โชคสมาน สีลาวงษ์
โชคสมาน สีลาวงษ์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 1 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุดรธานี
โชคสมาน สีลาวงษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2539–2544) เสรีธรรม (2544–2550) รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2553) ประชาธิปัตย์ (2554–2561) พลังพลเมืองไทย (2561) พลังปวงชนไทย (2561–2566) ก้าวไกล (2566–2567) |
ประวัติ
แก้โชคสมาน เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490[1] จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจาก กศน.
การทำงาน
แก้โชคสมาน สีลาวงษ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคกิจสังคม และนับเป็นสมัยเดียวที่ได้รับการเลือกตั้ง แต่แม้ว่าจะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก แต่นายโชคสมาน กลับได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ชวน.1)[2] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
โชคสมาน เข้าร่วมงานกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่ม 3 เป็นผู้สมัครรับลำดับแรกสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา[3][4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เขต 8 โดยการชักชวนของนายไชยยศ จิรเมธากร แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]
ใน พ.ศ. 2561 นายโชคสมานได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังพลเมืองไทย[7] ซึ่งมีนาย สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาปลายปี 2561 เขาได้ร่วมเปิดตัวกับพรรคพลังปวงชนไทย และรับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรค โดยมีบุตรชาย ธราพงษ์ สีลาวงษ์ ร่วมเป็นรองหัวหน้าพรรค[8]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายโชคสมาน ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังปวงชนไทย แต่ได้คะแนนเพียง 100 คะแนน ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 นายโชคสมาน ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดอุดรธานี เขต 9 ในนามพรรคก้าวไกล แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09.
- ↑ "รายชื่อผู้สมัครแบบสัดส่วน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-18.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน (พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/D/017/75.PDF
- ↑ ‘เนวิน’หน้าแหกแพ้ราบคาบ พท.ยกพลครองอีสาน
- ↑ “สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์” แถลงตั้งพรรคพลังพลเมือง
- ↑ น้องใหม่ขอลุ้น 'พลังปวงชนไทย' มั่นใจล้มช้างอุดรธานี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑