เอบราแฮม ลิงคอล์น

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(เปลี่ยนทางจาก อับราฮัม ลินคอล์น)

เอบราแฮม ลิงคอล์น (อังกฤษ: Abraham Lincoln, 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 – 15 เมษายน ค.ศ. 1865) เป็นทนายความและรัฐบุรุษชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสหรัฐ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1861 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1865 ลิงคอล์นประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศผ่านพ้นสงครามกลางเมืองอเมริกา ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญ ทางทหารและศีลธรรมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ[2][3] ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ลิงคอล์นจึงสามารถรักษาความเป็นสหภาพของสหรัฐเอาไว้ได้ นอกจากนี้เขายังนำทางไปสู่การเลิกทาส สร้างความมั่งคงแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลาง ตลอดจนส่งเสริมการเศรษฐกิจและการเงินให้ทันสมัย

เอบราแฮม ลิงคอล์น
ลิงคอล์น ใน ค.ศ. 1863
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 16
ดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 1861 – 15 เมษายน ค.ศ. 1865
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าเจมส์ บิวแคนัน
ถัดไปแอนดรูว์ จอห์นสัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ
จาก รัฐอิลลินอย เขต 7
ดำรงตำแหน่ง
4 มีนาคม ค.ศ. 1847 – 3 มีนาคม ค.ศ. 1849
ก่อนหน้าจอห์น เฮนรี
ถัดไปโทมัส แอล ฮาร์ริส
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐอิลลินอย
จาก เทศมณฑลซากามอน
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม ค.ศ. 1834 – 4 ธันวาคม ค.ศ. 1842
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809(1809-02-12)
ซิงกิงสปริงฟาร์ม รัฐเคนทักกี สหรัฐ
เสียชีวิต15 เมษายน ค.ศ. 1865(1865-04-15) (56 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
(บาดแผลจากกระสุนที่ศีรษะ)
ที่ไว้ศพสุสานลิงคอล์น
พรรคการเมือง
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เนชันแนลยูเนียน (ค.ศ. 1864 – ค.ศ. 1865)
ความสูง6 ฟุต 4 นิ้ว (193 เซนติเมตร)[1]
คู่สมรสแมร์รี่ ทอดด์ (สมรส 1842)
บุตร
บุพการี
ความสัมพันธ์ตระกูลลิงคอล์น
วิชาชีพ
  • ทนายความ
  • นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดทหารช่วยรบแห่งรัฐอิลลินอย
ประจำการค.ศ. 1832
ยศ
ผ่านศึก

ลิงคอล์นเกิดในครอบครัวยากจน ณ เมืองฮ็อดเจนวิลล์ รัฐเคนทักกี ซึ่งสมัยนั้นเป็นพรมแดนทางตะวันตกของสหรัฐ ส่วนใหญ่ลิงคอล์นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพทนายความในรัฐอิลินอยส์ใน ค.ศ. 1836 เขากลายเป็นผู้นำพรรควิก และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐอิลลินอยระหว่าง ค.ศ. 1834 - 1842 และต่อมาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐใน ค.ศ. 1846 โดยดำรงตำแหน่งอยู่หนึ่งสมัย ลิงคอล์นเน้นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และต่อต้านสงครามเม็กซิโก-อเมริกา หลังหมดวาระลิงคอล์นกลับไปประกอบวิชาชีพกฎหมายจนประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาสู่เวทีการเมืองอีกครั้งใน ค.ศ. 1854 ลิงคอล์นกลายเป็นผู้นำก่อตั้งพรรคใหม่ คือ พรรคริพับลิกัน ในระหว่างการโต้วาทีกับตัวแทนพรรคเดโมแครต สตีเฟน เอ. ดักลัส ใน ค.ศ. 1858 ลิงคอล์นแสดงจุดยืนทางการเมืองที่คัดค้านการขยายตัวของสถาบันทาส แต่ก็แพ้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแก่ดักลัส คู่แข่งผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองชนิดไม่แทรกแทรงการมีอยู่ของสถาบันทาส โดยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนควรมีสิทธิกำหนดเอง

ลิงคอล์นกลายเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคริพับลิกัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 ในฐานะนักการเมืองผู้มีทัศนะทางการเมืองเป็นกลาง (moderate) และมาจากรัฐที่คะแนนเสียงไม่แน่นอน (swing state) แต่แม้จะแทบไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเลยในทางใต้ ลิงคอล์นก็กวาดคะแนนเสียงในทางเหนือและได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐใน ค.ศ. 1860 ชัยชนะการเลือกตั้งของลิงคอล์นกระตุ้นให้เจ็ดรัฐทาสทางใต้ตัดสินใจประกาศแยกตัวออกจากสหภาพ และก่อตั้งสมาพันธรัฐทันทีโดยไม่รอให้มีพิธีเข้ารับตำแหน่งเสียก่อน การถอนตัวของนักการเมืองฝ่ายใต้ ทำให้พรรคของลิงคอล์นกุมที่นั่งในรัฐสภาคองเกรสได้อย่างเด็ดขาด แต่ความพยายามที่จะประนีประนอมต่างจบลงด้วยความล้มเหลว และเหลือเพียงสงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย

สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตีฟอร์ตซัมเทอร์ รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลอย่างแข็งขัน ลิงคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้[4] สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา[5] และเป็นคำนิยมอันอุโฆษ ต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย

ลิงคอล์นให้ความสนใจต่อมิติทางการทหาร และกิจการในยามสงครามอย่างใกล้ชิด เป้าหมายของเขาคือการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว สมัยประธานาธิบดีของลิงคอล์นมีจุดเด่นที่การใช้อำนาจฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (presidential power) อย่างกว้างขวางและเฉียบขาด เมื่อรัฐทางใต้ประกาศตนเป็นกบฏต่อสหภาพ ลิงคอล์นจึงใช้อำนาจของตนยับยั้งการใช้ เฮบีอัส คอร์ปัส (habeas corpus) หรือ หมายสั่งเรียกไต่สวนเหตุผลในการคุมขัง ในสถานการณ์นั้น ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนหลายพันคนโดยไม่มีการไต่สวน ในด้านการทูต ลิงคอล์นสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการทหารกับอังกฤษ โดยสามารถจัดการกับกรณีเรือ เทรนต์ (Trent affair) ในช่วงปลาย ค.ศ. 1861 ได้อย่างเฉียบขาด ลิงคอล์นบริหารการสงครามด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง ดังเช่นการเลือก ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ เข้ามาเป็นผู้บัญชาการสั่งการกองทัพแทนที่ จอร์จ มี้ด ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปกองทัพ ทำให้ฝ่ายสหภาพสามารถทำสงครามได้หลายภูมิภาคการรบ หรือเขตสงคราม (theater) พร้อม ๆ กัน[6] ลิงคอล์นให้การสนับสนุน นายพลแกรนต์ ทำสงครามที่ทั้งยืดเยื้อ นองเลือดและเบ็ดเสร็จ ฝ่ายสมาพันธรัฐแม้จะได้เปรียบจากการเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็อ่อนแรงลงไปเรื่อย ๆ โดยการโจมตีของฝ่ายสหภาพไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบนสนามรบ แต่ยังรวมถึงการปิดกั้น และทำลายทางคมนาคนขนส่ง ทั้งทางแม่น้ำและทางรถไฟ รวมไปถึงฐานทางเศรษฐกิจของฝ่ายสมาพันธรัฐ จนในที่สุดแกรนต์สามารถเข้าเดินทัพเข้ายึดริชมอนด์ เมืองหลวงของสมาพันธรัฐได้ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1865

ในส่วนภาระกิจด้านการเลิกทาส ลิงคอล์นไม่เพียงแต่ใช้สงครามเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย แต่ยังดำเนินกิจกรรมทางนโยบายอื่น ๆ เช่น การออกการประกาศเลิกทาสใน ค.ศ. 1863 (หลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่แอนตีแทม) การเกลี้ยกล่อมให้รัฐชายแดนประกาศให้สถาบันทาสเป็นสิ่งผิดกฎหมาย การออกกฎหมาย Confiscation Act เพื่อยึดและปลดปล่อยทาสจากผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าให้การสนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐ[7][8] และช่วยผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่สิบสามจนผ่านสภาคองเกรสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 ซึ่งห้ามการมีและซื้อขายทาสตลอดไป ในทุก ๆ พื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐ

ลิงคอล์นเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลม มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสถานการณ์อำนาจในแต่ละมลรัฐ เขาพยายามเกลี้ยกล่อมระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตสายสงครามซึ่งต้องการให้มีการประนีประนอมในประเด็นเรื่องสถาบันทาส และสมาชิกริพับลิกันหัวก้าวร้าว ซึ่งต้องการกำจัดกบฏฝ่ายใต้และสถาบันทาสให้สิ้นซากโดยเร็วที่สุด[9][10] ยิ่งไปกว่านั้น เขายังบริหารแคมเปญจ์การลงเลือกตั้งใหม่ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1864 ด้วยตนเอง ช่วงปลายสงคราม ลิงคอล์นถือมุมมองการฟื้นฟูบูรณะ (Reconstruction) แบบผ่อนผัน โดยแสวงการรวมและบูรณะประเทศอย่างรวดเร็ว ผ่านนโยบายการปรองดองที่ไม่มีเงื่อนไขยุ่งยาก ในสภาวะที่ความแตกแยกอย่างขมขื่นยังไม่ลดลงไป อย่างไรก็ดี เพียงห้าวันหลังการยอมจำนนของโรเบิร์ต อี. ลี ผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายสมาพันธรัฐ ลิงคอล์นถูกลอบยิงในโรงละคร โดยนักแสดงผู้ฝักใฝ่สมาพันธรัฐ จอห์น วิลค์ส บูธ (John Wilkes Booth) และเสียชีวิตในวันต่อมา การลอบสังหารลิงคอล์นเป็นการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐเป็นครั้งแรก และเป็นเหตุการณ์ทำให้ทั้งประเทศตกอยู่ในความโศกเศร้า นักวิชาการและสาธารณชนชาวอเมริกันจัดให้ลิงคอล์นเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีสหรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจวบจนปัจจุบัน[11][12]

ประวัติ

ชิวิตตอนต้น

 
เพิงไม้หลังนี้เป็นสถานที่เกิดของลิงคอล์น

เอบราแฮม ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 เป็นบุตรของ โทมัส ลิงคอล์นและแนนซี่ แฮงค์ ทั้งสองไม่ได้เรียนหนังสือและประกอบอาชีพชาวนาในตะวันตกของเมือง ฮาร์ดิน รัฐแมสซาชูเซตส์ บรรพบุรุษของลิงคอล์นมาตั้งรกรากที่เมืองนี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ส่วนทายาทของเขาได้ย้ายถิ่นฐานจาก รัฐเพนซิลเวเนีย ไปยัง รัฐเวอร์จิเนีย ต่อจากนั้นก็ไปยังเมืองชนบทที่ไม่ได้รับการพัฒนา[13]

บางครั้งโธมัส ลิงคอล์น พ่อของอิบราฮัม ลิงคอล์น ถูกคาดหวังและนำไปเปรียบเทียบกับพลเมืองที่มั่งคั่ง ในเขตพื้นที่เพาะปลูกใน รัฐเคนทักกี เขาทำให้น้ำท่วมฟาร์มในช่วงฤดูใบไม้ผลื เดือนธันวาคม ค.ศ. 1808 เพื่อนำเงินสด $200 นำไปใช้หนี้[14] ครอบครัวของลิงคอล์นชอบไปทำพิธีการทางศาสนาที่โบสถ์ ฮาร์ดเชลล์ แบบติสท์ แต่ตัวของ อับราฮิม ลิงคอล์น ไม่เคยไปร่วมกับทางครอบครัวเลย

ใน ค.ศ. 1816 ครอบครัวของลิงคอล์นถูกบังคับให้มาเริ่มต้นทำนาใหม่ที่เพอร์รี่ รัฐอินดีแอนา[15] จากนั้นเขาได้บันทึกไว้ว่า การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้เปรียบเสมือนการตกเป็นทาส

เมื่อลิงคอล์นอายุ 9 ขวบ แม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำนมจากแม่โคที่กินอาหารสัตว์ ที่เป็นพิษ เมื่ออายุ 34 หลังจากนั้นไม่นาน พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่กับ ซาห์ร่า บุช จอห์นสัน และเอบราแฮม ลิงคอล์นเองก็ได้รับความอบอุ่นจากแม่เลี้ยงคนใหม่นี้มาก ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อของเขายังคงห่างเหิน[16]

ค.ศ. 1830 หลังจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาที่ดินในรัฐอินเดียนา บานปลายออกไปมากขึ้น ครอบครัวลิงคอล์นจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่สาธารณะ[17] เมคอน รัฐอิลลินอย หลังจากที่พายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำจนบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจกลับไปอินเดียนา ถัดมา พ่อของลิงคอล์นย้ายครอบครัวไปยังบ้านและที่ดินใหม่ที่เมืองโคลส์ รัฐอิลลินอย

ลิงคอล์นใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนเพียง 18 เดือนขาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเขาชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ลิงคอล์นยังมีทักษะเกี่ยวกับการใช้ขวานอีกด้วย[18]

 
ภาพแรกของมาดามลิงคอล์น ถ่ายโดย ชีเฟิร์ด ใน 1846

ชีวิตครอบครัว

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842 เอบราแฮม ลิงคอล์น แต่งงานกับ แมร์รี่ ทอดด์ ลิงคอล์น ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของทาสที่มีชื่อเสียงจากเคนทักกี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกับ 4 คน โรเบิร์ต ทอดด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1843 ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวที่อยู่รอดมาจนถึงวัยบรรลุนิติภาวะ ส่วนบุตรคนอื่น ๆ เสียชีวิตเมื่อวัยเด็ก เอ็ดวาร์ด แบ็งเกอร์ ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 วิลเลียม วอลเลส ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่สปริงฟิลด์ ค.ศ. 1850 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1862 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. โทมัส แทด ลิงคอล์น เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1853 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 ในชิคาโก

ชีวิตการทำงานและบทบาททางการเมือง

1832 ขณะอายุได้ 23 ลิงคอล์นเข้าหุ้นส่วนซื้อร้านเล็ก ๆ ด้วยสินเชื่อ ในนิวซาเล็ม รัฐอิลินอยส์ ขณะนั้นสภาพเศรษฐกิจกำลังขยายตัวเร็ว แต่ธุรกิจของลิงคอล์นกลับต้องดิ้นรน และสุดท้ายเขาก็ตัดสินใจขายหุ้นส่วนที่ตนถือ ในเดือนมีนาคมนั้นเอง ลิงคอล์นก็เริ่มอาชีพทางการเมือง

การเมืองพรรคริพับลิกันระหว่าง 1854-1860

การเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1860

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) มีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันประเทศอเมริกาเข้าสู่สงครามกลางเมือง ประธานาธิบดี เจมส์ บิวแคนัน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น เป็นชาวอเมริกันทางตอนเหนือที่มีความคิดเห็นเข้าข้างฝ่ายใต้ ประธานาธิบดีบิวแคนันมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการทำให้เนื้อคำพิพากษาคดี เดร็ด สก๊อต ออกมากว้างในลักษณะเป็นคุณกับนายทาสเช่นนั้น โดยบิวแคนันเป็นคนเขียนจดหมายชักจูงให้ตุลาการสมทบแห่งศาลสูงสุดสหรัฐ โรเบิร์ต เกรีย (Robert Grier) โหวตร่วมกับฝ่ายเสียงข้างมากในคณะศาลให้ สก็อตต์ ทาสผิวดำแพ้คดี[19] เพื่อให้ศาลสามารถออกคำพิพากษาปฏิเสธอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างเด็ดขาด ในประเด็นที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาส การเข้ากดดันตุลาการในคดี เดร็ด สก็อตต์ ของ ปธน. บิวแคนันกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว และก่อเกิดผลสะท้อนกลับเชิงลบทางการเมืองต่อพรรคเดโมแครตเป็นอย่างยิ่ง ความไม่พอใจในคำพิพากษา เดร็ด สก็อตต์ ของชาวอเมริกันในรัฐทางเหนือ ช่วยให้พรรคริพับลิกันได้รับชัยชนะได้ที่นั่งสภาผู้แทนเพิ่มในการเลือกตั้งกลางเทอม 1858[20] และเข้าควบคุมได้ทั้งสภาคองเกรสในการเลือกตั้งใหญ่ 1860

ความแตกแยกในพรรคเดโมแครต

 
"เดอะเรลแคนดีเดต" เป็นนโยบายที่ประกาศว่าจะยกเลิกทาสในสหรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของลิงคอล์น ที่ถูกยกให้เป็นประเด็นสำคัญในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1860 ของพรรคริพับลิกันซึ่งนำโดยเอบราแฮม ลิงคอล์น เป็นผลมาจากความระส่ำระสายภายในของพรรคเดโมแครตเอง โดยช่วงปลายเดือนเมษายน 1860 พรรคเดโมแครตมารวมตัวประชุมที่ เมืองชาลส์ตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา เพื่อคัดเลือกตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ในขณะนั้น ชาลส์ตัน เป็นเมืองที่แตกแยกทางความคิดมาก มีนักปราศัยเรียกร้องการแยกตัวจากสหภาพ (ซึ่งเรียกว่า พวกกินไฟ หรือ fire-eaters) เดินอยู่เต็มถนน และเปิดฉากล้อเลียน สว. สตีเฟน เอ. ดักลัส กับผู้สนับสนุนชาวเหนือของดักลัสอยู่เนือง ๆ [21] แม้ในระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตเอง ก็แตกกันออกเป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยตัวแทนพรรคฝ่ายใต้ สนับสนุนนโยบายขยายสถาบันทาส โดยการใช้กฎหมายทาส (slave codes) ในทุกพื้นที่ของสหรัฐ ในขณะที่สมาชิกพรรคจากทางเหนือคิดว่านั่นเป็นเรื่องเสียสติ เพราะมีแต่จะทำให้เสียเสียงสนับสนุนในรัฐทางเหนือ

สว.สตีเฟ่น เอ. ดักลัส จากอิลินอยส์
จอห์น ซี. เบรกคินริดจ์ รองปธน.สหรัฐ (1857-1861) และผู้ลงสมัครฯพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้
เอบราแฮม ลิงคอล์น
ประธานาธิบดีคนที่ 16 (1861–1865)

เมื่อการประชุมดำเนินต่อไป เสียงส่วนใหญ่ยังคงยืนกรานสนับสนุน หลักการอำนาจอธิปไตยปวงชนของดักลัส ที่ต้องการให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐ ออกเสียงกำหนดกันเอาเองในเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาส การตัดสินใจนี้ทำให้ตัวแทนจากรัฐทางตอนใต้ซึ่งเป็นพวกสนับสนุนสถาบันทาส และคำพิพากษา เดร็ด สก็อตต์ พากัน "วอล์กเอ้าท์" จากการประชุมแห่งชาติของพรรคเดโมแครต (DNC)[21] หลังจากล้มเหลวในการโหวตเพื่อลงมติถึง 57 ครั้ง การประชุม DNC ก็ถูกเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายน 1860 ที่บัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ แต่พวกฝ่ายใต้หัวแข็งกร้าวก็ขัดขวางการลงมติอีก และจบลงที่การเดินออกจากที่ประชุมอีกครั้ง ฝ่ายเดโมแครตที่เหลือจึงเสนอชื่อ สตีเฟน ดักลัส ให้เป็นตัวแทนลงสมัครลงชิงตำแหน่ง ส่วนสมาชิกพรรคฝ่ายใต้เป็นพวกสนับสนุนคำพิพากษาคดีเดร็ด สก็อตต์ กลับมาหารือกันใหม่ที่ริชมอนด์ เวอร์จิเนีย แล้วเลือก นายจอห์น ซี. เบรกคินริดจ์ (John C. Breckinridge) ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี มาเป็นผู้แทนลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตฝ่ายใต้[21]

การหาเสียง

กลางเดือนพฤษภาคม นักการเมืองพรรครีพับลิกันมารวมตัวกันที่ชิคาโก ในตึกการประชุม "The Wigwam" ที่เพิ่งสร้างใหม่ ในขณะนั้นพรรครีพับลิกันมั่นใจแล้วว่าการเลือกตั้งคราวนี้ฝ่ายตนน่าจะชนะ[22] ทางพรรคประชุมและมีมติร่วมกันว่าจะไม่คุกคามสถาบันทาสในภาคใต้ แต่ก็ไม่อยากให้สถาบันทาสขยายตัวต่อไปในดินแดนที่กำลังได้รับการบุกเบิกทางทิศตะวันตก ผู้เสนอชื่อเข้าแข่งขันต่างสนับสนุนนโยบายการขยายตัวของประเทศ โดยสัญญาว่าจะผ่าน Holmstead Act เพื่อสร้างกระท่อมที่อยู่อาศัยให้ฟรี สำหรับผู้ที่จะบุกเบิกไปตั้งถิ่นฐานในทิศตะวันตก และจะให้มีการระดมทุนเพื่อสร้างทางรถไฟข้ามทวีปอเมริกาเหนือด้วย[21]

พรรครีพับลิกันตกลงเลือกลิงคอล์นเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพราะเห็นว่าท่านเป็นนักการเมืองสายกลางที่ไม่แข็งกร้าวไปทางใดทางหนึ่ง[23] และน่าจะได้เปรียบในพื้นที่เพนซิลเวเนีย กับรัฐทางมิดเวสต์ ตัวลิงคอล์นเองก็ไม่ใช่นักเลิกทาส (abolitionist) แต่เขาสามารถสะท้อนความรู้สึกที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่ชาวรัฐตอนเหนือว่า สถาบันทาสเป็นภัยคุกคามต่อสหภาพและอนาคตของประเทศ[21]

 
ผลการเลือกตั้ง 1860
ตามการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง

ในส่วนพรรครัฐธรรมนูญสหภาพ (Constitutional Union Party) นั้นประกอบไปด้วย นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมจากพรรควิกส์ (whigs) เดิม และพวกที่มาจากรัฐ"ชายแดน" (คือ รัฐที่ประกอบเป็นรัฐกันชนตามแนวชายแดนระหว่างฝ่ายหนือและฝ่ายใต้) ที่ต่อต้านการสลายตัวของสหภาพแต่ก็เห็นอกเห็นใจรัฐทาสทางใต้ และเนื่องจากพวกนี้ไม่นิยมพูดถึงประเด็นเรื่องทาส จึงได้รับความนิยมจากผู้อาศัยในรัฐทางใต้บางรัฐ ได้แก่เทนเนสซี, เวอร์จิเนีย, และเคนทักกี นายจอห์น เบลล์ ตัวแทนลงสมัครฯของพรรคจากรัฐเทนเนสซี สัญญาที่จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิของทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ (รวมถึงสิทธิของรัฐที่จะปกครองตนเอง และสิทธิในการถือครองทาสเป็นทรัพย์สิน) และความคงอยู่ของสหภาพ แต่ประชาชนทางเหนือส่วนใหญ่ มองพรรคนี้ว่าเป็นพวก "คนแก่" ที่ไม่ทันกับการเมืองของยุคสมัย[21]

พรรคเดโมแครตมี สว.สตีเฟน เอ. ดักลัส (ผู้ร่างกฎหมาย แคนซัส-เนบรากา) เป็นตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามเดโมแครตฝ่ายเหนือ ดักลัสสนับสนุนแนวคิดว่าด้วยการกำหนดความชอบด้วยกฎหมายของสถาบันทาสโดยทางอธิปไตยปวงชน[24] (กล่าวคือประสงค์จะให้สภาคองเกรสทำตัวเป็นกลาง ไม่เข้าแทรกแทรงไม่ว่าจะเพื่อจำกัด หรือสนับสนุนการขยายตัวของสถาบันทาสไปในพื้นที่ใหม่ ๆ ของสหรัฐ) ดักลาสเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเตือนถึงภัยของการสูญเสียสหภาพ แต่ก็ได้รับความนิยมทางตอนเหนือสู้ลิงคอล์นไม่ได้ ส่วน เบรกคิริดจ์ ตัวแทนผู้ลงสมัครของเดโมแครตฝ่ายใต้ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็น "คนทรยศ" และ เป็นพวก "บ่อนทำลายสหภาพ"[21] จึงมีคะแนนนิยมจำกัดอยู่แต่ในภาคใต้

โดยภาพรวมการเลือกตั้ง 1860 เป็นการแข่งขันที่แยกเป็นสองภาคส่วน ฝ่ายลิงคอล์นนั้น แทบไม่ได้รับความนิยมในทางใต้เลย โดยไม่ชนะในรัฐทางใต้แม้แต่รัฐเดียว นอกจากนี้รัฐจำนวน 10 จาก 15 รัฐทางใต้ไม่ยอมใส่ชื่อลิงคอล์นลงไปในบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำ[25] การหาเสียงของลิงคอล์นจึงเป็นการแสวงหาชัยชนะเด็ดขาดทางเหนือ ซึ่งมีดักลาสเป็นคู่แข่ง ในขณะที่ เบรกคินริดจ์ กับ เบลล์ ก็ไปแบ่งคะแนนเสียงกันทางใต้ ลิงคอล์นจึงกวาดคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง (electoral vote) ไปแบบท่วมท้น และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง 1860 แม้ว่าจะได้รับคะแนนนิยมทั่วประเทศเพียงแค่ 40%[26] กลายเป็นผู้สมัครพรรคริพับลิกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 ถูกปลดจากยศบัญชาการในยศร้อยเอก และถูกเกณฑ์ใหม่ในยศพลทหาร

อ้างอิง

  1. Carpenter, Francis B. (1866). Six Months in the White House: The Story of a Picture. Hurd and Houghton. p. 217.
  2. William A. Pencak (2009). Encyclopedia of the Veteran in America. ABC-CLIO. p. 222. ISBN 978-0-313-08759-2. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  3. Paul Finkelman; Stephen E. Gottlieb (2009). Toward a Usable Past: Liberty Under State Constitutions. U of Georgia Press. p. 388. ISBN 978-0-8203-3496-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  4. Randall (1947), pp. 65–87.
  5. Bulla (2010), p. 222.
  6. Nevins, Ordeal of the Union (Vol. IV), pp. 6–17.
  7. Donald (1996), p. 314
  8. Carwardine (2003), p. 178.
  9. Tagg, p. xiii.
  10. Donald (1996), pp. 315, 331–333, 338–339, 417.
  11. "Ranking Our Presidents" เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. James Lindgren. November 16, 2000. International World History Project.
  12. "Americans Say Reagan Is the Greatest President". Gallup Inc. February 28, 2011.
  13. "leavitt+lincoln"&source=web&ots=13iVWZoQKM&sig=h81o17hAbYDnrOUx1FYVMmd6anQ&hl=en#PPA459, M1 History of the Town of Hingham, Massachusetts, Vol. II, Thomas Tracy Bouve, Published by the Town, 1893
  14. The farm site is now preserved as part of Abraham Lincoln Birthplace National Historic Site.
  15. It is now in Spencer County, Indiana.
  16. Donald, (1995) pp. 28, 152.
  17. Lincoln Trail Homestead State Park
  18. Abraham Lincoln, The Physical Man
  19. Faragher, John Mack; และคณะ (2005). Out of Many: A History of the American People (Revised Printing (4th Ed) ed.). Englewood Cliffs, N.J: Prentice Hall. p. 388. ISBN 0-13-195130-0.
  20. "Party Divisions of the House of Representatives". United States House of Representatives. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2017.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 Dunn & Regan 2015, p. 36.
  22. Burlingame, Michael (Sep 21, 2017). "ABRAHAM LINCOLN: CAMPAIGNS AND ELECTIONS". Miller Center (UVA).
  23. Catton 1960, p. 18.
  24. Catton 1960, pp. 13, 16.
  25. SCHULTEN, Susan (Nov. 10, 2010). "How (and Where) Lincoln Won". The New York TImes. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  26. ibid.

บรรณานุกรม

  • Adams, Charles F. (April 1912). "The Trent Affair". The American Historical Review. The University of Chicago Press. 17 (3): 540–562. doi:10.2307/1834388. JSTOR 1834388.
  • Ambrose, Stephen E. (1962). Halleck: Lincoln's Chief of Staff. Louisiana State University Press. OCLC 1178496.
  • Baker, Jean H. (1989). Mary Todd Lincoln: A Biography. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-30586-9.
  • Bartelt, William E. (2008). There I Grew Up: Remembering Abraham Lincoln's Indiana Youth. Indianapolis: Indiana Historical Society Press. p. 79. ISBN 978-0-87195-263-9.
  • Basler, Roy Prentice, บ.ก. (1946). Abraham Lincoln: His Speeches and Writings. World Publishing. OCLC 518824.
  • Basler, Roy P., บ.ก. (1953). The Collected Works of Abraham Lincoln. Vol. 5. Rutgers University Press.
  • Belz, Herman (1998). Abraham Lincoln, Constitutionalism, and Equal Rights in the Civil War Era. Fordham University Press. ISBN 978-0-8232-1769-4.
  • Belz, Herman (2006). "Lincoln, Abraham". ใน Frohnen, Bruce; Beer, Jeremy; Nelson, Jeffrey O (บ.ก.). American Conservatism: An Encyclopedia. ISI Books. ISBN 978-1-932236-43-9.
  • Bennett Jr, Lerone (February 1968). "Was Abe Lincoln a White Supremacist?". Ebony. Vol. 23 no. 4. Johnson Publishing. ISSN 0012-9011.
  • Blue, Frederick J. (1987). Salmon P. Chase: a life in politics. The Kent State University Press. ISBN 0-87338-340-0.
  • Boritt, Gabor (1994) [1978]. Lincoln and the Economics of the American Dream. University of Illinois Press. ISBN 0-252-06445-3.
  • Bulla, David W.; Gregory A. Borchard (2010). Journalism in the Civil War Era. Peter Lang Publishing Inc. ISBN 1-4331-0722-8.
  • Burlingame, Michael (2008). Abraham Lincoln: A Life. Vol. I. Baltimore, MD: Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8993-6.
  • Burlingame, Michael (Sep 21, 2017). "ABRAHAM LINCOLN: CAMPAIGNS AND ELECTIONS". Miller Center (UVA).
  • Carwardine, Richard J. (Winter 1997). "Lincoln, Evangelical Religion, and American Political Culture in the Era of the Civil War". Journal of the Abraham Lincoln Association. Abraham Lincoln Association. 18 (1): 27–55.
  • Carwardine, Richard (2003). Lincoln. Pearson Education Ltd. ISBN 978-0-582-03279-8.
  • Cashin, Joan E. (2002). The War Was You and Me: Civilians in The American Civil War. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-09173-0.
  • Chesebrough, David B. (1994). No Sorrow Like Our Sorrow. Kent State University Press. ISBN 978-0-87338-491-9.
  • Cox, Hank H. (2005). Lincoln And The Sioux Uprising of 1862. Cumberland House Publisher. ISBN 978-1-58182-457-5.
  • Cummings, William W.; James B. Hatcher (1982). Scott Specialized Catalogue of United States Stamps. Scott Publishing Company. ISBN 0-89487-042-4.
  • Dennis, Matthew (2002). Red, White, and Blue Letter Days: an American Calendar. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-7268-8.
  • Diggins, John P. (1986). The Lost Soul of American Politics: Virtue, Self-Interest, and the Foundations of Liberalism. University of Chicago Press. ISBN 0-226-14877-7.
  • Dirck, Brian R. (2007). Lincoln Emancipated: The President and the Politics of Race. Northern Illinois University Press. ISBN 978-0-87580-359-3.
  • Dirck, Brian (2008). Lincoln the Lawyer. University of Illinois Press. ISBN 978-0-252-07614-5.
  • Donald, David Herbert (1948). Lincoln's Herndon. A. A. Knopf. OCLC 186314258.
  • Donald, David Herbert (1996) [1995]. Lincoln. Simon and Schuster. ISBN 978-0-684-82535-9. online
  • Donald, David Herbert (2001). Lincoln Reconsidered. Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-375-72532-6. online
  • Douglass, Frederick (2008). The Life and Times of Frederick Douglass. Cosimo Classics. ISBN 1-60520-399-8.
  • Dunne, Jemima; Regan, Regan, eds. (2015). The Civil War: A Visual History. Penguin Random House. {{cite book}}: |first2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Edgar, Walter B. (1998). South Carolina: A History. University of South Carolina Press. ISBN 978-1-57003-255-4.
  • Fish, Carl Russell (October 1902). "Lincoln and the Patronage". American Historical Review. American Historical Association. 8 (1): 53–69. doi:10.2307/1832574. JSTOR 1832574.
  • Foner, Eric (1995) [1970]. Free Soil, Free Labor, Free Men: The Ideology of the Republican Party before the Civil War. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-509497-8.
  • Foner, Eric (2010). The Fiery Trial: Abraham Lincoln and American Slavery. W.W. Norton. ISBN 978-0-393-06618-0.
  • Goodwin, Doris Kearns (2005). Team of Rivals: The Political Genius of Abraham Lincoln. Simon & Schuster. ISBN 0-684-82490-6.
  • Goodrich, Thomas (2005). The Darkest Dawn: Lincoln, Booth, and the Great American Tragedy. Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34567-7.
  • Graebner, Norman (1959). "Abraham Lincoln: Conservative Statesman". The Enduring Lincoln: Lincoln Sesquicentennial Lectures at the University of Illinois. University of Illinois Press. OCLC 428674.
  • Grimsley, Mark (2001). The Collapse of the Confederacy. University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-2170-3.
  • Guelzo, Allen C. (1999). Abraham Lincoln: Redeemer President. W.B. Eerdmans Publishing. ISBN 0-8028-3872-3.
  • Guelzo, Allen C. (2004). Lincoln's Emancipation Proclamation: The End of Slavery in America. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-2182-5.
  • Handy, James S. (1917). Book Review: Abraham Lincoln, the Lawyer-Statesman. Northwestern University Law Publication Association.
  • Harrison, J. Houston (1935). Settlers by the Long Grey Trail. J.K. Reubush. OCLC 3512772.
  • Harrison, Lowell Hayes (2000). Lincoln of Kentucky. University Press of Kentucky. ISBN 0-8131-2156-6.
  • Harris, William C. (2007). Lincoln's Rise to the Presidency. University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-1520-9.
  • Havers, Grant N. (2009). Lincoln and the Politics of Christian Love. University of Missouri Press. ISBN 0-8262-1857-1.
  • Heidler, David S.; Heidler, Jeanne T., บ.ก. (2000). Encyclopedia of the American Civil War: A Political, Social, and Military History. W. W. Norton & Company, Inc. ISBN 978-0-393-04758-5.
  • Heidler, David Stephen (2006). The Mexican War. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0-313-32792-6.
  • Hofstadter, Richard (October 1938). "The Tariff Issue on the Eve of the Civil War". American Historical Review. American Historical Association. 44 (1): 50–55. doi:10.2307/1840850. JSTOR 1840850.
  • Holzer, Harold (2004). Lincoln at Cooper Union: The Speech That Made Abraham Lincoln President. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-9964-0.
  • Jaffa, Harry V. (2000). A New Birth of Freedom: Abraham Lincoln and the Coming of the Civil War. Rowman & Littlefield. ISBN 0-8476-9952-8.
  • Kelley, Robin D. G.; Lewis, Earl (2005). To Make Our World Anew: Volume I: A History of African Americans to 1880. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-804006-4.
  • Lamb, Brian; Swain, Susan, บ.ก. (2008). Abraham Lincoln: Great American Historians on Our Sixteenth President. PublicAffairs. ISBN 978-1-58648-676-1.
  • Lupton, John A. (September–October 2006). "Abraham Lincoln and the Corwin Amendment". Illinois Heritage. The Illinois State Historical Society. 9 (5): 34.
  • Luthin, Reinhard H. (July 1994). "Abraham Lincoln and the Tariff". American Historical Review. 49 (4): 609–629. doi:10.2307/1850218. JSTOR 1850218.
  • McClintock, Russell (2008). Lincoln and the Decision for War: The Northern Response to Secession. The University of North Carolina Press.. Online preview.
  • Madison, James H. (2014). Hoosiers: A New History of Indiana. Bloomington and Indianapolis: Indiana University Press and Indiana Historical Society Press. p. 110. ISBN 978-0-253-01308-8.
  • Mansch, Larry D. (2005). Abraham Lincoln, President-Elect: The Four Critical Months from Election to Inauguration. McFarland. ISBN 0-7864-2026-X.
  • McGovern, George S. (2008). Abraham Lincoln. Macmillan. ISBN 978-0-8050-8345-3.
  • McKirdy, Charles Robert (2011). Lincoln Apostate: The Matson Slave Case. Univ. Press of Mississippi. ISBN 978-1-60473-987-9.
  • McPherson, James M. (1992). Abraham Lincoln and the Second American Revolution. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-507606-6.
  • McPherson, James M. (1993). Battle Cry of Freedom: The Civil War Era. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516895-2.
  • McPherson, James M. (2009). Abraham Lincoln. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-537452-0.
  • Miller, William Lee (2002). Lincoln's Virtues: An Ethical Biography (Vintage Books ed.). New York: Random House/Vintage Books. ISBN 0-375-40158-X.
  • Neely, Mark E. (1992). The Fate of Liberty: Abraham Lincoln and Civil Liberties. Oxford University Press. pp. 3–31.
  • Neely Jr., Mark E. (December 2004). "Was the Civil War a Total War?". Civil War History. 50 (4): 434–458. doi:10.1353/cwh.2004.0073.
  • Nevins, Allan (1947–71). Ordeal of the Union; 8 vol. Scribner's. ISBN 978-0-684-10416-4.
    • Nevins, Allan (1950). The Emergence of Lincoln: Prologue to Civil War, 1857–1861 2 vol. Scribner's. ISBN 978-0-684-10416-4., also published as vol 3–4 of Ordeal of the Union
    • Nevins, Allan (1960–1971). The War for the Union; 4 vol 1861–1865. Scribner's. ISBN 978-1-56852-297-5.; also published as vol 5–8 of Ordeal of the Union
  • Nichols, David A. (2010). Richard W. Etulain (บ.ก.). Lincoln Looks West: From the Mississippi to the Pacific. Southern Illinois University. ISBN 0-8093-2961-1.
  • Noll, Mark (2000). America's God: From Jonathan Edwards to Abraham Lincoln. Oxford University Press. ISBN 0-19-515111-9.
  • Oates, Stephen B. (1993). With Malice Toward None: a Life of Abraham Lincoln. HarperCollins. ISBN 978-0-06-092471-3.
  • Paludan, Phillip Shaw (1994). The Presidency of Abraham Lincoln. University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-0671-9.
  • Parrillo, Nicholas (September 2000). "Lincoln's Calvinist Transformation: Emancipation and War". Civil War History. Kent State University Press. 46 (3): 227–253. doi:10.1353/cwh.2000.0073.
  • Peterson, Merrill D. (1995). Lincoln in American Memory. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-509645-3.
  • Potter, David M.; Don Edward Fehrenbacher (1976). The impending crisis, 1848–1861. HarperCollins. ISBN 978-0-06-131929-7.
  • Prokopowicz, Gerald J. (2008). Did Lincoln Own Slaves?. Vintage Books. ISBN 978-0-307-27929-3.
  • Randall, James G. (1947). Lincoln, the Liberal Statesman. Dodd, Mead. OCLC 748479.
  • Randall, J.G.; Current, Richard Nelson (1955). Last Full Measure. Lincoln the President. Vol. IV. Dodd, Mead. OCLC 5852442.
  • Sandburg, Carl (1926). Abraham Lincoln: The Prairie Years. Harcourt, Brace & Company. OCLC 6579822.
  • Sandburg, Carl (2002). Abraham Lincoln: The Prairie Years and the War Years. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 0-15-602752-6.
  • Schwartz, Barry (2000). Abraham Lincoln and the Forge of National Memory. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-74197-0.
  • Schwartz, Barry (2009). Abraham Lincoln in the Post-Heroic Era: History and Memory in Late Twentieth-Century America. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-74188-8.
  • Scott, Kenneth (September 1948). "Press Opposition to Lincoln in New Hampshire". The New England Quarterly. The New England Quarterly, Inc. 21 (3): 326–341. doi:10.2307/361094. JSTOR 361094.
  • Sherman, William T. (1990). Memoirs of General W.T. Sherman. BiblioBazaar. ISBN 1-174-63172-4.
  • Simon, Paul (1990). Lincoln's Preparation for Greatness: The Illinois Legislative Years. University of Illinois. ISBN 0-252-00203-2.
  • Smith, Robert C. (2010). Conservatism and Racism, and Why in America They Are the Same. State University of New York Press. ISBN 978-1-4384-3233-5.
  • Steers, Edward (2010). The Lincoln Assassination Encyclopedia. Harper Collins. ISBN 0-06-178775-2.
  • Striner, Richard (2006). Father Abraham: Lincoln's Relentless Struggle to End Slavery. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518306-1.
  • Tagg, Larry (2009). The Unpopular Mr. Lincoln:The Story of America's Most Reviled President. Savas Beatie. ISBN 978-1-932714-61-6.
  • Taranto, James; Leonard Leo (2004). Presidential Leadership: Rating the Best and the Worst in the White House. Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-5433-5.
  • Tegeder, Vincent G. (June 1948). "Lincoln and the Territorial Patronage: The Ascendancy of the Radicals in the West". Mississippi Valley Historical Review. Organization of American Historians. 35 (1): 77–90. doi:10.2307/1895140. JSTOR 1895140.
  • Thomas, Benjamin P. (2008). Abraham Lincoln: A Biography. Southern Illinois University. ISBN 978-0-8093-2887-1. online
  • Trostel, Scott D. (2002). The Lincoln Funeral Train: The Final Journey and National Funeral for Abraham Lincoln. Cam-Tech Publishing. ISBN 978-0-925436-21-4.
  • Vorenberg, Michael (2001). Final Freedom: the Civil War, the Abolition of Slavery, and the Thirteenth Amendment. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65267-4.
  • Warren, Louis A. (1991). Lincoln's Youth: Indiana Years, Seven to Twenty-One, 1816–1830. Indianapolis: Indiana Historical Society. ISBN 0-87195-063-4.
  • White Jr., Ronald C. (2009). A. Lincoln: A Biography. Random House, Inc. ISBN 978-1-4000-6499-1.
  • Wills, Garry (1993). Lincoln at Gettysburg: The Words That Remade America. Simon & Schuster. ISBN 0-671-86742-3.
  • Wilson, Douglas L. (1999). Honor's Voice: The Transformation of Abraham Lincoln. Knopf Publishing Group. ISBN 978-0-375-70396-6.
  • Winkle, Kenneth J. (2001). The Young Eagle: The Rise of Abraham Lincoln. Taylor Trade Publications. ISBN 978-0-87833-255-7.
  • Zarefsky, David S. (1993). Lincoln, Douglas, and Slavery: In the Crucible of Public Debate. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-97876-5.

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า เอบราแฮม ลิงคอล์น ถัดไป
เจมส์ บิวแคนัน    
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 16
(4 มีนาคม พ.ศ. 2404 - 15 เมษายน พ.ศ. 2408)
  แอนดรูว์ จอห์นสัน