ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ

ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (อังกฤษ: party-list proportional representation) หรือ ปาร์ตีลิสต์ (party list) เป็นระบบการลงคะแนนที่กำหนดให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง โดยแต่ละพรรคการเมืองได้จัดทำบัญชีรายชื่อของผู้สมัครไว้ เมื่อพรรคใดได้รับเลือก ผู้สมัครที่อยู่ในบัญชีของพรรคนั้นก็จะได้รับเลือกตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ โดยระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งกับระบบสมาชิกเพิ่มเติม (additional member system)[1]

โปสเตอร์หาเสียงแสดงบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเลือกตั้งสภายุโรป ค.ศ. 2004 ในอิตาลี

ในระบบการลงคะแนนเหล่านี้ พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะจัดทำรายชื่อผู้สมัครไว้ โดยพรรคการเมืองจะได้รับจัดสรรจำนวนที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ โดยผู้ลงคะแนนอาจลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองได้เลย เช่นในแอลเบเนีย อาร์เจนตินา ตุรกี และอิสราเอล หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ลงคะแนนให้ผู้สมัครซึ่งคะแนนเสียงจะมารวมกันเป็นคะแนนเสียงของพรรค ดั่งในฟินแลนด์ บราซิล และเนเธอร์แลนด์ หรือลงคะแนนให้กับรายชื่อผู้สมัคร เช่นในฮ่องกง[2] หรือแม้แต่ลงคะแนนให้เลือกระหว่างสองวิธีหลังนี้ดั่งในลักเซมเบิร์ก ("ปานาชาฌ" กับบัญชีรายชื่อ)[3]

การจัดสรรที่นั่ง แก้

การจัดสรรที่นั่งในระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยวิธีหลักที่ใช้กันมากสองวิธีได้แก่

ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อยังสามารถใช้ได้ในแบบลูกผสม (ไฮบริด) เช่น ระบบเสริมสมาชิก

วิธีการจัดสรรที่นั่งหลักได้แก่[4]

ในขณะที่การเลือกใช้สูตรคำนวณนั้นมีความสำคัญ อีกเรื่องที่ไม่แพ้กันคือ ขนาดของเขตเลือกตั้ง (จำนวนที่นั่งของแต่ละเขตเลือกตั้ง) ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด ยิ่งทำให้ระบบการลงคะแนนเป็นสัดส่วนมากขึ้นเท่านั้น โดยหากจะให้เป็นสัดส่วนมากที่สุดคือเมื่อไม่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยถือว่าทั้งประเทศคือเขตเลือกตั้งเดียว นอกจากนั้นในบางประเทศ ระบบการลงคะแนนแบ่งออกเป็นสองระดับ ระดับประเทศสำหรับพรรคการเมือง และระดับเขตเลือกตั้งสำหรับผู้สมัคร พร้อมทั้งบัญชีรายชื่อซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของระดับประเทศ ในกรณีนี้ ขนาดของเขตเลือกตั้งนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องหากการจัดสรรที่นั่งนั้นคำนวณมาจากคะแนนเสียงระดับประเทศ

บัญชีรายชื่อ แก้

ลำดับในบัญชีรายชื่อนั้นมีความสำคัญต่อผู้สมัครในบัญชีนั้นมีผล โดยอาจจะถูกกำหนดโดยวิธีการภายในของแต่ละพรรค (บัญชีปิด) หรืออาจจะเลือกโดยผู้ลงคะแนนทั้งหมด (บัญชีเปิด) หรือบัญชีที่แตกต่างกันในแต่ละเขต (บัญชีท้องถิ่น) โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

บัญชีรายชื่อแบบปิด แก้

ในระบบบัญชีปิด (close list) นั้น พรรคการเมืองจะเป็นผู้ทำบัญชีรายชื่อ จัดลำดับผู้สมัคร และส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครให้กับองค์กรกำกับการเลือกตั้ง บัญชีรายชื่ออาจจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ลงคะแนนเสียงทราบว่าผู้สมัครรายใดจะได้รับเลือกตามลำดับ ผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนให้แก่พรรคการเมืองเท่านั้น ไม่สามารถลงแยกเป็นรายผู้สมัครได้

บัญชีรายชื่อแบบเปิด แก้

ในระบบบัญชีเปิด (open list) ผู้ลงคะแนนเสียงมีสิทธิ์เลือกพรรคและเรียงลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อนั้น ๆ ตามความพอใจในผู้สมัครแต่ละคนได้ โดยมีหลายระดับตั้งแต่ ปิดบางส่วน ที่ผู้สมัครสามารถเลื่อนระดับขึ้นได้ถ้าได้รับจำนวนคะแนนเสียงจำนวนหนึ่ง จนถึง เปิดเต็มที่ ซึ่งลำดับในบัญชีนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามคะแนนเสียงที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคล

ในฝรั่งเศส ระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งระบบสัดส่วนจะต้องรวมผู้สมัครให้มากที่สุด (โดยมากถึงมีจำนวนตัวสำรองเป็นสองเท่าสำหรับการเลือกตั้งระดับจังหวัด) ตามลำดับที่มีให้ในบัญชีรายชื่อทั้งหมด ในขณะที่ในประเทศอื่น ๆ นั้นไม่จำเป็นจะต้องใส่ให้เต็มบัญชีก็ได้ ในระบบบัญชีเปิดนี้เรียกกันว่า "ปานาชาฌ"

บัญชีรายชื่อท้องถิ่น แก้

ในระบบบัญชีรายชื่อท้องถิ่น (local list) ผู้ลงคะแนนเสียงมีสิทธิ์เลือกผู้สมัครในท้องถิ่นของตนเอง ผู้สมัครที่มีอัตราผู้ออกเสียงมากที่สุดจะได้เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อตามลำดับ[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Proportional Representation Systems". mtholyoke.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-16.
  2. "Proportional Representation Open List Electoral Systems in Europe" (PDF). International Foundation for Electoral Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-24.
  3. "Système électoral du Grand-Duché de Luxembourg(fr)". elections.public.lu.
  4. Benoit, Kenneth. "Which Electoral Formula Is the MostProportional? A New Lookwith New Evidence" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-24.
  5. Wilson, Helen J. "The D'Hondt Method Explained" (PDF).
  6. การเลือกตั้งและระบบเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย], คณะทำงานศึกษาวิเคราะห์และติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ