เขตเลือกตั้ง (อังกฤษ: electoral district, voting district, constituency) เป็นหน่วยย่อยของรัฐที่ใหญ่กว่า เช่น ประเทศ เขตการปกครอง เป็นต้น กำหนดขึ้นเพื่อแบ่งส่วนประชากรตามจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นตามสัดส่วนต่อประชากรทั้งประเทศสำหรับลงคะแนนเลือกตั้งและกำหนดอาณาเขตของแต่ละเขตเลือกตั้ง และใช้กำหนดจำนวนผู้แทนต่อเขตเลือกตั้งด้วย

โดยปกติแล้ว เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งจะได้สิทธิให้ลงคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งของตน ผู้แทนในเขตนั้นมาจากการลงคะแนนเสียงในระบบคะแนนสูงสุด ระบบสัดส่วน หรือระบบอื่น ๆ โดยการเลือกตั้งสามารถกระทำได้ทั้งแบบเลือกตั้งทั่วไป แบบเลือกตั้งทางอ้อม หรือแบบอื่น ๆ

หลักเกณฑ์ แก้

ประเทศไทย แก้

หลักเกณฑ์ของการแบ่งเขตเลือกตั้งมีอยู่ 3 ข้อ ตามมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประกาศบังคับใช้ กำหนดว่า[1]

  1. การแบ่งเขตแต่ละเขตเลือกตั้งจะต้องมีพื้นที่ติดต่อกัน
  2. ต้องจัดให้มีจำนวนประชาชนในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน
  3. ต้องให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งเพื่อให้ทราบว่าภูมิลำเนาอยู่ในเขตไหน

การลงคะแนนแบบไม่แบ่งเขตเลือกตั้ง แก้

ในการลงคะแนนในระบอบประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องแบ่งเขตเลือกตั้งก่อนการลงคะแนนเสมอไป ตัวอย่างเช่น อิสราเอลมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาโดยทั้งประเทศถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้งเขตเดียว ในขณะที่เขตเลือกตั้งทั้ง 26 เขตในอิตาลี และ 20 เขตในเนเธอร์แลนด์นั้นมีบทบาทในการเลือกตั้งทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในการหาคำนวณหาจำนวนที่นั่งสำหรับเขตเลือกตั้งนั้น ๆ นอกจากนี้ยูเครนยังใช้เขตเลือกตั้งเพียงเขตเดียวสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนครึ่งสภาเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ความสำคัญของการแบ่งเขตเลือกตั้ง" เก็บถาวร 2021-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยามรัฐออนไลน์, บทบรรณาธิการ, เข้าดูเมื่อ 12 มิถุนายน 2021
  2. "Parliament Passes Law on Parliamentary Elections", Kyiv Post, 17 November 2011.