พรรคพลังปวงชนไทย

พรรคพลังปวงชนไทย (อังกฤษ: Thai Power Party, ชื่อย่อ: ปท. ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: TPW) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 และมีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

พรรคพลังปวงชนไทย
หัวหน้าเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล
รองหัวหน้ามนต์รัก แสงศาสตรา
บุญส่ง จันทะสุก
จิตรกร ลากุล
สุชาติ ดีจันทร์
เลขาธิการวรฐ สุนทรนนท์
นายทะเบียนสมาชิกพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ
ประธานที่ปรึกษาอนันตชัย คุณานันทกุล
คำขวัญเศรษฐกิจมั่งคั่ง ชาติเจริญ
ก่อตั้ง7 กรกฎาคม 2018; 6 ปีก่อน (2018-07-07)
ที่ทำการ888/8 หมู่ 5 ถนนศรีนครินทร์ ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270
สมาชิกภาพ  (ปี 2567)12,372 คน [1]
เว็บไซต์
https://plptdb.com
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคพลังปวงชนไทย ถูกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนว่าเป็นพรรคสาขาของพรรคเพื่อไทย เนื่องจากคณะผู้ก่อตั้ง หัวหน้าพรรค และที่ปรึกษา มีความสนิทสนมกับศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย[2]

ประวัติ

แก้

พ.ศ. 2561

แก้
 
ตราสัญลักษณ์แรกของพรรคพลังปวงชนไทย (2561 - 2567)

พรรคพลังปวงชนไทย ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ กกต. เมื่อวันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561 จากนั้นทางพรรคได้จัดการประชุมวิสามัญใหญ่เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย นิคม บุญวิเศษ เป็นหัวหน้าพรรค และนาย จรินทร์ เฮียงกุล เลขาธิการพรรค นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ นายทะเบียนสมาชิกพรรค ดร.ชนัญชิดา กั้ววิจารย์ เหรัญญิกพรรค ได้ทำการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการเลือกตั้ง ครั้งที่ 55/2561 (19) เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังปวงชนไทยไว้ในทะเบียนพรรคการเมือง เลขที่ 15/2561 ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และได้มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561 [3] และมี โชคสมาน สีลาวงษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานยุทธศาสตร์พรรค[4]

จากนั้นทางพรรคพลังปวงชนไทยได้เชิญพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มาเป็นประธานที่ปรึกษาพรรค

พ.ศ. 2563

แก้

พรรคพลังปวงชนไทย ได้จัดประชุมในปี 2563 โดยการประชุมครั้งดังกล่าวได้มีมติเลือก นิคม บุญวิเศษ เป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย และพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ได้ปรากฏตัวเข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นด้วย[5]

พ.ศ. 2566

แก้

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นายนิคมได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคก่อนจะย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ

นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังปวงชนไทย แทนตำแหน่งที่ว่างลง ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[6]

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 พรรคพลังปวงชนไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเอก จาดดำ อดีตรองหัวหน้าพรรค และนายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ อดีตนายทะเบียนพรรค ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่อีก 12 คนรวมเป็น 14 คน

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายเอกได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[7]

พ.ศ. 2567

แก้

พรรคพลังปวงชนไทย ได้ทำการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ในวันที่ 27 เมษายน 2567 ที่อาคารสุขอนันต์ จังหวัดสมุทรปราการ การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยนายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ได้รับการเลือกอย่างท่วมท้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยมี นายอนันตชัย คุณานันทกุล ร่วมงานในครั้งนั้นด้วย และในวาระเดียวกันนี้ ได้มีการเปลี่ยนโลโก้พรรค เป็นรูปหัวใจคู่ เปลี่ยนคำย่อใหม่ เปลี่ยนชื่อพรรคในภาษาอังกฤษใหม่ และเปลี่ยนคำขวัญของพรรคใหม่ รวมไปถึงนโยบายที่มุ่งเน้นช่วยเศรษฐกิจพี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ[8]

การเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคพลังปวงชนไทยส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 273 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 62 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงจนสามารถได้รับจัดสรร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรค[9]

หลังการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐ และสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคพลังปวงชนไทย ได้เข้าร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย[10] ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นิคมได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และส่งผลให้ พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ นายทะเบียนสมาชิกพรรคซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 6 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส. แทน[6]

การเลือกตั้ง

แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2562
1 / 500
80,186 0.23%   1 ฝ่ายค้าน นิคม บุญวิเศษ
2566
0 / 500
5,022   0 ไม่ได้รับเลือกตั้ง พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. นี่ไง "พรรคพลังปวงชนไทย" พรรคสาขาของพรรคเพื่อไทย ที่ว่ากันว่า อดีต ผบ.ทบ. และ อดีต ผบ.สส. รับบทที่ปรึกษาพรรคแบบไม่เป็นทางการมานานแล้ว!!
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังปวงชนไทย
  4. น้องใหม่ขอลุ้น 'พลังปวงชนไทย' มั่นใจล้มช้างอุดรธานี
  5. ตามคาด “นิคม” ยึดเก้าอี้หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทยแน่น
  6. 6.0 6.1 ประกาศราชกิจจานุเบกษา Link
  7. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคพลังปวงชนไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
  8. "'เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล' ผงาดนั่งหัวหน้า 'พรรคพลังปวงชนไทย'". คมชัดลึก. 27 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2024.
  9. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  10. 'พลังปวงชนไทย'ครบรอบ1ปี ฝ่ายค้านร่วมงานอบอุ่น

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้