เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ

เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ (อังกฤษ: electoral threshold) คือจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะต้องได้รับจึงสามารถมีตัวแทนในสภานิติบัญญัติได้ โดยเกณฑ์ข้อจำกัดนี้สามารถกระทำได้ในหลายวิธี ตัวอย่างเช่น ในระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำว่าพรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงขั้นต่ำจำนวนร้อยละจำนวนหนึ่งของคะแนนเสียงรวมทั้งหมด (เช่น ร้อยละ 5) ในระดับชาติ หรือในระดับเขตใดเขตหนึ่ง จึงจะได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภานิติบัญญัติ ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนซึ่งมักจะใช้ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับ นอกจากเกณฑ์ขั้นต่ำแล้ว ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนเสียงถึงจำนวนโควตา ไม่ว่าจะเป็นจากคะแนนในรอบแรก หรือรอบอื่นๆ ก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้แทนในเขตนั้นๆ จึงจะได้ที่นั่งในสภา

ผลกระทบของเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำนั้นคือการปฏิเสธการมีตัวแทนของพรรคการเมืองขนาดเล็กหรือมิฉะนั้นจะต้องร่วมพันธมิตรเป็นกลุ่มพรรคการเมือง โดยมีข้อสันนิษฐานเพื่อให้ระบบการเมืองมีความเข้มแข็งขึ้นโดยป้องกันไม่ให้เกิดพรรคเศษจำนวนมากเกินไป ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้กล่าวว่าการที่พรรคขนาดเล็กมีที่นั่งจำนวนหนึ่งในสภาจะช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองเล็กได้ดีขึ้น แต่หากจะให้พรรคที่มีเสียงสนับสนุนเพียงร้อยละ 1 ของทั้งหมดมามีส่วนร่วมในสภา รวมทั้งมีเสียงในการยับยั้งนั้นไม่ค่อยเหมาะสม[1] อย่างไรก็ตาม ผู้วิจารณ์ได้โต้แย้งว่าหากไม่มีการใช้ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับ เสมือนว่าผู้สนับสนุนพรรคเล็กนั้นถูกตัดสิทธิในการเลือกผู้แทนที่ตัวเองเป็นผู้เลือก

เกณฑ์ในประเทศต่างๆ

แก้
 
แผนที่โลกแสดงถึงเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในแต่ละประเทศ
ในบางประเทศมีกฎเพิ่มเติมสำหรับพรรคร่วมพันธมิตรและผู้สมัครอิสระในการชนะที่นั่งในแบบแบ่งเขต
  <1
  1–1.9
  2–2.9
  3–3.9
  4–4.9
  5–5.9
  6–6.9
  7+
  แต่ละสภามีเกณฑ์ต่างกัน

ในโปแลนด์ เยอรมนี และนิวซีแลนด์นั้นล้วนมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในการเลือกสภาผู้แทนราษฎร คือร้อยละ 5 (ในโปแลนด์หากเป็นพรรคพันธมิตรร่วมตั้งแต่สองพรรคขึ้นไปในแต่ละเขตเลือกตั้งจะปรับขึ้นเป็นร้อยละ 8) อย่างไรก็ดีในเยอรมนีและนิวซีแลนด์ หากพรรคการเมืองนั้นชนะการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตอย่างน้อยจำนวนหนึ่งแล้ว ได้แก่ 3 ที่นั่งในเยอรมนี และ 1 ที่นั่งในนิวซีแลนด์ เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำจะไม่ถูกบังคับใช้ ในอิสราเอลใช้เกณฑ์ที่ร้อยละ 3.25 (ในอดีตเคยใช้ร้อยละ 1 ก่อนปีค.ศ. 1992 ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ 1.5 ในช่วงปีค.ศ. 1992-2003 และร้อยละ 2 ในช่วงปีค.ศ. 2003-2014) และตุรกีจำนวนร้อยละ 10 ในโปแลนด์นั้นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยได้รับการยกเว้นและจึงจะมีผู้แทนจำนวนหนึ่งมาจากชนกลุ่มน้อยเยอรมันในรัฐสภาโปแลนด์ในทุกสมัย ในโรมาเนียกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างจากเกณฑ์ปกติสำหรับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร

ในหลายประเทศที่ใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนไม่มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ อาทิเช่น โปรตุเกส แอฟริกาใต้ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และนอร์ทมาซิโดเนีย ถึงแม้ว่าเนเธอร์แลนด์จะมีกฎเพิ่มเติมว่าที่นั่งแรกนั้นห้ามเป็นที่นั่งปัดเศษ ซึ่งหมายความว่ามีการคำนวนเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ 100% หารด้วยจำนวนที่นั่งทั้งหมด (150 ที่นั่ง จึงได้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 0.67) ในสโลวีเนียนั้นในการเลือกตั้งปีค.ศ. 1992 และ 1996 มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ที่ 3 ที่นั่ง ซึ่งหมายความว่าพรรคการเมืองจะต้องชนะคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 3.2 เพื่อจะผ่านเกณฑ์ ต่อมาในปีค.ศ. 2000 เกณฑ์ถูกปรับขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมด

ในสวีเดนมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 4 ในคะแนนระดับชาติ แต่หากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งใดเกินกว่าร้อยละ 12 จะได้รับการจัดสรรที่นั่งของเขตนั้นไป อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2014 ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับเลือกจากเกณฑ์ร้อยละ 12 เลย ในนอร์เวย์มีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในระดับชาติร้อยละ 4 ซึ่งใช้ในการปรับที่นั่งเท่านั้น พรรคการเมืองใดที่ได้รับคะแนนเสียงเพียงพอในระดับเขตนั้นยังสามารถชนะการเลือกตั้งได้ถึงแม้คะแนนของพรรคจะไม่ถึงเกณฑ์ ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2009 พรรคเสรีนิยมชนะ 2 ที่นั่งจากการใช้เกณฑ์นี้

ในออสเตรเลียซึ่งใช้ระบบการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง โดยเลือกที่จะไม่ตั้งเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำแต่มีการกำหนดเขตเลือกตั้งที่มีขนาดเล็กแบบมีผู้แทนหลายคนจึงทำให้พรรคการเมืองต้องได้คะแนนโควตามากเป็นพิเศษจึงจะได้รับเลือกตั้ง นอกจากนี้ในออสเตรเลียยังใช้การลงคะแนนแบบจัดลำดับด้วยจึงทำให้ผู้สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กไม่ถูกละเลยเพราะคะแนนเสียงทุกคะแนนจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้สมัครตามลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนแต่ละคน

ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่ใช้ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดจึงไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการใช้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในหลายรัฐสำหรับพรรคการเมืองเพื่อจะขอให้มีการเข้าถึงบัตรลงคะแนนอัตโนมัติสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปสมัยหน้าโดยไม่ต้องให้ผู้ลงคะแนนยื่นเรื่องต่อทางการ

ในบางประเทศอาจมีมากกว่าหนึ่งเกณฑ์ อาทิเช่น เยอรมนีนั้นมีเกณฑ์ปกติที่ร้อยละ 5 แต่พรรคการเมืองใดที่ชนะการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตมากกว่า 3 ที่นั่งจะสามารถมีผู้แทนได้ในสภาถึงแม้ว่าคะแนนเสียงโดยรวมจะไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 5 ส่วนประเทศอื่นๆ ที่พิจารณาใช้มากกว่าหนึ่งเกณฑ์นั้นส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการศึกษา โดยเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบการเมือง

ยุโรป

แก้
ประเทศ สำหรับแต่ละพรรคการเมือง สำหรับประเภทอื่นๆ
อัลแบเนีย 3% 5% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองในระดับเขตเลือกตั้ง[2]
อันดอร์รา 7.14% (1/14 ของคะแนนเสียงทั้งหมด)[3]
อาร์มีเนีย 5% 7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง
ออสเตรีย 4% หรือ Grundmandat ในเขตเลือกตั้งระดับภูมิภาค
เบลเยียม 5% (ในระดับเขตเลือกตั้ง และไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำในระดับชาติ)
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 3%
บัลแกเรีย 4%
โครเอเชีย 5%
ไซปรัส 3.6% 5% สำหรับนอร์เทิร์นไซปรัส
สาธารณรัฐเช็ก 5% 8% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบสองพรรค และ 11% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบหลายพรรค
เอสโตเนีย 5%
เดนมาร์ก 2% or direct mandate[4][5]
เยอรมนี 5% ของคะแนนบัญชีรายชื่อพรรค
ในการมีตัวแทนในสภา (หรือชนะอย่างน้อยสามที่นั่งในระดับเขต)
0% (ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์), 0% (การเลือกตั้งสภายุโรป)
จอร์เจีย 3%[6]
กรีซ 3%
ฮังการี 5% 10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบสองพรรค, 15% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบหลายพรรค และ 0.26% สำหรับชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ (ที่นั่งแรกเท่านั้น)
ไอซ์แลนด์ 5% (สำหรับการชดเชยที่นั่ง)[7]
อิตาลี 3% 10% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง) แต่บัญชีรายชื่อจะต้องได้รับอย่างน้อย 3%, 1% (ของแต่ละพรรคในกลุ่มพันธมิตร), 20% หรือชนะใน 2 เขตเลือกตั้ง (กลุ่มชาติพันธุ์)
คาซักสถาน 7%
ลัตเวีย 5%
ลิกเตนสไตน์ 8%
ลิธัวเนีย 5% 7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง
มอลโดวา 5% 3% (อิสระ), 12% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง)
โมนาโค 5%[8]
มอนเตเนโกร 3% มีกฎพิเศษสำหรับบัญชีรายชื่อของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์[9]
เนเธอร์แลนด์ 0.667% (จำนวนร้อยละของคะแนนเสียงที่ต้องการสำหรับหนึ่งที่นั่ง)[10]
นอร์เวย์ 4% (สำหรับการชดเชยที่นั่ง)
โปแลนด์ 5% 8% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง; ซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับการเลือกตั้งสภายุโรป); 0% (ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์)
โรมาเนีย 5% 10% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง)
รัสเซีย 5%
ซานมารีโน 5%[11]
สกอตแลนด์ 5%
สเปน 3% (ระดับเขต) ส่วนเซวตาและเมลียาใช้การลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด โดยไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับวุฒิสภาและการเลือกตั้งสภายุโรป 5% สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น และหลายเกณฑ์ในการเลือกตั้งระดับแคว้น
สวีเดน 4% (ระดับชาติ)
12% (ระดับเขต)
เซอร์เบีย 3%[12] ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับบัญชีรายชื่อระดับชาติของกลุ่มชาติพันธุ์[13][12]
สโลวาเกีย 5% 7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองสองพรรค, 10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองมากกว่าสองพรรค
สโลวีเนีย 4%
ตุรกี 10% 10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองที่อยู่ในพันธมิตรจะไม่ต้องมีเกณฑ์ขั้นต่ำในระดับชาติเป็นรายพรรค ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับผู้สมัครอิสระ
ยูเครน 5%
เวลส์ 5%

ทวีปอื่นๆ

แก้
ประเทศ สำหรับแต่ละพรรคการเมือง สำหรับประเภทอื่นๆ
อาร์เจนตินา 3% ของผู้มีสิทธิลงคะแนน[14]
บราซิล 1.5%
โบลีเวีย 3%
บุรุนดี 2%[15]
โคลอมเบีย 3%
ติมอร์ตะวันออก 4%[16][17][18]
ฟิจิ 5%
อินโดนีเซีย 4% (สำหรับแค่สภาผู้แทนราษฎร)[19]
อิสราเอล 3.25%
คีร์กีซสถาน 9% และ 0.7% ของคะแนนเสียงทั้งหมดในแต่ละแคว้นทั้งเจ็ด
โมซัมบิก 5%[20]
เนปาล 3% ของคะแนนเสียงทั้งหมดในระบบสัดส่วน และอย่างน้อย 1 ที่นั่งจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
นิวซีแลนด์ 5% (หรือชนะอย่างน้อย 1 ที่นั่งในแบบแบ่งเขต)
เปรู 5%[21]
ปาเลสไตน์ 2%
ฟิลิปปินส์ 2% สำหรับที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 20% ของที่นั่งทั้งหมดในสภาล่าง พรรคการเมืองอื่นๆ สามารถได้รับที่นั่งหากจำนวนที่นั่ง 20% นี้ยังจัดสรรได้ไม่ครบ
เกาหลีใต้ 3% (หรือชนะอย่างน้อย 5 ที่นั่งในแบบแบ่งเขต)[22][23] 5% (การเลือกตั้งสภาท้องถิ่น)[24]
รวันดา 5%
ไต้หวัน 5%[25]
ทาจิกิสถาน 5%[26]
อุรุกวัย 1% (สภาผู้แทนราษฎร)
3% (วุฒิสภา)


อ้างอิง

แก้
  1. Reynolds, Andrew (2005). Electoral system design : the new international IDEA handbook. Stockholm, Sweden: International Institute for Democracy and Electoral Assistance. p. 59. ISBN 978-91-85391-18-9. OCLC 68966125.
  2. The Electoral Code of the Republic of Albania เก็บถาวร 31 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Artikel 162; vor der Wahl 2009 waren es bei völlig anderem Wahlsystem 2,5 % bzw. 4 % der gültigen Stimmen auf nationaler Ebene (nur für die Vergabe von Ausgleichssitzen; Direktmandate wurden ohne weitere Bedingungen an den stimmenstärksten Kandidaten zugeteilt)
  3. OSCE (2020-02-19). "PRINCIPALITY OF ANDORRA PARLIAMENTARY ELECTIONS 7 April 2019 ODIHR Needs Assessment Mission Report". สืบค้นเมื่อ 2020-02-19.
  4. "Folketingsvalgloven". สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
  5. Bille, Lars; Pedersen, Karina (2004). "Electoral Fortunes and Responses of the Social Democratic Party and Liberal Party in Denmark: Ups and Downs". ใน Mair, Peter; Müller, Wolfgang C.; Plasser, Fritz (บ.ก.). Political parties and electoral change. SAGE Publications. p. 207. ISBN 0-7619-4719-1.
  6. "New Constitution of Georgia comes into play as the presidential inauguration is over". Agenda.ge. 17 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  7. [1], Election to Altthingi Law, Act no. 24/2000, Article 108
  8. "Election Profile". IFES. สืบค้นเมื่อ 2013-02-11.
  9. "These rules apply to lists representing a minority nation or a minority national community with a share of the total population of up to 15 per cent countrywide or 1.5 to 15 per cent within each municipality. If no minority list passes the 3 per cent threshold, but some lists gain 0.7 per cent or more of the valid votes, they are entitled to participate in the distribution of up to 3 mandates as a cumulative list of candidates based on the total number of valid votes. Candidate lists representing the Croatian minority are entitled to 1 seat if they obtain at least 0.35 per cent of the valid votes." Source: OSCE, 2016, Montenegro Parliamentary Elections 2016: OSCE/ODIHR Election Observation Mission Final Report
  10. "Who can vote and for whom? How the Dutch electoral system works". DutchNews.nl (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  11. "OSCE report on 2019 parliamentary elections".
  12. 12.0 12.1 "Parliament agrees to 3% electoral threshold". Serbian Monitor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
  13. OSCE. "REPUBLIC OF SERBIA PARLIAMENTARY ELECTIONS Spring 2020 ODIHR Needs Assessment Mission Report".
  14. Código Electoral Nacional, Article 160
  15. Electoral system IPU
  16. Electoral system Inter-Parliamentary Union
  17. [2] เก็บถาวร 2018-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Fourth amendment to the Law on Election of the National Parliament. Article 13.2
  18. Timor Agora: PN APROVA BAREIRA ELEISAUN PARLAMENTAR 4%, 13. Februar 2017, abgerufen am 23. März 2017.
  19. "New election bill, new hope for democracy".
  20. Electoral system IPU
  21. "Peru's small political parties scramble to survive". April 2016.
  22. "국가법령정보센터".
  23. 공직선거법 제189조 제1항(The first clause of Article 189 of the Public Official Election Act)
  24. 공직선거법 제190조의2 제1항(The first clause of Article 190-2 of the Public Official Election Act)
  25. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2014. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  26. "Tajikistan ruling party to win polls, initial count shows". สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.