การลงคะแนนแบบจัดลำดับ

การลงคะแนนแบบจัดลำดับ (อังกฤษ: ranked voting) หรือเรียกอีกอย่างว่า การลงคะแนนตามลําดับความชอบ (อังกฤษ: ranked-choice voting) หรือ การลงคะแนนตามความชอบ (อังกฤษ: preferential voting) เป็นระบบการลงคะแนนใดๆ ที่ผู้ลงคะแนนเสียงใช้การจัดลำดับผู้สมัคร (หรือลำดับความชอบ) ในบัตรลงคะแนนเพื่อเลือกผู้สมัครมากกว่าหนึ่งรายขึ้นไป และเพื่อเรียงลำดับตัวเลือกผู้สมัครทั้งหมดเป็นลำดับที่หนึ่ง สอง สาม ไปจนครบ โดยในการนับคะแนนนั้นมีหลายวิธีในการนับคะแนนตามลำดับการเลือกเพื่อจะหาผู้ชนะการเลือกตั้ง (คนเดียว หรือหลายคน) ซึ่งในแต่ละวิธีนับคะแนนอาจจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแม้ว่าบัตรลงคะแนนจะเป็นชุดเดียวกันก็ตาม การลงคะแนนแบบจัดลำดับนั้นแตกต่างจากแบบคาร์ดินัล ซึ่งผู้สมัครแต่ละรายนั้นจะได้รับคะแนนมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ไม่ใช่ในลักษณะการจัดลำดับ[1]

คำว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ" (อังกฤษอเมริกัน: ranked-choice voting, ย่อ RCV) จำกัดความโดยองค์กร FairVote ของสหรัฐว่าเป็นระบบการลงคะแนนที่ใช้บัตรลงคะแนนเพื่อจัดลำดับโดยมีวิธีการนับคะแนนเฉพาะ ได้แก่การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (intstant-runoff voting) สำหรับการเลือกตั้งแบบหาผู้ชนะเพียงคนเดียว หรือการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (single transferable vote) สำหรับการเลือกตั้งแบบหาผู้ชนะหลายคน ในประเทศอื่นๆ นั้นใช้เรียก "การลงคะแนนตามความชอบ" เพื่อกล่าวถึงการลงคะแนนและการนับคะแนนในแบบเดียวกัน ในขณะที่บางประเทศอาจจะหมายความเฉพาะกิจตามประเทศนั้นๆ[2][3]

การลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) เป็นระบบการลงคะแนนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความใกล้เคียงกับระบบสัดส่วนโดยแบ่งเป็นหลายเขตเลือกตั้งมากกว่าเขตใหญ่เขตเดียว เนื่องจากทั้ง RCV และ STV นั้นมีขั้นตอนต่างๆ คล้ายกัน จึงทำให้ถูกเรียกชื่อสลับกันโดยเป็นปกติ ผู้ที่สนับสนุนแบบ STV นั้นกล่าวว่าเนื่องจากในระบบนี้ผู้สมัครหลายรายที่มาจากหลายพรรคการเมืองอาจถูกเลือกในบัตรลงคะแนนได้แทนที่จะเลือกเพียงคนเดียว จึงทำให้สมาชิกที่รับเลือกทุกคนที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้นั้นชนะได้จากคุณสมบัติส่วนบุคคล[4] ผู้ลงคะแนนเสียงยังมีความยึดโยงต่อผู้สมัครในเขตเลือกตั้งของตนได้ในระบบ STV เนื่องจากเขตเลือกตั้งมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ทำให้มีความเชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองกับประชาชน และยังเป็นตัวเลือกให้กับผู้ลงคะแนนในการเลือกผู้แทนได้อย่างเหมาะสม[5]

การลงคะแนนแบบจัดลำดับยังเก็บข้อมูลจากผู้ลงคะแนนได้มากกว่าบัตรลงคะแนนแบบกาเพียงหมายเลขเดียวดังที่ใช้ในการเลือกตั้งส่วนใหญ่ในปัจจุบันซึ่งนิยมใช้วิธีลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และระบบสัดส่วนผสม

ประเภท

แก้

เนื่องจากระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับมีหลายแบบที่แตกต่างกัน บางครั้งจึงเป็นการยากที่จะแยกได้ชัดเจนในแต่ละประเภท

แบบหลายรอบในทันที

แก้
 
ตัวอย่างบัตรลงคะแนนแบบจัดลำดับโดยลงคะแนนตามลำดับคอลัมน์

การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทีมีลักษณะการลงคะแนนแบบเป็นชุดพร้อมๆ กัน ผู้ลงคะแนนสามารถจัดลำดับความชอบผู้สมัครทุกรายเป็นตัวเลือกลำดับแรก ลำดับสอง ลำดับสาม ไปเรื่อยๆ แทนที่จะเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว[6] โดยในการนับคะแนนผู้สมัครในลำดับแรก (ที่ผู้ลงคะแนนเลือกเป็นที่ 1) ที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (เกินร้อยละ 50) จะเป็นผู้ชนะในทันที[7] หากในกรณีไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมด ดังนั้นคะแนนเสียงที่เลือกผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในรอบ (ซึ่งจะตกรอบไป) จะถูกปันมาให้กับผู้สมัครรายที่เหลือตามลำดับที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้งแต่ละใบ หากยังไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดอีกก็จะทำซ้ำขั้นตอนเดิมต่อไป[8][7]

วิธีนี้ถูกคิดว่ามีความทนต่อการปั่นคะแนนเสียงได้เนื่องจากกลยุทธ์เดียวที่ใช้ป้องกันได้คือต้องให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนผู้สมัครที่ต้องการให้แพ้อยู่ในลำดับสูงเข้าไว้ ในขณะเดียวกัน ระบบนี้สอบตกเมื่อประเมินจากเกณฑ์กงดอร์แช หมายความว่าผู้สมัครสามารถเป็นผู้ชนะได้ถึงแม้ว่าผู้ลงคะแนนจะชอบผู้สมัครรายอื่นมากกว่า และยังสอบตกเกณฑ์ลำดับทางเดียว (monotonicity criterion) คือในการจัดลำดับผู้สมัครรายใดสูงจะทำให้ลดโอกาสในการทำให้ผู้สมัครรายนั้นชนะได้ (และกรณีกลับกัน) นอกจากนี้แล้ว นอกจากนี้การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทียังมีประสิทธิภาพทางกงดอร์แช (Condorcet efficiency) ต่ำกว่าระบบอื่นที่ใกล้เคียงกันซึ่งมีตัวเลือกมากกว่าสี่[9]

แบบมีเงื่อนไข

แก้

ในระบบการลงคะแนนแบบมีเงื่อนไข ผู้สมัครทุกรายยกเว้นเพียงสองรายที่ได้รับคะแนนสูงสุดในลำดับที่หนึ่งจะตกรอบพร้อมกันทั้งหมด และคะแนนเสียงตามลำดับที่เหลือจะโอนให้ผู้สมัครหนึ่งในสองรายนี้เพื่อหาผู้ชนะ

แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

แก้
 
ตัวอย่างบัตรลงคะแนนแบบจัดลำดับโดยให้ผู้ลงคะแนนเขียนชื่อผู้สมัครตามลำดับก่อนหลัง

ระบบนี้ใช้สำหรับการเลือกตั้งผู้แทนหลายคนต่อหนึ่งเขตเลือกตั้ง โดยผู้สมัครรายใดๆ ที่ได้คะแนนเสียงถึงโควตาที่กำหนดจะได้รับเลือก และคะแนนเสียงส่วนเกินจากโควตานั้นจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครในลำดับถัดไปตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง โดยหากยังไม่สามารถได้ผู้ชนะครบทุกที่นั่ง ผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบและคะแนนของผู้ตกรอบจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครลำดับถัดไปตามบัตรเลือกตั้ง ขั้นตอนเหล่านี้จะถูกทำซ้ำจนกว่าจะได้ผู้ชนะครบทุกที่นั่ง วิธีนี้เรียกอีกชื่อว่า "ระบบแฮร์-คลาร์ก" และผลลัพธ์ที่ได้ควรจะมีความเป็นสัดส่วน[10] ผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งเดียวกันได้[11]

เมื่อใช้ระบบนี้ในการหาผู้ชนะเพียงคนเดียวต่อเขตเลือกตั้งจะมีผลลัพธ์เท่ากับการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที[12] โดยวิธีทั้งสองนี้ในสหรัฐเรียกว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ"

วิธีกงดอร์แช

แก้

วิธีกงดอร์แช และวิธีสมิธใช้เลือกผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเป็นคู่ ซึ่งมากกว่าผู้สมัครทุกๆ คู่ วิธีสมิธจะเลือกผู้สมัครจากชุดสมิธ (Smith set) ซึ่งคือผู้ชนะกงดอร์แชหากมีเพียงผู้สมัครรายเดียว

แบบพิสัย

แก้

การนับแบบบอร์ดา

แก้

ตัวอย่าง

แก้

 

สมมติว่ารัฐเทนเนสซีกำลังจะจัดการเลือกตั้งเพื่อเลือกเมืองหลวงของรัฐ โดยประชากรในรัฐเทนเนสซีนั้นกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลักทั้งสี่เมืองซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละฝั่งของรัฐ ในตัวอย่างนี้ให้สมมติว่าเขตเลือกตั้งทั้งเขตนั้นอยู่ในเขตเมืองทั้งสี่นี้ และประชาชนทุกคนต้องการเลือกให้อาศัยอยู่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด

รายชื่อเมืองผู้สมัครเข้ารับตำแหน่งเมืองหลวงได้แก่

  • เมมฟิส ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ มีผู้ลงคะแนนมากถึงร้อยละ 42 แต่ตั้งอยู่ไกลจากเมืองอื่นๆ
  • แนชวิลล์ มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 26 ตั้งอยู่ใจกลางรัฐ
  • น็อกซ์วิลล์ มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 17
  • แชตตานูกา มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 15

การแบ่งจำนวนเสียงข้อผู้ลงคะแนนสามารถจำแนกได้ดังนี้

42% ของคะแนนเสียง
(ใกล้กับเมมฟิส)
26% ของคะแนนเสียง
(ใกล้กับแนชวิลล์)
15% ของคะแนนเสียง
(ใกล้กับแชตตานูกา)
17% ของคะแนนเสียง
(ใกล้กับน็อกซ์วิลล์)
  1. เมมฟิส
  2. แนชวิลล์
  3. แชตตานูกา
  4. น็อกซ์วิลล์
  1. แนชวิลล์
  2. แชตตานูกา
  3. น็อกซ์วิลล์
  4. เมมฟิส
  1. แชตตานูกา
  2. น็อกซ์วิลล์
  3. แนชวิลล์
  4. เมมฟิส
  1. น็อกซ์วิลล์
  2. แชตตานูกา
  3. แนชวิลล์
  4. เมมฟิส

การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที

แก้

การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (Instant run-off) นำคะแนนในรอบแรกของผู้สมัครแต่ละรายมาเปรียบเทียบกัน หากไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบ และเริ่มการคำนวนใหม่โดยคะแนนของผู้ตกรอบจะถ่ายโอนไปให้ลำดับถัดไป

ในรอบแรกแชตตานูกาตกรอบ โดยคะแนนเสียงจะถ่ายโอนให้กับน็อกซ์วิลล์ ทำให้น็อกซ์วิลล์ได้คะแนนเสียงมากกว่าแนชวิลล์ ทำให้ในรอบที่สองแนชวิลล์กลายเป็นผู้ตกรอบ ในรอบถัดไปคะแนนของแนชวิลล์ถูกถ่ายโอนไปให้น็อกซ์วิลล์ตามบัตรลงคะแนน จึงทำให้น็อกซ์วิลล์ชนะคะแนนเสียงข้างมาก

คะแนนเสียงต่อรอบ/
ตัวเลือกเมือง
รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3
เมมฟิส 42% 42% 42%
แนชวิลล์ 26% 26%
น็อกซ์วิลล์ 17% 32% 58%
แชตตานูกา 15%

การลงคะแนนแบบจัดลำดับคู่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Riker, William Harrison (1982). Liberalism against populism: a confrontation between the theory of democracy and the theory of social choice. Waveland Pr. pp. 29–30. ISBN 0881333670. OCLC 316034736. Ordinal utility is a measure of preferences in terms of rank orders—that is, first, second, etc. ... Cardinal utility is a measure of preferences on a scale of cardinal numbers, such as the scale from zero to one or the scale from one to ten.
  2. Toplak, Jurij (2017). "Preferential Voting: Definition and Classification". Lex Localis – Journal of Local Self-Government. 15 (4): 737–761. doi:10.4335/15.4.737-761(2017).
  3. Farrell, David M.; McAllister, Ian (2004-02-20). "Voter Satisfaction and Electoral Systems: Does Preferential Voting in Candidate-Centered Systems Make A Difference" (ภาษาอังกฤษ). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "Single Transferable Vote". www.electoral-reform.org.uk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  5. "How to conduct an election by the Single Transferable Vote 3rd Edition". www.electoral-reform.org.uk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  6. FairVote.org. "Ranked Choice Voting / Instant Runoff". FairVote. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
  7. 7.0 7.1 "Ranked-choice voting (RCV)". Ballotpedia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wsj1
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ G&F
  10. "Glossary". ElectionGuide. International Foundation for Electoral Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2012.
  11. Affairs, The Department of Internal. "STV Information". www.stv.govt.nz (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
  12. "Q&A: Electoral reform and proportional representation". BBC. 2010-05-11. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.