คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ

คำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ (อังกฤษ: United States Declaration of Independence) เป็นคำแถลงการณ์ที่ถูกยอมรับโดยการประชุมของสภาคองเกรสภาคพื้นทวีปครั้งที่สองในเมืองฟิลาเดลเฟีย เพนซิลเวเนีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 คำประกาศดังกล่าวได้อธิบายว่า เหตุใดที่สิบสามอาณานิคมซึ่งทำสงครามกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่จึงได้ถือว่าพวกตนเป็นรัฐอธิปไตยเอกราชทั้งสิบสามรัฐ ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของบริติชอีกต่อไป[1] ด้วยคำประกาศนี้ รัฐใหม่เหล่านี้ได้เริ่มก้าวแรกร่วมกันในการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ได้ถูกลงนามโดยผู้แทนจากนิวแฮมป์เชียร์ อ่าวแมสซาชูเซตส์ โรดไอแลนด์ คอนเนตทิคัต นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เพนซิลเวเนีย แมริแลนด์ เดลาแวร์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจีย

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ
ภาพวาดคณะกรรมการร่างคำประกาศอิสรภาพยื่นร่างให้กับรัฐสภาอเมริกา โดยภาพนี้พบได้ในธนบัตรสองดอลลาร์ด้วย

การลงมติลีสำหรับเอกราชได้รับการอนุมัติโดยสภาคองเกรสภาคพื้นทวีปครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม โดยปราศจากเสียงคัดค้าน คณะกรรมทั้งห้าได้ร่างคำประกาศฉบับนี้ให้พร้อม เมื่อสภาคองเกรสได้ลงมติเพื่อเอกราช จอห์น แอดัมส์  ผู้นำในการผลักดันให้ได้รับเอกราช ได้ชักชวนให้คณะกรรมการคัดเลือกทอมัส เจฟเฟอร์สัน ในการจัดทำร่างต้นฉบับของเอกสาร[2] ซึ่งสภาคองเกรสได้แก้ไขเพื่อผลิตขึ้นเป็นฉบับสุดท้าย คำประกาศดังกล่าวเป็นการอธิบายอย่างเป็นทางการว่า เหตุใดที่สภาคองเกรสจึงลงมติในการประกาศเอกราชจากบริเตนใหญ่ มากกว่าหนึ่งปีหลังจากการปะทุขึ้นของสงครามปฏิวัติอเมริกา แอดัมส์ได้เขียนจดหมายไปถึงอาบิเกล ภรรยาของเขาว่า "วันที่สองของเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1776 จะเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา"[3] - แม้ว่าวันประกาศอิสรภาพจะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 4 กรกฏาคม วันที่มีการใช้คำของคำประกาศอิสรภาพซึ่งได้รับการอนุมัติ

ภายหลังจากการให้สัตยาบันข้อความ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม สภาคองเกรสได้ออกคำประกาศอิสรภาพในรูปแบบต่าง ๆ ตอนแรกได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นเป็นดันแลป บรอดไซด์ที่ถูกพิมพ์ออกมาซึ่งได้เผยแพร่อย่างกว้างขวางและสาธารณชนได้อ่านกันทั่วหน้า สำเนาต้นฉบับที่ถูกใช้สำหรับการตีพิมพ์ฉบับนี้ได้สูญหายและอาจจะเป็นสำเนาที่อยู่ในมือของทอมัส เจฟเฟอร์สัน[4] ร่างต้นฉบับของเจฟเฟอร์สันได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดรัฐสภา ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ถูกทำขึ้นโดยจอห์น แอดัมส์และเบนจามิน แฟรงคลิน เช่นเดียวกับบันทึกของเจฟเฟอร์สันได้ถูกเปลี่ยนแปลงที่ถูกทำขึ้นโดยสภาคองเกรส คำประกาศที่เป็นฉบับที่รู้จักกันดีที่สุดคือ สำเนาที่มีลายเซ็นต์ ซึ่งถูกจัดแสดงไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. และได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกสารทางการ สำเนาฉบับแบบคัดลายมือ(คัดลอกด้วยลายมืออันประณีตบรรจงและเสร็จสมบูรณ์) ซึ่งได้รับคำสั่งโดยสภาคองเกรส เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม และถูกลงนามเป็นส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[5][6]

แหล่งที่มาและการตีความของคำประกาศฉบับนี้เป็นหัวข้อของการสืบสวนทางวิชาการมากมาย คำประกาศดังกล่าวได้ให้เหตุผลอันสมควรถึงความเป็นเอกราชของสหรัฐอเมริกาโดยการลงรายชื่อของอาณานิคมทั้งยี่สิบเจ็ดที่ไม่พอใจต่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 และโดยการยืนยันสิทธิธรรมชาติ และสิทธิทางกฏหมายบางประการ รวมทั้งสิทธิการปฏิวัติ จุดประสงค์ดั้งเดิมเพื่อประกาศอิสรภาพ และการอ้างอิงถึงข้อความในคำประกาศนั้นมีน้อยในปีต่อมา อับราฮัม ลินคอล์นได้ทำให้มันกลายเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายและวาทศิลป์ของเขา ดังเช่นในการกล่าวคำปราศัยที่เกตตีสเบิร์ก(Gettysburg Address) ปี ค.ศ. 1863[7] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลายเป็นคำแถลงการณ์ต่อสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะประโยคที่สอง:

เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข

คำประกาศดังกล่าวฉบับนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อรับประกันสิทธิที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน และหากมันมีไว้สำหรับส่วนใดส่วนหนึ่งของบุคคลเพียงคนเดียว สภาคองเกรสคงจะปล่อยทิ้งไว้ให้กลายเป็น"สิทธิชาวอังกฤษ"[8] Stephen Lucas ได้เรียกว่า "หนึ่งในประโยคที่รู้จักกันดีมากที่สุดในภาษาอังกฤษ"[9] โดย Joseph Ellis ได้กล่าวว่า เป็น"ถ้อยคำที่ทรงพลังและผลสืบเนืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา" ข้อความนี้ได้แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานทางศีลธรรมซึ่งสหรัฐควรที่จะมุ่งมั่น มุมมองนี้ได้รับการส่งเสริมโดยลินคอล์นอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่ยอมรับว่าคำประกาศฉบับนี้เป็นรากฐานของปรัชญาทางการเมืองของเขา และโต้แย้งว่าเป็นคำแถลงการณ์ของหลักการโดยรัฐธรรมนูญสหรัฐสมควรที่จะตีความ[10]

คำประกาศอิสรภาพเป็นแรงบันดาลใจให้กับเอกสารที่มีความคล้ายคลึงกันหลายฉบับในประเทศอื่น ๆ ฉบับแรกเป็นคำประกาศ ปี ค.ศ. 1789 ของสหรัฐเบลเยียมซึ่งได้ถูกประกาศในช่วงการปฏิวัติบราเดนท์ในเนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบสำหรับคำประกาศอิสรภาพหลายฉบับมากมายในยุโรปและละตินอเมริกา ตลอดจนแอฟริกา(ไลบีเรีย) โอเชียเนีย(นิวซีแลนด์) ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19[11]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Wich, Scott (July 2021). "Lessons from the Nation's Founding". Management Report for Nonunion Organizations (ภาษาอังกฤษ). 44 (7): 3–4. doi:10.1002/mare.30723. ISSN 0745-4880.
  2. "Declaring Independence" เก็บถาวร พฤษภาคม 4, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Revolutionary War, Digital History, University of Houston. From Adams' notes: "Why will you not? You ought to do it." "I will not." "Why?" "Reasons enough." "What can be your reasons?" "Reason first, you are a Virginian, and a Virginian ought to appear at the head of this business. Reason second, I am obnoxious, suspected, and unpopular. You are very much otherwise. Reason third, you can write ten times better than I can." "Well," said Jefferson, "if you are decided, I will do as well as I can." "Very well. When you have drawn it up, we will have a meeting."
  3. "Letter from John Adams to Abigail Adams, 3 July 1776, "Had a Declaration..."". www.masshist.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2016. สืบค้นเมื่อ April 18, 2016.
  4. Boyd (1976), The Declaration of Independence: The Mystery of the Lost Original, p. 438.
  5. "Did You Know ... Independence Day Should Actually Be July 2?" (Press release). National Archives and Records Administration. June 1, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2012. สืบค้นเมื่อ July 4, 2012.
  6. The Declaration of Independence: A History เก็บถาวร 2010-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The U.S. National Archives and Records Administration.
  7. Hirsch, David; Van Haften, Dan (2017). The ultimate guide to the Declaration of Independence (First ed.). El Dorado Hills, California. ISBN 978-1-61121-374-4. OCLC 990127604.
  8. Brown, Richard D. (2017). Self-evident truths : contesting equal rights from the Revolution to the Civil War. New Haven. ISBN 978-0-300-22762-8. OCLC 975419750.
  9. Stephen E. Lucas, "Justifying America: The Declaration of Independence as a Rhetorical Document", in Thomas W. Benson, ed., American Rhetoric: Context and Criticism, Carbondale, Illinois: Southern Illinois University Press, 1989, p. 85.
  10. McPherson, Second American Revolution, 126.
  11. Armitage, David (2007). The Declaration of Independence: A Global History. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 113–126. ISBN 978-0-674-02282-9.