว่างตะวันออกและตะวันตกในยุโรปกลาง

ทฤษฎีดินแดนแกนกลางแสดงให้เห็นถึงโลกที่ถูกแบ่งออกเป็นดินแดนแกนกลาง (ยุโรปตะวันตกหรือรัสเซียตะวันตก) เกาะโลก (ยูเรเชียและแอฟริกา) กลุ่มเกาะรอบนอก (หมู่เกาะอังกฤษ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) และโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) แมคคินเดอร์โต้แย้งว่าผู้ใดก็ตามที่ควบคุมดินแดนแกนกลางจะเป็นผู้ควบคุมโลก เขาใช้แนวคิดเหล่านี้เพื่อสร้างอิทธิพลทางการเมือง เช่น สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งรัฐกันชนถูกสร้างขึ้นระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งคู่ควบคุมดินแดนแกนกลาง ในช่วงเวลาเดียวกันฟรีดริช รัทเซลก็กำลังสร้างทฤษฎีของรัฐจากแนวคิดของเลเบินส์เราม์และลัทธิดาร์วินเชิงสังคม เขาแย้งว่ารัฐนั้นคล้ายกับ 'สิ่งมีชีวิต' ที่ต้องการพื้นที่เพียงพอในการอยู่อาศัย นักเขียนทั้งสองคนได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์ด้วยมุมมองที่เป็นกลางของโลก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องอย่างมากถึงปัญหาของการแข่งขันทางอำนาจของโลกและอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐ และทฤษฎีส่วนมากได้รับอิทธิพลจากนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวเยอรมัน (ดูเกโอโปลิติก) เช่น คาร์ล เฮาส์โฮเฟอร์ ผู้ (อาจไม่ได้ตั้งใจ) มีอิทธิพลต่อทฤษฎีการเมืองของนาซีเป็นอย่างมาก ซึ่งถูกใช้เป็นรูปแบบของการเมืองที่เห็นว่าชอบธรรมตามกฎหมาย เช่น ทฤษฎี 'วิทยาศาสตร์'

ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแนวคิดนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อมและการหยุดนิ่งของแนวพรมแดนทางการเมืองในช่วงสงครามเย็นนำไปสู่ความถดถอยอย่างมีนัยสำคัญในการเข้าใจความสำคัญของภูมิศาสตร์การเมืองซึ่งถูกอธิบายโดยเบรน เบอร์รีใน ค.ศ 1968 ว่าเป็น 'น้ำนิ่งที่แห้งผาก' แม้ว่าในเวลานั้นเนื้อหาอื่น ๆ ส่วนใหญ่ของภูมิศาสตร์มนุษย์ให้ความสนใจวิธีการใหม่รวมถึงวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่และปริมาณ พฤติกรรมศึกษา และลัทธิมากซ์เชิงโครงสร้างซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยทางวิชาการแต่ถูกมองข้ามจากนักภูมิศาสตร์การเมืองซึ่งจุดสนใจหลักยังคงใช้วิธีการทางภูมิภาค ส่งผลให้ตำราทางภูมิศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่ที่ผลิตในช่วงเวลานั้นเป็นการพรรณนาจนกระทั่ง ค.ศ. 1976 ริชาร์ด มิวเยอร์กล่าวว่าภูมิศาสตร์การเมืองไม่ใช่สิ่งที่กำลังจะดับสลายไปแต่เป็นสิ่งที่กำลังฟื้นคืนชีพอีกครั้งในความเป็นจริง

นักภูมิศาสตร์การเมืองที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  • Bakis H (1987) Géopolitique de l'information Presses Universitaires de France, Paris
  • Harvey D (1996) Justice, nature and the geography of difference Oxford: Blackwell ISBN 1-55786-680-5
  • Johnston RJ (1979) Political, electoral and spatial systems Oxford: Clarendon Press ISBN 0-19-874072-7
  • Painter J (1995) Politics, geography and 'political geography': a critical perspective London: Arnold ISBN 0-340-56735-X
  • Pepper D (1996) Modern environmentalism London: Routledge ISBN 0-415-05744-2
  • Ratzel F (1897) Politische Geographie, Munich, Oldenbourg
  • Sack RD (1986) Human territoriality: its theory and history Cambridge: Cambridge University Press ISBN 0-521-26614-9

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Agnew J (1997) Political geography: a reader London: Arnold ISBN 0-470-23655-8
  • Bakis H (1995) ‘Communication and Political Geography in a Changing World’ Revue Internationale de Science Politique 16 (3) pp219–311 - http://ips.sagepub.com/content/16/3.toc
  • Buleon P (1992) 'The state of political geography in France in the 1970s and 1980s' Progress in Human Geography 16 (1) pp24–40
  • Claval P (1978) Espace et pouvoir, Paris, Presses Universitaires de France
  • Cox KR, Low M & Robinson J (2008) Handbook of Political Geography London: Sage
  • Sanguin A-L & Prevelakis G (1996), 'Jean Gottmann (1915-1994), un pionnier de la géographie politique', Annales de Géographie, 105, 587. pp73–78
  • Short JR (1993) An introduction to political geography - 2nd edn. London: Routledge ISBN 0-415-08226-9
  • Spykman NJ (1944) The Geography of the Peace New York: Harcourt, Brace and Co.
  • Sutton I (1991) 'The Political Geography of Indian Country' American Indian Culture and Research Journal 15(2) pp1–169.
  • Taylor PJ & Flint C (2007) Political geography: world-economy, nation-state and locality Harlow: Pearson Education Lim. ISBN 0-13-196012-1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Political geography