พรรครักประเทศไทย
พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[1] โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
พรรครักประเทศไทย | |
---|---|
หัวหน้า | สุรพนธ์ เวชกร (ทำหน้าที่แทน) |
เลขาธิการ | ว่าง |
ก่อตั้ง | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 |
ยุบ | 22 เมษายน พ.ศ. 2562 |
ที่ทำการ | 188 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
เว็บไซต์ | |
http://www.chuvitonline.com | |
โฆษก | วินัย ตั้งใจ |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
คณะกรรมการบริหารพรรคแก้ไข
พรรครักประเทศไทย มีคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 8 คน ได้แก่
- ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย (พ้นสมาชิกสภาพ 17 มกราคม พ.ศ. 2560)
- สุรพนธ์ เวชกร รองหัวหน้าพรรครักประเทศไทย
- ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรครักประเทศไทย (ลาออกเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555)[2]
- สุพัสรา นราแย้ม เลขาธิการพรรครักประเทศไทย (แต่งตั้ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2555)
- สมเพชร แต่งงาม รองเลขาธิการพรรครักประเทศไทย
- วุฒิชัย จันเกษม เหรัญญิกพรรครักประเทศไทย
- วินัย ตั้งใจ โฆษกพรรครักประเทศไทย
- วรเศรษฐ์ เที่ยงธรรม นายทะเบียนสมาชิกพรรครักประเทศไทย
- นิรันดร์ ศรีรุ่งเรือง กรรมการบริหารพรรครักประเทศไทย
รูปภาพแก้ไข
การเลือกตั้งแก้ไข
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554แก้ไข
การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 พรรครักประเทศไทยถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยนายชูวิทย์ผู้เป็นหัวหน้าพรรค มีเป้าจะส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อแค่ 10 คน โดยไม่ส่งผู้สมัครลงแบบเขต เพราะต้องการให้คนไทยทั้งประเทศเลือกพรรค โดยมีเข้าไปเป็นฝ่ายค้านตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล[3] และได้รับเลือกตั้งจำนวน 4 ที่นั่ง ในสภาผู้แทนราษฎร
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พรรครักประเทศไทย ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่างนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ กับนายชูวิทย์ ในกรณีที่นายชัยวัฒน์ ลงมติไว้วางใจพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก และมีความสนิทสนมกับนายจตุพร พรหมพันธ์ โดยนายชูวิทย์ แจ้งเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่านายชัยวัฒน์ และนายโปรดปราน โต๊ะราหนี ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค[4] แต่นายโปรดปราน ปฏิเสธว่าไม่ได้ลาออกจากพรรคแต่อย่างใด[5] มีเพียงนายชัยวัฒน์ ที่ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค
ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2555 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรครักประเทศไทย มีการลงมติแตกต่างกัน คือ นายชัยวัฒน์ และนายโปรดปราน ลงมติไว้วางใจ ส่วนนายชูวิทย์ และนายสมเพชร ลงมติเห็นชอบด้วยกับฝ่ายค้าน (ไม่ไว้วางใจ)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปรากฎว่านายโปรดปราน โต๊ะราหนี อดีตสมาชิกพรรคได้ลงสมัครเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อในนามพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2557แก้ไข
พรรครักประเทศไทย ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีหมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 3
ประวัติการทำงานในรัฐสภาแก้ไข
ครั้งที่ | การเลือกตั้ง | จำนวน ส.ส. | สถานภาพพรรค | นายกรัฐมนตรี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1. | 2554 | 4 คน | ฝ่ายค้าน | น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรครักประเทศไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรครักประเทศไทย (จำนวน 7 ราย)
- ↑ [ลิงก์เสีย] ชูวิทย์เปิดตัวพรรครักประเทศไทย จากครอบครัวข่าว 3
- ↑ "ชูวิทย์"ยื่นหนังสือ กกต. หลัง"ชัยวัฒน์-โปรดปราน"ลาออกสมาชิกพรรค[ลิงก์เสีย]
- ↑ “โปรดปราน”วอนพรรคจับเข่าคุยแก้ปัญหา