การเลือกตั้งระบบสัดส่วน
การเลือกตั้งระบบสัดส่วน (อังกฤษ: proportional representation, ย่อ: PR) เป็นระบบการลงคะแนนที่แบ่งจำนวนผู้แทนที่ได้รับเลือกตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับทั่วประเทศ โดยคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนที่นั่งในสภา กล่าวคือ วิธีนี้ต้องการลดความแตกต่างระหว่างคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับจากคะแนนเสียงทั่วประเทศกับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[1] เช่น หากพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะได้รับคะแนนเสียงทั่วประเทศร้อยละ 40 พรรคการเมืองนั้นควรได้ที่นั่งราวร้อยละ 40 ของที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 ควรได้ที่นั่งร้อยละ 10 ของที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป โดยแต่ละประเทศสมาชิกมีจำนวนที่นั่งเป็นสัดส่วนประชากรในประเทศนั้น (โดยเฉลี่ย)
การเลือกตั้งระบบสัดส่วนมีหลายแบบย่อย โดยแบบที่นิยมใช้กันมากได้แก่ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง และระบบสัดส่วนผสม[2]
- ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (Party List PR) พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเลือกทั้งรายชื่อ โดยคะแนนรวมที่ได้คิดเป็นสัดส่วนแล้วจะนำมาคิดจำนวนผู้ได้รับการเลือกตั้ง โดยบัญชีรายชื่อมีทั้งแบบเปิด และแบบปิด บัญชีรายชื่อแบบปิดนั้นถูกเลือกหรือจัดลำดับโดยผู้บริหารพรรคผ่านกลไกต่าง ๆ ส่วนบัญชีรายชื่อแบบเปิดนั้นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกตัวผู้สมัครได้เอง
- แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเลือกผู้สมัครโดยใส่ลำดับความนิยมส่วนบุคคล (ลำดับ 1 ถึง....) แทนที่จะเลือกเพียงผู้สมัครรายเดียว ในระหว่างการนับคะแนน ผู้สมัครใดที่ได้รับเลือกแล้ว หรือไม่ได้รับเลือกนั้น คะแนนเสียงในส่วนของทั้งสมาชิกผู้ที่ได้รับเลือกไปแล้ว และผู้ที่ไม่ได้รับเลือกนั้นจะไม่เสียไป โดยจะถ่ายโอนไปยังผู้สมัครลำดับถัดไป โดยการเลือกตั้งระบบนี้ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้จากทุกพรรคการเมือง โดยเน้นที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรคในหลักการที่ว่าคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นจะไม่สูญไป
- ระบบสัดส่วนผสม (MMP) หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบเสริมสมาชิกเพิ่มเติม (AMS) เป็นระบบการเลือกตั้งผสมซึ่งใช้ทั้งระบบเสียงส่วนใหญ่ และระบบสัดส่วนซึ่งใช้สำหรับบัญชีรายชื่อระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ โดยผู้มิสิทธิ์เลือกตั้งจะมี 2 เสียง โดยหนึ่งเสียงสำหรับรายชื่อผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง และอีกเสียงสำหรับบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับเลือกในระดับเขตนั้น อาจจะได้รับเลือกในแบบบัญชีรายชื่อแทนได้ตามจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดในประเภทบัญชีรายชื่อ[3] [4]
จากรายงานของ ACE Electoral Knowledge Network[5] การเลือกตั้งระบบสัดส่วนถูกใช้ในการเลือกตั้งสภาล่างในระดับชาติทั้งหมด 94 ประเทศ โดยเป็นระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อถึง 85 ประเทศ ในขณะที่ระบบสัดส่วนผสมถูกใช้ในการเลือกตั้งสภาล่างใน 7 ประเทศ และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงถูกใช้ใน 2 ประเทศเท่านั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์[6] และประเทศมอลตา[7] นอกเหนือจากสภาล่างยังใช้ในวุฒิสภาของออสเตรเลีย และการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงยังสามารถใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบไม่แบ่งพรรคการเมืองได้ เช่นในกรณีของสภาเมืองเคมบริดจ์[8]
เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ และการกำหนดเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก รวมถึงวิธีการบิดเบือนผลการเลือกตั้ง เช่น การแยกพรรคการเมือง และการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ จึงทำให้สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบนั้นยากที่จะเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งระบบเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าเข้าใกล้ความเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบอื่นๆ[9] ในบางประเทศได้มีการใช้ที่นั่งชดเชยเพื่อปรับสมดุลให้กับตัวแปรเหล่านี้เพื่อยังคงความเป็นสัดส่วนไว้ให้ได้มากที่สุด
ข้อดีและข้อเสีย
แก้ความเป็นธรรม
แก้ระบบสัดส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมของระบบการลงคะแนนแบบเสียงข้างมากและระบบคะแนนนำซึ่งพรรคขนาดใหญ่นั้นจะได้รับที่นั่งมากเหมือนโบนัสที่ไม่เป็นธรรม และพรรคเล็กนั้นเสียเปรียบอันเนื่องมาจากไม่ได้ที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนที่ไรับจริงและในบางกรณีนั้นอาจจะไม่ได้รับเลยสักที่นั่งเดียว (ตามกฎของดูเวอร์เกอร์)[10] [11][12]: 6–7 พรรคการเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรสามารถที่จะชนะคะแนนเสียงได้อย่างล้นหลามและควบคุมสภาสามัญชนได้โดยใช้คะแนนเสียงแค่เพียงร้อยละ 35 ของคะแนนทั้งหมด (จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005) ในกรณีของการเลือกตั้งทั่วไปในแคนาดา รัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาลสามารถจัดตั้งได้โดยมีคะแนนเสียงรวมน้อยกว่าร้อยละ 40 (ในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในแคดานา ค.ศ. 2011 และค.ศ. 2015) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์น้อยกว่าร้อยละ 60 เมื่อใด พรรคการเมืองใหญ่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้โดยแค่ต้องการจำนวนคะแนนเสียงสนับสนุนเพียงแค่เศษหนึ่งส่วนสี่ของเขตเลือกตั้งเท่านั้น การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005 พรรคแรงงาน นำโดยโทนี แบลร์ได้รับเสียงข้างมากในสภาด้วยคะแนนเสียงทั้งหมดเพียงร้อยละ 21.6 ของคะแนนเสียงรวมจากเขตเลือกตั้งทั้งหมด[13]: 3 ซึ่งประเด็นในการผิดสัดส่วนในการจัดสรรผู้แทนนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า "ไม่ใช่แค่เรื่องความเป็นธรรมแล้วแต่เป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานของพลเมือง"[14]: 22 อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเสียงในระบบสัดส่วนที่มีการกำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำสูง หรือข้อกำหนดพิเศษที่ลดความเป็นสัดส่วนลงก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะให้ความเป็นธรรมได้มากกว่าเท่าใดนัก เช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในตุรกี ค.ศ. 2002 ซึ่งใช้ระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเปิดโดยมีคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 นั้นได้ผลลัพธ์เป็นคะแนนเสียงกว่าร้อยละ 46 นั้นเป็นคะแนนเสียเปล่า[3]: 83
ในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นยังช่วยให้พรรคการเมืองในท้องถิ่นนั้นสามารถชนะการเลือกตั้งในท้องถิ่นของตนได้จำนวนมากโดยเฉพาะในเขตท้องถิ่นที่ได้รับแรงสนับสนุนมาก แต่ไม่ใช่พรรคระดับประเทศ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ได้ความนิยมระดับประเทศและไม่ได้มุ่งเน้นในระดับท้องถิ่น เช่น พรรคกรีน มักจะได้ที่นั่งน้อยมากหรือไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น พรรคบล็อกเกเบกัวในแคนาดาซึ่งชนะกว่า 52 ที่นั่งแค่เพียงในรัฐควิเบกในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในแคนาดา ค.ศ. 1993 โดยมีคะแนนเสียงรวมเพียงร้อยละ 13.5 ของระดับประเทศ ในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมก้าวหน้าแห่งแคนาดาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในระดับประเทศ (ได้รับเพียง 2 ที่นั่ง) ด้วยคะแนนเสียงกระจายถึงร้อยละ 16 ของคะแนนทั้งหมด ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นถึงแม้จะเป็นที่นิยมในระดับประเทศซึ่งมีผู้สนับสนุนอยู่ในภาคตะวันตกแต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สนับสนุนเปลี่ยนไปเลือกพรรคปฏิรูปแทน ซึ่งพรรคปฏิรูปได้รับที่นั่งเป็นส่วนใหญ่ในแถบตะวันตกของรัฐซัสแคตเชวัน และไม่ได้เลยในรัฐแมนิโทบา[12][15] กรณีคล้ายคลึงกันกับการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2015 ซึ่งพรรคชาติสกอตได้ถึง 52 ที่นั่งจากทั่วสกอตแลนด์ โดยมีคะแนนเสียงในระดับประเทศเพียงแค่ร้อยละ 4.7 ในขณะที่พรรคเอกราชสหราชอาณาจักรได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 12.6 แต่ได้แค่เพียงที่นั่งเดียว[16]
เอื้อต่อพรรคขนาดเล็ก
แก้การใช้ระบบเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคนสามารถทำให้มีผู้แทนได้หลากหลาย ในเขตเลือกตั้งที่จำนวนผู้แทนมาก และจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ต้องการนั้นต่ำเท่าไรยิ่งจะช่วยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้ประโยชน์การระบบสัดส่วนได้มากขึ้น ซึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันในประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใหม่นั้น การมีพรรคขนาดเล็กจำนวนมากในสภานิติบัญญัติเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางสังคมและเพื่อทำให้กระบวนการประชาธิไตยนั้นแข็งแรงขึ้น[3]: 58
ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ในอีกด้านหนึ่งกล่าวว่าระบบนี้จะเป็นโอกาสให้พรรคหัวรุนแรงสุดโต่งสามารถเข้ามามีที่นั่งในสภาได้ ซึ่งบ้างว่าเป็นสาเหตุของการล่มสลายของสาธารณรัฐไวมาร์ ในระบบสัดส่วนที่กำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำต่ำมากนั้น พรรคการเมืองขนาดเล็ก ๆ หลายพรรคสามารถกลายเป็น "ผู้เลือกกษัตริย์"[17] (King-makers) ได้ง่ายดายโดยเพียงต่อรองกับพรรคการเมืองขนาดใหญ่แลกกับเสียงสนับสนุนเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเป็นข้อต่อรอง ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นในอิสราเอล[3]: 59 แต่ปัญหานี้สามารถจำกัดได้ดั่งที่ใช้ในบุนเดิสทาคของเยอรมนีในปัจจุบัน โดยมีกฎให้คะแนนขั้นต่ำของพรรคการเมืองที่ใช้ในการได้ที่นั่งในสภานั้นมีจำนวนสูง (ซึ่งในทางกลับกันทำให้มีปริมาณคะแนนเสียเปล่ามากขึ้น)
อีกข้อวิจารณ์คือระบบสัดส่วนทำให้พรรคการเมืองหลักขนาดใหญ่ในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมาก[18]นั้นแตกออกเนื่องจากระบบสัดส่วนจะได้ประโยชน์แก่พรรคการเมืองขนาดเล็ก โดยเห็นในตัวอย่างของอิสราเอล อิตาลี และบราซิลเป็นต้น[3]: 59, 89 แต่อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มจำนวนของพรรคการเมืองในสภาไม่มากนักจากระบบสัดส่วนนี้ (แต่ละพรรคเล็กได้ที่นั่งมากขึ้น)[19]
ในระบบการลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อเปิด (open list) และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงเป็นเพียงแบบย่อยของระบบสัดส่วนที่พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น[20] ทำให้ผู้สมัครอิสระนั้นสามารถได้รับเลือกตั้งโดยง่าย ในไอร์แลนด์ มีผู้สมัครอิสระประมาณหกคนได้รับเลือกเข้าสภาโดยเฉลี่ยทุกสมัย[21] ทำให้ในการหาแนวร่วมในสภานั้นจะต้องนำผู้แทนอิสระนี้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเสมอ ในบางกรณีผู้แทนอิสระเหล่านี้อยู่ในสถานะใกล้ชิดกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยรัฐบาลไอริชในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2016 นั้นรวมผู้แทนอิสระในรายชื่อของรัฐมนตรีในรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วย
รัฐบาลแบบพรรคร่วม
แก้การได้รับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมากกลายเป็นข้อโต้แย้งหลักของระบบสัดส่วนซึ่งจะทำให้เกิดรัฐบาลพรรคร่วมทุกครั้ง[3]: 59 [22]
ผู้สนับสนุนระบบสัดส่วนมองพรรคร่วมรัฐบาลเป็นข้อได้เปรียบ โดยทำให้มีการประนีประนอมกันในระหว่างต่างพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมตรงกลางของสเปกตรัมการเมือง และทำให้มีความต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ส่วนผู้ต่อต้านระบบนี้เห็นว่าในหลายนโยบายนั้นไม่สามารถจะรอมชอมกันได้ เนื่องจากแต่ละนโยบายไม่สามารถจะจัดแบ่งขั้วได้ง่ายดาย (ตัวอย่างเช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม) ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ กลายเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการร่วมรัฐบาลแทนซึ่งทำให้ผู้ลงคะแนนไม่มีทางรู้ได้เลยว่านโยบายใดจะได้รับการผลักดันจากรัฐบาลที่พวกเขาเลือกมา กล่าวคือผู้ลงคะแนนมีอิทธิพลน้อยต่อรัฐบาล เช่นกัน การร่วมรัฐบาลนั้นจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป และพรรคการเมืองขนาดเล็กก็จะมีอิทธิพลมากโดยต่อรองการร่วมรัฐบาลด้วยข้อแม้ว่านโยบายต่าง ๆ ของพรรคเล็กที่มาจากผู้สนับสนุนจำนวนน้อยจะต้องเป็นผล สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสามารถที่ผู้ลงคะแนนสนับสนุนพรรคการเมืองถูกตัดทอนลงไป[22]
ด้วยข้อเสียต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ผู้ต่อต้านระบบสัดส่วนโต้แย้งว่าในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นช่วยหลีกเลี่ยงประเด็นเหล่านี้ได้ ซึ่งในกรณีนี้การร่วมรัฐบาลนั้นแทบไม่เกิดขึ้น โดยพรรคการเมืองหลักสองพรรคจะต้องแข่งขันกันอยู่ตรงกลางของสเปกตรัมเพื่อคะแนนเสียงทำให้รัฐบาลที่ได้นั้นอยู่จะต้องอยู่ตรงกลาง พรรคฝ่ายค้านที่ได้ก็มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบรัฐบาล และรัฐบาลนั้นก็จะต้องรับฟังเสียงของประชาชนอยู่เสมอเพราะสามารถจะสลับขั้วได้โดยการเลือกตั้งเสมอ[22] อย่างไรก็ตามไม่ได้เป็นไปตามกรณีนี้เสมอ ในการเมืองระบบสองพรรคนั้นสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนข้างไปอย่างสุดโต่งออกไปจากตรงกลางได้[23] หรืออย่างน้อยพรรคใดพรรคหนึ่งจะกลายเป็นพรรคนโยบายสุดโต่งได้[24] เหล่าผู้ต่อต้านระบบสัดส่วนยังโต้แย้งอีกว่ารัฐบาลพรรคร่วมในระบบสัดส่วนนั้นไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้งบ่อยขึ้น ดังตัวอย่างสำคัญคืออิตาลี ซึ่งมีหลายรัฐบาลอันประกอบไปด้วยพรรคเล็กพรรคพรรคน้อยประกอบเป็นพรรคร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตามในอิตาลีนั้นผิดปกติตรงที่ทั้งสองสภานั้นสามารถทำให้สภาล่มได้ ในขณะที่ในประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบสัดส่วนมีเพียงสภาเดียวหรือใช้แค่เพียงสภาเดียวจากสองสภาเป็นหลักเพื่อสนับสนุนรัฐบาล ในอิตาลีนั้นใช้การลงคะแนนระบบผสมระหว่างแบบคะแนนนำแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดกับระบบสัดส่วนตั้งแต่ปีค.ศ. 1993 อันประกอบด้วยกฎเกณฑ์ซับซ้อนจึงทำให้อิตาลีไม่ใช้ตัวอย่างที่ดีของระบบสัดส่วนที่มีเสถียรภาพ
การมีส่วนร่วมของผู้ลงคะแนน
แก้ในระบบคะแนนนำส่วนมากจะทำให้เกิดรัฐบาลพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมากในสภาเนื่องจากพรรคเล็กจะไม่ค่อยได้รับเลือกในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนแล้ว โดยระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดนั้นมักจะทำให้การเมืองเหลือเพียงพรรคใหญ่ไม่กี่พรรคและมีโอกาสที่คะแนนเสียงเพียงเล็กน้อยจะพลิกผลการเลือกตั้งได้แบบในกรณีของ "ที่นั่งแกว่ง" ซึ่งสามารถเปลี่ยนเสียงข้างมากในสภาจากพรรคหนึ่งไปอีกพรรคหนึ่งได้ โดยในระบบคะแนนนำผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันนั้นมักจะครองที่นั่งและมักจะถูกโค่นลงยาก ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เขตเลือกตั้งประมาณครึ่งหนึ่งมักจะเลือกผู้แทนสังกัดพรรคการเมืองเดิมตั้งแต่ค.ศ. 1945[25] ในปีค.ศ. 2012 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีเพียงแค่ 45 เขต (คิดเป็นร้อยละ 10) ที่สามารถถูกเอาชนะโดยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้[26] ผู้ลงคะแนนส่วนมากจะรู้ว่าคะแนนเสียงตัวเองต่อผู้สมัครที่มีแนวโน้มจะแพ้นั้นไม่มีแรงจูงใจในการไปลงคะแนน หรือหากไปลงคะแนนก็เทียบกับไม่มีประโยชน์อันใด เพราะคะแนนสูญ (ไม่มีค่า) ถึงแม้จะนำคะแนนมาคิดคะแนนรวมก็ตาม (ป็อปปูลาร์ โหวต)
ในระบบสัดส่วน จะไม่เกิดปัญหาเรื่องที่นั่งแกว่ง เพราะคะแนนเสียงทั้งหมดจะมีส่วนในผลการเลือกตั้งทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นพรรคการเมืองจะต้องทำการหากเสียงในทุกเขตเลือกตั้ง ไม่เพียงเฉพาะเขตที่ได้รับการสนับสนุนหรือเขตที่ได้เปรียบเท่านั้น โดยพบว่ามีส่วนทำให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อผู้ลงคะแนน และส่งผลให้การเลือกตั้งมีความสมดุลมากขึ้นโดยส่งชื่อผู้สมัครที่เป็น"สตรี" หรือผู้สมัครจากชนกลุ่มน้อย เป็นต้น โดยจากค่าเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 8 ของสตรีได้รับเลือกมากขึ้นในระบบการลงคะแนนนี้[19]
เนื่องจากทุกคะแนนจะมีผลต่อการเลือกตั้ง จึงแทบไม่มีคะแนนสูญเลย จึงทำให้ผู้ลงคะแนนย่อมตระหนักว่าการลงคะแนนมีความหมายและสามารถสร้างความแตกต่างได้ จึงส่งผลให้มีแรงจูงใจในการไปเลือกตั้ง และเกิดปัญหาการเลือกตั้งเชิงกลยุทธ์น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบคะแนนนำนั้น จำนวนผู้มาใช้สิทธิมีสูงกว่า และประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการทางการเมือง[3][12][19] อย่างไรก็ดีเหล่าผู้เชี่ยวชาญได้โต้แย้งว่าการเปลี่ยนผ่านจากระบบคะแนนนำไปเป็นระบบสัดส่วนนั้นสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้สิทธิได้แค่ในเขตเลือกตั้งที่สามารถคาดคะเนผู้ชนะได้ (safe seat) ในขณะที่ระบบคะแนนนำจำนวนผู้ใช้สิทธิจะลดลงในบริเวณที่เคยมีปัญหาที่นั่งแกว่ง[27]
การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบไม่เป็นธรรม
แก้ในระบบคะแนนนำนั้น หัวใจของความเป็นสัดส่วนอยู่ที่การแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนหนึ่งคน (single-member districts) โดยขนาดประชากร ซึ่งขั้นตอนนี้มีความเปราะบางต่อการละเมิดโดยอิทธิพลทางการเมือง (การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ หรือ "Gerrymandering") โดยเพื่อจะแก้ปัญหานี้การแบ่งเขตเลือกตั้งจะต้องปรับตามขนาดการขยายตัวประชากรในเขตนั้นอยู่เสมอ โดยแม้แต่จะแบ่งเขตอย่างเป็นธรรมแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อปัญหานี้อย่างไม่ตั้งใจอันเป็นผลมาจากการรวมกลุ่มของประชากรทางธรรมชาติ[28]: 65
ในระบบสัดส่วนแบบที่มีผู้แทนหลายคนต่อหนึ่งเขตนั้นมีภูมิต้านทานกับปัญหานี้ได้มากกว่าโดยผลการวิจัยระบุว่าเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนห้าคนหรือมากกว่าจะป้องกันปัญหาการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบได้ดี[28]: 66
เนื่องจากความเท่ากันในขนาดของเขตเลือกตั้งในการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคนนั้นไม่สำคัญ (จำนวนที่นั่งผันแปร) ดังนั้นแต่ละเขตเลือกตั้งสามารถแบ่งตามอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ได้โดยง่าย เช่น เมือง เคาน์ตี รัฐ หรือจังหวัด เป็นต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับจำนวนประชากรในอนาคตก็แค่ปรับเพิ่มหรือลดจำนวนผู้แทนในเขตนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ในแผนของศาสตราจารย์มอลลิสันในปีค.ศ. 2010 ที่เสนอให้สหราชอาณาจักรใช้ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นได้แบ่งสหราชอาณาจักรเป็น 143 เขต และกำหนดจำนวนผู้แทนจำนวนแตกต่างกันในแต่ละเขต (โดยรวมทั้งหมด 650 คนเท่าปัจจุบัน) โดยขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นโดยมีพิสัยค่อนข้างกว้าง (เขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนห้าคนมีเขตที่มีประชากร 327,000 คน และอีกเขตถึง 382,000 คน) โดยในแผนนี้ได้แบ่งเขตเลือกตั้งตามเขตเคาน์ตี และเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้ได้จำนวนสัดส่วนที่ถูกต้องมากกว่าที่ทำโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนซึ่งมีหน้าที่ตรงในการแบ่งเขตเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP)[25][29]
ส่วนในระบบการลงคะแนนแบบผสมนั้นก็ยังมีเสี่ยงต่อการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในแบบที่มีการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ในระบบคู่ขนาน ซึ่งเป็นระบบการเลือกตั้งแบบกึ่งสัดส่วนนั้นไม่มีกลไกในการชดเชยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเอาเปรียบในการแบ่งหน่วยเลือกตั้งได้ ส่วนในระบบสัดส่วนผสม (MMP) เนื่องจากมีกลไกสำคัญคือการชดเชยที่นั่งจึงไม่เป็นปัญหามากนัก อย่างไรก็ตามความมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละระบบ รวมถึงขนาดของเขตเลือกตั้ง สัดส่วนของจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อต่อที่นั่งทั้งหมด และปัญหาเรื่องความสมรู้ร่วมคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นจาการใช้ประโยชน์อย่างผิดวัตถุประสงค์ในกลไกการชดเชยที่นั่งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปในฮังการี ค.ศ. 2014 ซึ่งพรรคการเมืองผู้นำ คือ Fidesz ใช้กลยุทธ์การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบร่วมกับบัญชีรายชื่อแบบตัวแทน (decoy list) ทำให้ได้มาซึ่งสองในสามของที่นั่งทั้งหมดในสภาโดยได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 45 เท่านั้น[30][31] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบสัดส่วนผสมนั้นสามารถทำให้ได้ผลลัพธ์แบบที่ไม่ค่อยเป็นสัดส่วนมากได้คล้ายๆ กับระบบคู่ขนาน
การยึดโยงระหว่างผู้แทนกับเขตเลือกตั้ง
แก้ในระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำ อาทิเช่น ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) และระบบเสียงข้างมาก อาทิเช่น การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางว่ามีความเชื่อมโยงกันทางภูมิศาสตร์ระหว่างตัวผู้แทนกับประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นๆ[3]: 36 [32]: 65 [14]: 21 ข้อเสียของระบบสัดส่วนที่ชัดเจนคือเนื่องจากการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคน ซึ่งมีการจัดเขตภูมิศาสตร์ที่กว้างกว่า ทำให้ความยึดโยงต่อประชาชนในท้องที่นั้นอ่อนแอกว่า[3]: 82 ยิ่งในระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อซึ่งไม่ได้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเลย เช่น ในเนเธอร์แลนด์ และอิสราเอลนั้นความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนในท้องที่กับตัวผู้แทนนั้นเกือบจะไม่มีเลย ยกเว้นเพียงบางพรรคการเมืองเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งในระบบการเลือกตั้งที่มีเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนหลายคนเขตเล็กๆ โดยเฉพาะในกรณีใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ว่ากว่าร้อยละ 90 ของผู้แทนในเขตเลือกตั้งสามารถเข้าถึงผู้แทนที่พวกเขาเลือกตั้งเข้ามาได้ ซึ่งเป็นคนที่เข้าใจปัญหาในท้องถิ่นนั้นๆ จึงกล่าวได้ว่าประชาชนในท้องที่และผู้แทนมีความใกล้ชิด[25][28]: 212 โดยประชาชนผู้มีสิทธิในท้องที่นั้นมีทางเลือกในการเลือกผู้แทนที่สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในท้องถิ่นนั้นๆ ได้[28]: 212 [33] ส่วนในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนนั้น ผู้สมัครรายที่โดดเด่นมักจะมีโอกาสได้รับเลือกในเขตท้องที่ของตนซึ่งประชาชนรู้จักดีและมั่นใจให้เป็นผู้แทนได้จริง และโอกาสที่จะส่งตัวผู้สมัครไปลงแข่งขันในเขตที่เหมือนเป็นคนแปลกหน้าหน้านั้นย่อมไม่เกิดผลดีต่อทั้งผู้สมัครและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น[34]: 248–250 ส่วนในระบบสัดส่วนผสม (MMP) นั้นมีการใช้ข้อดีของการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนคนเดียวซึ่งช่วยเก็บรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนกับประชาชนในท้องที่ไว้[3]: 95 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีจำนวนผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อมากสุดได้ถึงครึ่งหนึ่งของสภา จึงทำให้เขตเลือกตั้งในแต่ละเขตอาจจะมีขนาดใหญ่กว่าในกรณีของระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำ ได้ถึงสองเท่าซึ่งผู้แทนแต่ละคนนั้นถือเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวของแต่ละเขตเลือกตั้ง
กรณีศึกษาที่น่าสนใจเคยเกิดขึ้นเนเธอร์แลนด์ ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1994 เมื่อมีพรรคการเมืองใหม่ พรรคพันธมิตรแห่งผู้สูงวัยทั่วไป (General Elderly Alliance) ชนะถึง 6 ที่นั่ง เนื่องจากก่อนหน้านั้นไม่เคยมีพรรคการเมืองใดให้การใส่ใจในประเด็นนี้มาก่อน โดยในการเลือกตั้งครั้งถัดไปนั้น พรรคการเมืองนี้ก็จบบทบาทลงเนื่องจากพรรคการเมืองหลักๆ ได้เริ่มนโยบายรับฟังเสียงของผู้สูงวัยอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันนี้มีพรรคการเมืองสำหรับผู้สูงอายุ ไฟฟ์ติคปลึส (50+) ได้มามีบทบาทสำคัญในการเมืองเนเธอร์แลนด์อย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์นั้นไม่อาจเป็นตัวชีวัดคะแนนเสียงที่ดีได้ หรือในอีกนัยหนึ่งคือ การลงคะแนนในแบบแบ่งเขตจำกัดผู้ลงคะแนนแค่ในเขตนั้นๆ ในขณะที่การลงคะแนนแบบสัดส่วนนั้นมีผลตามผลลัพธ์คะแนนเสียงทั้งหมด[35]
คุณสมบัติของระบบสัดส่วน
แก้ขนาดของเขตเลือกตั้ง
แก้เหล่านักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่าอิทธิพลที่สำคัญที่สุดในระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนคือขนาดของเขตเลือกตั้ง (district magnitude) ซึ่งคือจำนวนของผู้แทนในเขตเลือกตั้งนั้น ความเป็นสัดส่วนจะดีมากขึ้นหากขนาดเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้นโดยปริยาย[3] โดยผลงานวิจัยโดยนักวิชาการการเมืองส่วนใหญ่มีข้อแนะนำให้แบ่งเขตเลือกตั้งให้มีผู้แทนจำนวนสี่ถึงแปดคนจะดีที่สุด ซึ่งจำนวนประมาณนี้จะถือว่าน้อยในระบบสัดส่วนโดยทั่วไป[36]
ในอีกมุมหนึ่ง คือ ระบบการลงคะแนนแบบทวินาม (binomial voting) ซึ่งใช้ในชิลี ช่วงปีค.ศ. 1989 จนถึงค.ศ. 2013[37] เป็นระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิดแบบหนึ่งซึ่งมีผู้แทนเขตละสองคน โดยในระบบนี้ผลการเลือกตั้งมักจะได้ผู้แทนพรรคละหนึ่งคนจากพรรคใหญ่ต่อหนึ่งเขต (ในเขตเลือกตั้งส่วนใหญ่) จึงไม่ถือว่าเป็นสัดส่วนโดยปริยาย[3]: 79
ในอีกกรณีหนึ่ง หากเขตเลือกตั้งทั้งเขตกินอาณาบริเวณเดียวทั้งประเทศ (และมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำน้อย ซึ่งจะทำให้ความเป็นสัดส่วนสูงที่สุด) พรรคการเมืองต่างๆ สามารถได้เปรียบจากการเสริมภาพลักษณ์ของตนได้ง่ายผ่านการส่งผู้สมัครจากชนกลุ่มน้อย หรือผู้แทนสตรี[3]: 83
ภายหลังจากการเริ่มใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงในไอร์แลนด์เมื่อค.ศ. 1921 ขนาดของเขตเลือกตั้งได้เริ่มลดลงอย่างช้าๆ จนกลายเป็นเขตละสามคนเกือบทั้งหมด ซึ่งพรรคหลักที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือ พรรค Fianna Fáil จนกระทั่งค.ศ. 1979 เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการอิสระด้านเขตแดน ซึ่งได้ปรับแก้ขนาดของเขตเลือกตั้งใหม่[38] ต่อมาในปีค.ศ. 2010 คณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญในรัฐสภาได้แนะนำให้มีขนาดอย่างน้อยเขตละ 4 คน[39] นอกจากนั้นถึงแม้ว่าไอร์แลนด์จะมีขนาดเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็กแต่ส่วนใหญ่จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นสัดส่วนสูงอยู่อย่างสม่ำเสมอ[3]: 73
องค์การ FairVote ซึ่งได้เคยพิจารณาแผนการใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้เสนอให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีขนาดตั้งแต่ 3-5 คนต่อเขต[40]
ในแผนการของศาสตราจารย์มอลลิสันซึ่งได้เคยพิจารณาแผนการใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรนั้น เขตเลือกตั้งส่วนใหญ่มีขนาด 4-5 คนต่อเขต โดยมีบางเขตที่มี 3 คน และบางเขตมากถึง 6 คน และยังมีบางเขตเพียงสองคน และคนเดียวซึ่งเป็นตามข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ในบางสถานที่[25]
เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ
แก้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำคือจำนวนคะแนนเสียงที่น้อยที่สุดที่ต้องการเพื่อที่จะได้ 1 ที่นั่ง ยิ่งเกณฑ์ขั้นต่ำน้อย ยิ่งทำให้มีความเป็นสัดส่วนของสภาผู้แทนสูงมากขึ้น และจำนวนของคะแนนสูญน้อยลงเท่านั้น[3]
โดยส่วนใหญ่ระบบการลงคะแนนทั้งหลายมักจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นตามบทบัญญัติกฎหมาย หรือเป็นจากการคำนวนตัวแปรต่างๆ ของการเลือกตั้ง[3]: 83
เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำนั้นปกติจะให้พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงจำนวนหนึ่งเป็นร้อยละ โดยเมื่อถึงเกณฑ์แล้วจะได้รับที่นั่งจากบัญชีรายชื่อ ในเยอรมนี และนิวซีแลนด์ (ทั้งสองประเทศใช้ระบบสัดส่วนผสม) มีเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งประเทศ แต่เกณฑ์นั้นจะไม่บังคับใช้ในพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวนหนึ่งแล้ว (สามที่นั่งในเยอรมนี และที่นั่งเดียวในนิวซีแลนด์) ตุรกีนั้นกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 เนเธอร์แลนด์ร้อยละ 0.67[3] อิสราเอลได้เพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำจากร้อยละ 1 (ก่อนค.ศ. 1992) เป็นร้อยละ 1.5 (จนถึงปีค.ศ. 2004) และต่อมาร้อยละ 2 (ในปีค.ศ. 2006) และร้อยละ 3.25 ในปีค.ศ. 2014[41]
ในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) นั้น หากพรรคการเมืองได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์โควตา (คือ คะแนนเสียง÷จำนวนที่นั่ง+1) ของคะแนนเสียงในลำดับแรกก็จะได้รับเลือก อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครรายสำคัญยอดนิยมของแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีในลำดับที่สองหรือสามเป็นต้น อาจจะได้รับเลือกไปด้วยคะแนนเพียงครึ่งเดียวจากโควตาของลำดับแรก ดังนั้น ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนหกคน จะมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำเริ่มที่ร้อยละ 7.14 สำหรับลำดับแรก (คำนวนโดย 100÷(6+1)÷2)[25] ซึ่งการเลือกผู้สมัครในลำดับที่สองนั้นถือเป็นการสนับสนุนระบบฉันทามติได้ดี
ขนาดของพรรคในเขตเลือกตั้ง
แก้ขนาดของพรรคในเขตเลือกตั้ง (party magnitude) คือจำนวนผู้แทนที่สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันในเขตเลือกตั้งหนึ่ง โดยเมื่อใดที่ขนาดของพรรคในเขตนั้นๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้แทนมีความสมดุลมากขึ้นซึ่งเหมาะที่จะส่งผู้สมัครที่เป็นสตรีและกลุ่มชาติพันธุ์เข้าลงแข่งขัน[42]
แต่ในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นหากส่งผู้สมัครจำนวนมากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียแทน โดยจะเกิดปัญหาเสียงแตกในคะแนนลำดับแรกและจะเป็นเหตุให้ผู้สมัครตกรอบไปก่อนที่จะได้รับโอนคะแนนจากผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นๆ ตัวอย่างเกิดขึ้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นสกอตแลนด์ ค.ศ. 2007 ที่พรรคแรงงานได้ส่งผู้สมัครถึงสามคนโดยชนะเพียงแค่คนเดียวในขณะที่ควรจะชนะได้ถึงสองคนเพราะปัญหาการแย่งคะแนนเสียงกันเอง[25] กรณีเดียวกันเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปในไอร์แลนด์ ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นผลให้พรรค Fianna Fáil ล่มสลายลงในเวลาต่อมา[43]
ความไม่สมดุลในระบบประธานาธิบดี
แก้ในระบบประธานาธิบดี การเลือกประธานาธิบดีนั้นมีที่มาจากการเลือกตั้งที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐสภา ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐบาลที่แบ่งขั้วโดยที่รัฐสภาและประธานาธิบดีมีความเห็นตรงกันข้ามและมีความพยายามที่จะคานอำนาจซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดีในระบบสัดส่วนนั้นมีผลดีต่อรัฐบาลที่มาจากหลายพรรคเล็กรวมกันซึ่งจำเป็นจะต้องมีการรอมชอมและการเจรจาต่อรอง จึงทำให้การร่วมพรรคการเมืองนั้นจะมีความยากลำบากในการรวมตัวเป็นปึกแผ่นเพื่อคานอำนาจกับประธานาธิบดีซึ่งจะเป็นเหตุให้อำนาจทั้งสองฝ่ายนั้นไม่สมดุล โดยประธานาธิบดีจะใช้อำนาจได้มากกว่าในเรื่องการเมืองบางประเด็นได้
ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นในกรณีของระบบรัฐสภาที่มีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่านกลไกรัฐสภา ดังนั้นทำให้กรณีของรัฐบาลแบ่งขั้วนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้ว่ามุมมองทางการเมืองสามารถสลับสับเปลี่ยนได้อยู่ตลอด และอาจทำให้นายกรัฐมนตรีไม่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐสภาโดยจะถูกเปลี่ยนตัวได้โดยการลงมติไม่ไว้วางใจโดยในกรณีนี้จึงทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดรัฐบาลแบ่งขั้วได้ในระบบรัฐสภา
อื่นๆ
แก้ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อความเป็นสัดส่วนของระบบสัดส่วน ได้แก่ ขนาดของสภา การเลือกใช้ระหว่างบัญชีรายชื่อแบบเปิดหรือปิด การออกแบบบัตรลงคะแนน และวิธีการนับคะแนน
มาตรวัดความไม่เป็นสัดส่วน
แก้ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนแบบต่างๆ
แก้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ
แก้ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการลงคะแนนที่จำนวนที่นั่งในสภาจะได้รับการจัดสรรปันส่วนให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ และจึงค่อยเลือกผู้แทนจากลำดับในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นๆ ระบบนี้ใช้กันในหลายประเทศ รวมถึง ฟินแลนด์ (บัญชีเปิด) ลัตเวีย (บัญชีเปิด) สวีเดน (บัญชีเปิด) อิสราเอล (บัญชีปิด) บราซิล (บัญชีเปิด) เนปาล (บัญชีปิด) เริ่มในปีค.ศ. 2008 เนเธอร์แลนด์ (บัญชีเปิด) รัสเซีย (บัญชีปิด) แอฟริกาใต้ (บัญชีปิด) และยูเครน (บัญชีเปิด) สำหรับการเลือกตั้งสภายุโรป ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ใช้ระบบบัญชีเปิด แต่ประเทศขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรปล้วนใช้ระบบบัญชีปิด เพื่อให้คะแนนเสียงข้างมากในสภานั้นแบ่งตามนั้น[44] ส่วนบัญชีท้องถิ่นนั้นเคยใช้ในการเลือกตั้งวุฒิสภาอิตาลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ประเภทของบัญชีรายชื่อแบ่งได้ดังนี้
- ระบบบัญชีปิด ซึ่งบัญชีรายชื่อมีรายชื่อผู้สมัครที่เลือกตามขั้นตอนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้กำหนดลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อเองซึ่งหมายถึงความเป็นไปได้มากน้อยที่จะได้รับเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละราย โดยรายชื่ออันดับแรกจะได้ที่นั่งพรรคที่นั่งแรกไป ในการลงคะแนนนั้นผู้ลงคะแนนจะเลือกทั้งบัญชีรายชื่อเลย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเลือกเป็นรายบุคคลตามความชอบส่วนบุคคลได้[45][46] โดยพรรคการเมืองจะได้รับจัดสรรปันส่วนที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ[47]
- ระบบบัญชีเปิด ซึ่งผู้ลงคะแนนสามารถเลือกลงคะแนนได้ตั้งแต่หนึ่งคน หรือสองคน หรือแม้แต่ลงลำดับความชอบในรายชื่อที่ปรากฏในบัตรลงคะแนนได้ โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายเลือกตั้งในประเทศนั้นๆ ซึ่งการลงคะแนนจะเป็นตัวกำหนดลำดับในบัญชีรายชื่อก่อนหลังโดยเรียงจากคะแนนของผู้สมัครแต่ละรายในบัญชีรายชื่อ
- ระบบบัญชีท้องถิ่น เป็นระบบที่พรรคการเมืองแบ่งบัญชีรายชื่อแตกต่างกันตามแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยวิธีนี้ผู้ลงคะแนนจะสามารถเลือกตัวผู้แทนที่ชอบได้คล้ายกับในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
- ระบบบัญชีรายชื่อสองชั้น เช่นในเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ในเดนมาร์กนั้นมีการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด 10 เขต โดยแต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งในสามภูมิภาคเพื่อเลือกผู้แทน 135 คน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนอีก 40 คนมาจากการชดเชยที่นั่ง ผู้ลงคะแนนจะมีเพียงคะแนนเดียวซึ่งจะใช้เลือกตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง หรือใช้เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้น โดยในการนับคะแนนผู้ชนะในเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรที่นั่งจากคะแนนเสียงรวมของพรรครวมกับคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละคน โดยจะมีที่นั่งชดเชยให้ในแต่ละเขตเลือกตั้งเพื่อปรับสัดส่วนให้พอดีระหว่างภูมิภาคกับคะแนนเสียงรวมในระดับประเทศ ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดนมาร์ก ค.ศ. 2007 นั้นขนาดเลือกตั้งซึ่งเมื่อรวมกับที่นั่งชดเชยแล้วมีขนาดระหว่าง 14 ถึง 28 คนต่อเขต โดยพื้นฐานการลงคะแนนของเดนมาร์กไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยเริ่มใช้ในปีค.ศ. 1920[48][49][50]
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง
แก้ระบบลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: single transferable vote, ย่อ STV) หรือเรียกอีกอย่างว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ" (อังกฤษ: ranked-choice voting)[51][8] เป็นระบบการลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกผู้สมัครตามลำดับความชอบ ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมักมีผู้แทนตั้งแต่สามถึงเจ็ดคน โดยการนับคะแนนนั้นเกิดขึ้นเป็นรอบๆ โดยเลือกและกำจัดผู้สมัครแต่ละคนในแต่ละรอบ และโอนคะแนนเสียงไปให้ผู้สมัครคนอื่นตามลำดับจนกว่าจะได้ผู้ชนะครบจำนวนที่นั่งในเขตนั้นๆ ผู้สมัครแต่ละรายในรอบๆ หนึ่งที่ได้รับคะแนนเสียงถึงจำนวนโควตาซึ่งเป็นจำนวนคะแนนขั้นต่ำเพื่อชนะการเลือกตั้ง คะแนนเสียงส่วนที่เกินจากโควตาจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามลำดับที่ผู้ลงคะแนนระบุไว้ หากในรอบถัดไปไม่มีผู้สมัครรายได้รวมคะแนนถึงโควตา ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดจะถูกกำจัด โดยคะแนนทั้งหมดของผู้สมัครรายที่ตกรอบนั้นจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง และเริ่มนับใหม่รอบถัดไป การคำนวนคะแนนสำหรับการถ่ายโอนคะแนนนั้นมีหลายวิธี บางวิธีใช้การคำนวนอย่างง่าย บางวิธีใช้การถ่ายโอนคะแนนส่วนเกิน หรือถ่ายโอนแค่เป็นเศษส่วนหนึ่งของคะแนนเสียง (นำคะแนนส่วนเกินหารด้วยคะแนนรวมของผู้สมัคร) ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยนับคะแนน ในแต่ละวิธีอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันในการนับคะแนนใหม่ในแต่ละรอบ และยังมีวิธีที่แตกต่างกันในการจัดการคะแนนเสียงของผู้สมัครที่ชนะไปแล้วหรือตกรอบไปแล้วซึ่งก็ต้องการคอมพิวเตอร์เช่นกัน[52][53]
วิธีการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงทำให้เกิดผู้ลงคะแนนเป็นกลุ่มๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางการเมืองในเขตตามความหลากหลายของผู้แทน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ของผู้ลงคะแนนได้ผู้แทนที่มาจากตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยผู้ลงคะแนนเสียงแต่ละคนสามารถออกเสียงเลือกได้ตามความชอบของตนและผลลัพธ์ที่ได้ก็มีความเป็นสัดส่วน[25] จึงทำให้ในระบบนี้พรรคการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ในแนวคิดของระบบสัดส่วนอนุมานว่าพรรคการเมืองนั้นย่อมเกิดมาได้จากการความพึงพอใจของผู้ลงคะแนน และจึงเป็นผู้ให้อำนาจแก่พรรคการเมือง[52] ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงเป็นไปตามเกณฑ์ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนในความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง (proportionality for solid coalitions) โดยการมีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งโดยกลุ่มผู้สมัครนั้นหมายถึงกลุ่มของผู้ลงคะแนนที่เป็นผู้จัดลำดับผู้สมัครเหล่านี้เหนือเหตุผลอื่นใด[52] จึงถือเป็นระบบการมีผู้แทนแบบเป็นสัดส่วนอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามขนาดของเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็กได้ถูกวิจารณ์ว่าทำให้ลดความเป็นสัดส่วนลง โดยเฉพาะเมื่อมีพรรคการเมืองจำนวนมากกว่าที่นั่งที่มี[22]: 50 จึงทำให้ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้บางครั้งถูกตีตราว่าเป็น "ระบบเสมือนสัดส่วน"[54]: 83 โดยคำกล่าวนี้อาจจะเป็นจริงในเขตที่อยู่ห่างไกลแต่ผลลัพธ์โดยรวมจะเป็นสัดส่วน ในไอร์แลนด์ซึ่งมีเขตเลือกตั้งขนาดเล็กจำนวนมากได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนมาก[3]: 73 [6] ในปีค.ศ. 1997 ค่าเฉลี่ยของขนาดเขตเลือกตั้งอยู่ที่ 4.0 ในขณะที่มีพรรคการเมืองทั้งหมดแปดพรรคที่ได้ที่นั่ง โดยมีสี่พรรคมีผู้ชนะในลำดับแรกได้คะแนนรวมระดับชาติน้อยกว่าร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังพบผู้สมัครอิสระหกคนที่ได้รับเลือกตั้ง[38] ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้ได้รับคำชมว่าเป็นระบบที่เป็นสัดส่วนมากที่สุด[54]: 83 และยังช่วยกลั่นกรองผู้สมัครสายสุดโต่งออกไปจากระบบเนื่องจากในการลงคะแนนนั้นผู้สมัครแต่ละรายจะต้องแย่งกันอยู่ในลำดับต้นๆ ตามความชอบของผู้ลงคะแนนโดยจะต้องมีนโยบายที่ผ่อนปรน และนโยบายที่เข้าถึงกลุ่มผู้ลงคะแนนทุกกลุ่มได้โดยง่าย[55][56]
ระบบผสมแบบมีการชดเชย
แก้ระบบการลงคะแนนแบบผสม (อังกฤษ: mixed electoral system) เป็นระบบการลงคะแนนที่รวมเอาวิธีการลงคะแนนแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากกับการคำนวนแบบสัดส่วน[57] และยังใช้ระบบการชดเชยที่นั่งเพื่อปรับให้เป็นสัดส่วนที่สุด อันเป็นผลจากระบบคำแนนนำ/เสียงข้างมาก[58][59]
ระบบการลงคะแนนแบบผสมที่ใช้กันมากที่สุดคือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (อังกฤษ: mixed-member proportional representation; ย่อ: MMP) หรือ "ระบบสัดส่วนผสม" ซึ่งประกอบด้วยการลงคะแนนแบบแบ่งเขตแบบมีผู้แทนเขตละคนโดยผ่านระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) โดยมีระบบการชดเชยที่นั่งจากบัญชีรายชื่อในระดับชาติหรือภูมิภาค ตัวอย่างเช่น สมมติว่าพรรคการเมืองชนะ 10 ที่นั่งจากระบบคะแนนนำ แต่จำเป็นต้องมีทั้งหมดถึง 15 ที่นั่งเพื่อจะให้เท่ากับสัดส่วนคะแนนเสียงรวมในระดับชาติ (ที่นั่งพึงมี) ในกรณีนี้หากใช้ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนผสมที่มีการชดเชยเต็มรูปแบบนั้นจะมีการเพิ่มที่นั่งชดเชยให้แก่พรรคการเมืองจำนวน 5 ที่นั่งเพื่อให้พรรคการเมืองได้ที่นั่งรวมเป็น 15 ที่นั่งตามจำนวนร้อยละของคะแนนเสียงที่ได้รับจริง ในระบบสัดส่วนผสมนั้นสามารถทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนได้ตั้งแต่ปานกลางจนถึงสูงโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกตั้ง อาทิเช่น สัดส่วนของที่นั่งที่มาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดต่อที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อ การใช้ระบบชดเชยที่นั่งเพิ่มผ่านที่นั่งส่วนขยาย และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ[60][61][62] เป็นต้น ระบบการลงคะแนนนี้คิดขึ้นเพื่อใช้กับสภาบุนเดิสทาคของเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาได้รับไปใช้ในอีกหลายประเทศ เช่น เลโซโท โบลิเวีย นิวซีแลนด์ และในประเทศไทย (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) เป็นต้น ในสหราชอาณาจักรมีการใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเวลส์และสกอตแลนด์ โดยเรียกอีกชื่อว่า ระบบสมาชิกเพิ่มเติม (อังกฤษ: additional member system)[4][2]
ในระบบนี้ โดยปกติผู้ลงคะแนนจะมีสองคะแนนเสียง โดยหนึ่งคะแนนสำหรับเลือกผู้แทนแบบแบ่งเขต และอีกหนึ่งสำหรับบัญชีรายชื่อพรรค คะแนนเสียงบัญชีรายชื่อนั้นปกติจะเป็นตัวกำหนดจำนวนที่นั่งในสภา โดยหลังจากที่ได้ตัวผู้ชนะในแบบแบ่งเขตทั้งหมดแล้ว ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกเพื่อเป็นการเติมจำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคเพื่อให้ครบกับจำนวนผู้แทนที่พึงมีจากการคำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดของพรรค ก่อนการจัดสรรปันส่วนที่นั่งในบัญชีรายชื่อนั้น คะแนนทั้งหมดของบัญชีรายชื่อที่ไม่ถึงเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ถูกนำมาคิด หากพรรคการเมืองต่างๆ ที่ถูกกำจัดจากเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ได้ที่นั่งและจึงทำให้จำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองที่ผ่านเกณฑ์ได้ที่นั่งจำนวนมากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ผู้ชนะการเลือกตั้งนามอิสระ (ไม่สังกัดพรรคการเมือง) จะไม่ถูกนำไปคำนวนในการจัดสรรปันส่วนของบัญชีรายชื่อทั้งหมด
ความเป็นสัดส่วนของระบบสัดส่วนผสมอาจมีปัญหาได้หากอัตราส่วนที่นั่งในแบบบัญชีรายชื่อต่อแบบแบ่งเขตนั้นต่ำเกินไป ซึ่งอาจทำให้จำนวนที่นั่งชดเชยไม่พอกับผลการเลือกตั้งจากแบบแบ่งเขตและส่งผลให้ไม่เป็นสัดส่วนขึ้นได้ อีกตัวแปรหนึ่งคือการจัดการเรื่องที่นั่งส่วนขยาย (overhang seats) ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่พรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมากกว่าจำนวนคะแนนเสียงรวมของพรรคในแบบบัญชีรายชื่อ (สูงกว่าจำนวนผู้แทนพึงมี) โดยเพื่อที่จะทำให้เป็นสัดส่วนนั้น พรรคการเมืองอื่นๆ จำเป็นจะต้องได้รับที่นั่งเพิ่ม ซึ่งจะขยายขนาดของสภาเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่นั่งส่วนขยาย แต่ระบบการเพิ่มที่นั่งโดยขยายขนาดสภาเป็นการชั่วคราวนั้นไม่ได้ถูกรับไปใช้ในทุกประเทศ เช่นในประเทศเยอรมนี ที่เพิ่งเริ่มใช้การขยายขนาดสภาโดยชั่วคราวด้วยการเพิ่มจำนวนที่นั่ง[63] ส่วนในเวลส์ สกอตแลนด์ และเลโซโทไม่พบการขยายขนาดของสภาเลย และในค.ศ. 2012 คณะกรรมาธิการรัฐสภาของนิวซีแลนด์ได้เสนอให้มีการยกเลิกการชดเชยที่นั่งส่วนขยาย และดังนั้นจึงปรับขนาดของสภาไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกันก็จะยกเลิกเกณฑ์ขั้นต่ำที่พรรคการเมืองจะต้องชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างน้อยหนึ่งเขตจึงจะได้ที่นั่งในบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะเป็นเหตุหลักที่ทำให้เกิดที่นั่งส่วนขยายและทำให้สภามีขนาดใหญ่ขึ้น และยังเสนอให้มีการปรับลดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 4 ซึ่งจะทำให้ได้สัดส่วนมากขึ้น[3][64]
ระบบการลงคะแนนแบบผสมอีกระบบหนึ่งคือ ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (อังกฤษ: dual-member proportional representation; ย่อ: DMP) ซึ่งเป็นระบบการลงคะแนนแบบเสียงเดียวเลือกผู้แทนพร้อมกันเขตละสองคน โดยที่นั่งแรกของแต่ละเขตจะให้ผู้สมัครรายที่ชนะคะแนนนำ คล้ายกับการลงคะแนนในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด ที่นั่งที่เหลือจะจัดสรรให้โดยการชดเชยเพื่อให้ได้ผลรวมในระดับภูมิภาคมีความเป็นสัดส่วน ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ใช้สูตรคำนวนคล้ายกับระบบสัดส่วนผสมแบบหนึ่งที่ใช้หา "ผู้เกือบชนะที่ดีที่สุด" (best near-winner) ซึ่งใช้ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค[65]ของเยอรมนี โดยมีการชดเชยที่นั่งให้แก่ผู้สมัครที่ได้เสียงสนับสนุนจำนวนมากในระดับเขตโดยเปรียบเทียบกับผู้สมัครรายอื่นจากพรรคการเมืองเดียวกัน ความแตกต่างของระบบสัดส่วนคู่ คือแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีผู้แทนอย่างมากหนึ่งคนได้รับการชดเชยที่นั่ง หากในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายรายแข่งขันกันแย่งที่นั่งชดเชยนี้ ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับเลือกและทำให้รายอื่นตกรอบ ระบบสัดส่วนคู่มีความคล้ายคลึงกับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงตรงที่ผู้แทนทั้งหมดรวมถึงประเภทที่มาจากการชดเชยที่นั่งนั้นจะมาจากแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด ระบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 2013 สำหรับรัฐแอลเบอร์ตาในแคนาดา และยังได้รับความสนใจจากรัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ในการลงประชามติเมื่อปีค.ศ. 2016 เพื่อหาระบบการลงคะแนนมาแทนที่ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด[66] แต่ถูกตีตกไปในรอบที่สาม อีกทั้งระบบนี้ยังเคยอยู่ในระบบสัดส่วนทั้งสามระบบที่ถูกเสนอชื่อในการลงประชามติปีค.ศ. 2018 สำหรับรัฐบริติชโคลัมเบีย[67][68][69]
การแบ่งสรรปันส่วนแบบสัดส่วนคู่
แก้ระบบสัดส่วนอื่นๆ
แก้ประเทศที่ใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วน
แก้ประเทศ | ชนิด |
---|---|
แอลเบเนีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ในระดับชาติ และ 2.5% ในระดับเขต |
แอลจีเรีย | บัญชีรายชื่อ |
แองโกลา | บัญชีรายชื่อ |
อาร์เจนตินา | บัญชีรายชื่อสำหรับสภาผู้แทนราษฎร |
อาร์เมเนีย | บัญชีรายชื่อแบบสองชั้น
[72] โดยบัญชีปิดในระดับประเทศ และบัญชีเปิดในเขตเลือกตั้งทั้ง 13 เขต หากต้องการมีเสียงข้างมากเด็ดขาดโดยมีที่นั่งอย่างน้อยร้อยละ 54 ของทั้งหมด พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงดีที่สุดสองอันดับแรกจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งที่นั่งโบนัส โดยมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 สำหรับพรรคการเมือง และร้อยละ 7 สำหรับชุดคะแนนทั้งหมด |
อารูบา | บัญชีรายชื่อ |
ออสเตรเลีย | แบบถ่ายโอนคะแนนเสียงใช้เฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น |
ออสเตรีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% threshold |
เบลเยียม | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
เบนิน | บัญชีรายชื่อ |
โบลิเวีย | แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% |
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | บัญชีรายชื่อ |
บราซิล | บัญชีรายชื่อ |
บัลแกเรีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% |
บูร์กินาฟาโซ | บัญชีรายชื่อ |
บุรุนดี | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% |
กัมพูชา | บัญชีรายชื่อ |
กาบูเวร์ดี | บัญชีรายชื่อ |
ชิลี | บัญชีรายชื่อ |
โคลอมเบีย | บัญชีรายชื่อ |
คอสตาริกา | บัญชีรายชื่อ |
โครเอเชีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
ไซปรัส | บัญชีรายชื่อ |
สาธารณรัฐเช็ก | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
เดนมาร์ก | บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% |
สาธารณรัฐโดมินิกัน | บัญชีรายชื่อ |
ติมอร์-เลสเต | บัญชีรายชื่อ |
เอลซัลวาดอร์ | บัญชีรายชื่อ |
อิเควทอเรียลกินี | บัญชีรายชื่อ |
เอสโตเนีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
สหภาพยุโรป | แต่ละประเทศสมาชิกจะต้องเลือกระหว่างแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง หรือแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ |
หมู่เกาะแฟโร | บัญชีรายชื่อ |
ฟิจิ | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
ฟินแลนด์ | บัญชีรายชื่อ |
เยอรมนี | แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% (หรือมีผู้ชนะแบบแบ่งเขตอย่างน้อย 3 คน) |
กรีซ | บัญชีรายชื่อแบบสองชั้น
ใช้บัญชีปิดในระดับประเทศ และบัญชีเปิดในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนหลายคน พรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะได้ที่นั่งโบนัสจำนวน 50 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 300 ที่นั่ง) แต่ระบบถูกยกเลิกหลังจากการเลือกตั้งสองครั้งจากปีค.ศ. 2016[73] และในปีค.ศ. 2020 รัฐสภาได้รับรองให้เปลี่ยนมาใช้ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งในการเลือกตั้งในอีกสองสมัยถัดไป[74] โดยมีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ร้อยละ 3 |
กรีนแลนด์ | บัญชีรายชื่อ |
กัวเตมาลา | บัญชีรายชื่อ |
กินี-บิสเซา | บัญชีรายชื่อ |
กายอานา | บัญชีรายชื่อ |
ฮอนดูรัส | บัญชีรายชื่อ |
ไอซ์แลนด์ | บัญชีรายชื่อ |
อินโดนิเซีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% |
ไอร์แลนด์ | แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง |
อิสราเอล | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3.25% |
อิตาลี | ผสม และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% |
คาซักสถาน | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 7% |
โคโซโว | บัญชีรายชื่อ |
คีร์กีซสถาน | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
ลัตเวีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
เลบานอน | บัญชีรายชื่อ |
เลโซโท | แบบสัดส่วนผสม |
ลิกเตนสไตน์ | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 8% |
ลักเซมเบิร์ก | บัญชีรายชื่อ |
นอร์ทมาซิโดเนีย | บัญชีรายชื่อ |
มอลตา | แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง |
มอลโดวา | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 6% |
มอนเตเนโกร | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% |
โมซัมบิก | บัญชีรายชื่อ |
นามิเบีย | บัญชีรายชื่อ |
เนเธอร์แลนด์ | บัญชีรายชื่อ |
นิวซีแลนด์ | แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% (หรือต้องมีผู้ชนะแบบแบ่งเขตอย่างน้อย 1 ที่นั่ง) |
เนปาล | บัญชีรายชื่อผสม |
ไอร์แลนด์เหนือ | แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง |
นอร์เวย์ | บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ของระดับชาติ |
ปารากวัย | บัญชีรายชื่อ |
เปรู | บัญชีรายชื่อ |
โปแลนด์ | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% หรือมากกว่าสำหรับพรรคการเมืองเดียว 8% หรือมากกว่าสำหรับพรรคร่วมพันธมิตร หรือ 0% หรือมากกว่าสำหรับพรรคเล็กน้อย |
โปรตุเกส | บัญชีรายชื่อ |
โรมาเนีย | บัญชีรายชื่อ |
รวันดา | บัญชีรายชื่อ |
ซานมารีโน | บัญชีรายชื่อ
หากต้องการเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภา พรรคการเมืองสองอันดับแรกจะต้องแข่งขันในรอบชี้ขาดเพื่อแย่งที่นั่งโบนัส โดยมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ 3.5% |
เซาตูเมและปรินซีปี | บัญชีรายชื่อ |
เซอร์เบีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% หรือน้อยกว่า |
ซินต์มาร์เติน | บัญชีรายชื่อ |
สโลวาเกีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
สโลวีเนีย | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% |
แอฟริกาใต้ | บัญชีรายชื่อ |
สเปน | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก |
ศรีลังกา | บัญชีรายชื่อ |
ซูรินาม | บัญชีรายชื่อ |
สวีเดน | บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ในระดับชาติ และ 12% ในระดับเขต |
สวิตเซอร์แลนด์ | บัญชีรายชื่อ |
ไต้หวัน | ผสม: บัญชีรายชื่อจำนวน 34 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 113 ที่นั่ง) |
ไทย | แบบสัดส่วนผสม โดยมี 350 ที่นั่งจากแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ 150 ที่นั่ง |
โตโก | บัญชีรายชื่อ |
ตูนิเซีย | บัญชีรายชื่อ |
ตุรกี | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 10% |
ญี่ปุ่น | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% |
ยูเครน | แบบสัดส่วนผสม และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% และบัญชีรายชื่อแบบเปิด |
อุรุกวัย | บัญชีรายชื่อ |
ดูเพิ่ม
แก้
อ้างอิง
แก้- ↑ เมืองรัตน, ฤทัยชนก. "การเลือกตั้ง-วิถีแห่งประชาธิปไตย" (PDF). สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Amy, Douglas J. "How Proportional Representation Elections Work". FairVote. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 "Electoral System Design: the New International IDEA Handbook". International Institute for Democracy and Electoral Assistance. 2005. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- ↑ 4.0 4.1 "Additional Member System". London: Electoral Reform Society. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
- ↑ ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, Table by Question". สืบค้นเมื่อ 20 November 2014.
- ↑ 6.0 6.1 Gallagher, Michael. "Ireland: The Archetypal Single Transferable Vote System" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-20. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- ↑ Hirczy de Miño, Wolfgang, University of Houston; Lane, John, State University of New York at Buffalo (1999). "Malta: STV in a two-party system" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
- ↑ 8.0 8.1 Amy, Douglas J. "A Brief History of Proportional Representation in the United States". FairVote. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
- ↑ Laakso, Markku (1980). "Electoral Justice as a Criterion for Different Systems of Proportional Representation". Scandinavian Political Studies. Wiley. 3 (3): 249–264. doi:10.1111/j.1467-9477.1980.tb00248.x. ISSN 0080-6757.
- ↑ Koriyama, Y.; Macé, A.; Laslier, J.-F.; Treibich, R. (2013). "Optimal apportionment". Journal of Political Economy. 121 (3): 584–608. doi:10.1086/670380. S2CID 10158811.
- ↑ Amy, Douglas. "Proportional Representation Voting Systems". Fairvote.org. Takoma Park. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Norris, Pippa (1997). "Choosing Electoral Systems: Proportional, Majoritarian and Mixed Systems" (PDF). Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- ↑ Colin Rallings; Michael Thrasher. "The 2005 general election: analysis of the results" (PDF). Electoral Commission, Research, Electoral data. London: Electoral Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- ↑ 14.0 14.1 Commission On Electoral Reform, Hansard Society for Parliamentary Government (1976). "Report of the Hansard Society Commission on Electoral Reform". Hansard Society. London.
- ↑ "1993 Canadian Federal Election Results". University of British Columbia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
- ↑ "Election 2015 - BBC News". BBC. สืบค้นเมื่อ 11 May 2015.
- ↑ Ana Nicolaci da Costa; Charlotte Greenfield (September 23, 2017). "New Zealand's ruling party ahead after poll but kingmaker in no rush to decide". Reuters.
- ↑ Roberts, Iain (29 June 2010). "People in broad church parties should think twice before attacking coalitions". Liberal Democrat Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 29 July 2014.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "A look at the evidence". Fair Vote Canada. สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
- ↑ Amy, Douglas J. "Single Transferable Vote Or Choice Voting". FairVote. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- ↑ "Electoral Reform Society's evidence to the Joint Committee on the Draft Bill for House of Lords Reform". Electoral Reform Society. 21 October 2011. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อforder
- ↑ Harris, Paul (20 November 2011). "'America is better than this': paralysis at the top leaves voters desperate for change". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 November 2014.
- ↑ Krugman, Paul (19 May 2012). "Going To Extreme". The Conscience of a Liberal, Paul Krugman Blog. The New York Times Co. สืบค้นเมื่อ 24 Nov 2014.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 25.6 Mollison, Denis. "Fair votes in practice STV for Westminster" (PDF). Heriot Watt University. สืบค้นเมื่อ 3 June 2014.
- ↑ "Democrats' Edge in House Popular Vote Would Have Increased if All Seats Had Been Contested". FairVote. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- ↑ Cox, Gary W.; Fiva, Jon H.; Smith, Daniel M. (2016). "The Contraction Effect: How Proportional Representation Affects Mobilization and Turnout" (PDF). The Journal of Politics. 78 (4): 1249–1263. doi:10.1086/686804. hdl:11250/2429132. S2CID 55400647.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 Amy, Douglas J (2002). Real Choices / New Voices, How Proportional Representation Elections Could Revitalize American Democracy. Columbia University Press. ISBN 9780231125499.
- ↑ Mollison, Denis (2010). "Fair votes in practice: STV for Westminster". Heriot-Watt University. สืบค้นเมื่อ 3 June 2014.
- ↑ Scheppele, Kim Lane (April 13, 2014). "Legal But Not Fair (Hungary)". The Conscience of a Liberal, Paul Krugman Blog. The New York Times Co. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ Office for Democratic Institutions and Human Rights (11 July 2014). "Hungary, Parliamentary Elections, 6 April 2014: Final Report". OSCE.
- ↑ "Voting Counts: Electoral Reform for Canada" (PDF). Law Commission of Canada. 2004. p. 22.
- ↑ "Single Transferable Vote". London: Electoral Reform Society. สืบค้นเมื่อ 28 July 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อhumphreys
- ↑ (Dutch) "Evenredige vertegenwoordiging". www.parlement.com (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ Carey, John M.; Hix, Simon (2011). "The Electoral Sweet Spot: Low-Magnitude Proportional Electoral Systems" (PDF). American Journal of Political Science. 55 (2): 383–397. doi:10.1111/j.1540-5907.2010.00495.x.
- ↑ "Electoral reform in Chile: Tie breaker". The Economist. 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- ↑ 38.0 38.1 Laver, Michael (1998). "A new electoral system for Ireland?" (PDF). The Policy Institute, Trinity College, Dublin.
- ↑ "Joint Committee on the Constitution" (PDF). Dublin: Houses of the Oireachtas. July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ "National projections" (PDF). Monopoly Politics 2014 and the Fair Voting Solution. FairVote. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ Lubell, Maayan (March 11, 2014). "Israel ups threshold for Knesset seats despite opposition boycott". Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 10 July 2014.
- ↑ "Party Magnitude and Candidate Selection". ACE Electoral Knowledge Network.
- ↑ O'Kelly, Michael. "The fall of Fianna Fáil in the 2011 Irish general election". Significance. Royal Statistical Society, American Statistical Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ As counted from the table in http://www.wahlrecht.de/ausland/europa.htm [in German]; "Vorzugsstimme(n)" means "open list".
- ↑ "Party List PR". Electoral Reform Society. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
- ↑ Gordon Gibson (2003). Fixing Canadian Democracy. The Fraser Institute. p. 76. ISBN 9780889752016.
- ↑ Gallagher, Michael; Mitchell, Paul (2005). The Politics of Electoral Systems. Oxford, New York: Oxford University Press. p. 11. ISBN 978-0-19-925756-0.
- ↑ "The Parliamentary Electoral System in Denmark". Copenhagen: Ministry of the Interior and Health. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- ↑ "The main features of the Norwegian electoral system". Oslo: Ministry of Local Government and Modernisation. 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- ↑ "The Swedish electoral system". Stockholm: Election Authority. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2014. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- ↑ "Fair Voting/Proportional Representation". FairVote. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Tideman, Nicolaus (1995). "The Single Transferable Vote". Journal of Economic Perspectives. 9 (1): 27–38. doi:10.1257/jep.9.1.27.
- ↑ O’Neill, Jeffrey C. (July 2006). "Comments on the STV Rules Proposed by British Columbia". Voting Matters (22). สืบค้นเมื่อ 10 August 2013.
- ↑ 54.0 54.1 David M. Farrell; Ian McAllister (2006). The Australian Electoral System: Origins, Variations, and Consequences. Sydney: UNSW Press. ISBN 978-0868408583.
- ↑ "Referendum 2011: A look at the STV system". The New Zealand Herald. Auckland: The New Zealand Herald. 1 Nov 2011. สืบค้นเมื่อ 21 Nov 2014.
- ↑ "Change the Way We Elect? Round Two of the Debate". The Tyee. Vancouver. 30 Apr 2009. สืบค้นเมื่อ 21 Nov 2014.
- ↑ ACE Project Electoral Knowledge Network. "Mixed Systems". สืบค้นเมื่อ 29 June 2016.
- ↑ Massicotte, Louis (2004). In Search of Compensatory Mixed Electoral System for Québec (PDF) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ Bochsler, Daniel (May 13, 2010). "Chapter 5, How Party Systems Develop in Mixed Electoral Systems". Territory and Electoral Rules in Post-Communist Democracies. Palgrave Macmillan. ISBN 9780230281424.
- ↑ "Electoral Systems and the Delimitation of Constituencies". International Foundation for Electoral Systems. 2 Jul 2009.
- ↑ Moser, Robert G. (December 2004). "Mixed electoral systems and electoral system effects: controlled comparison and cross-national analysis". Electoral Studies. 23 (4): 575–599. doi:10.1016/S0261-3794(03)00056-8.
- ↑ Massicotte, Louis (September 1999). "Mixed electoral systems: a conceptual and empirical survey". Electoral Studies. 18 (3): 341–366. doi:10.1016/S0261-3794(98)00063-8.
- ↑ "Deutschland hat ein neues Wahlrecht" (ภาษาเยอรมัน). Zeit Online. 22 February 2013.
- ↑ "Report of the Electoral Commission on the Review of the MMP Voting System". Wellington: Electoral Commission New Zealand. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2014. สืบค้นเมื่อ 10 Aug 2014.
- ↑ Antony Hodgson (Jan 21, 2016). "Why a referendum on electoral reform would be undemocratic". The Tyee.
- ↑ Kerry Campbell (April 15, 2016). "P.E.I. electoral reform committee proposes ranked ballot". CBC News.
- ↑ Eby, David (May 30, 2018). "How We Vote: 2018 Electoral Reform Referendum Report and Recommendations of the Attorney General" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 31, 2018. สืบค้นเมื่อ June 9, 2018.
- ↑ McElroy, Justin (June 2, 2018). "Know your voting systems: three types of electoral reform on B.C.'s ballot". CBC News.
- ↑ "2018 Referendum on Electoral Reform: Voting Results Available". Elections BC. สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.
- ↑ ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, World Map". สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- ↑ ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, Table by Country". สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- ↑ Office for Democratic Institutions and Human Rights. "Republic of Armenia, Parliamentary Elections, 2 April 2017". OSCE.
- ↑ "Greek MPs approve end to bonus seats, lower voting age". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2016-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-22.
- ↑ "Parliament votes to change election law | Kathimerini". www.ekathimerini.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-25.
อ่านเพิ่มเติม
แก้หนังสือ
แก้- Abbott, Lewis F. British Democracy: Its Restoration and Extension. ISR/Kindle Books, 2019. ISBN 9780906321522. Chapter 7, "Electoral System Reform: Increasing Competition and Voter Choice and Influence".
- Ashworth, H.P.C.; Ashworth, T.R. (1900). Proportional Representation Applied to Party Government. Melbourne: Robertson and Co.
- Amy, Douglas J. (1993). Real Choices/New Voices: The Case for Proportional Representation Elections in the United States. Columbia University Press.
- Batto, Nathan F.; Huang, Chi; Tan, Alexander C.; Cox, Gary (2016). Mixed-Member Electoral Systems in Constitutional Context: Taiwan, Japan, and Beyond. Ann Arbor: University of Michigan Press.
- Pilon, Dennis (2007). The Politics of Voting. Edmond Montgomery Publications.
- Colomer, Josep M. (2003). Political Institutions. Oxford University Press.
- Colomer, Josep M., บ.ก. (2004). Handbook of Electoral System Choice. Palgrave Macmillan.
- Pukelsheim, Friedrich (2014). Proportional Representation. Springer.
- Linton, Martin; Southcott, Mary (1998). Making Votes Count: The Case for Electoral Reform. London: Profile Books.
- Forder, James (2011). The case against voting reform. Oxford: Oneworld Publications. ISBN 978-1-85168-825-8.
- Jenifer Hart, Proportional Representation: Critics of the British Electoral System,1820-1945 (Clarendon Press, 1992)
- F.D. Parsons, Thomas Hare and Political Representation in Victorian Britain (Palgrave Macmillan, 2009)
- Sawer, Marian & Miskin, Sarah (1999). Papers on Parliament No. 34 Representation and Institutional Change: 50 Years of Proportional Representation in the Senate (PDF). Department of the Senate. ISBN 0-642-71061-9.
บทความ
แก้- Hickman, John; Little, Chris (November 2000). "Seat/vote proportionality in Romanian and Spanish parliamentary elections". Journal of Southern Europe and the Balkans Online. 2 (2): 197–212. doi:10.1080/713683348. S2CID 153800069.
- Galasso, Vincenzo; Nannicini, Tommaso (December 2015). "So closed: political selection in proportional systems". European Journal of Political Economy. 40 (B): 260–273. doi:10.1016/j.ejpoleco.2015.04.008. S2CID 55902803.
- Golder, Sona N.; Stephenson, Laura B.; Van der Straeten, Karine; Blais, André; Bol, Damien; Harfst, Philipp; Laslier, Jean-François (March 2017). "Votes for women: electoral systems and support for female candidates". Politics & Gender. 13 (1): 107–131. doi:10.1017/S1743923X16000684.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Proportional Representation Library เก็บถาวร 2010-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Handbook of Electoral System Choice เก็บถาวร 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Quantifying Representativity Article by Philip Kestelman
- The De Borda Institute A Northern Ireland-based organisation promoting inclusive voting procedures
- Election Districts Voting improves PR with overlapping districts elections for first past the post, alternative vote and single transferable vote voters
- Electoral Reform Society founded in England in 1884, the longest running PR organization. Contains good information about single transferable vote – the Society's preferred form of PR
- Electoral Reform Australia
- Proportional Representation Society of Australia
- Fair Vote Canada
- FairVote, USA
- Why Not Proportional Representation?
- Vote Dilution means Voters have Less Voice Law is Cool site
- Proportional Representation and British Democracy Debate on British electoral system reform
- RangeVoting.org. page on PR
- Australia's Upper Houses - ABC Rear Vision A podcast about the development of Australia's upper houses into STV proportional representation elected chambers.