พรรคชาติสกอต

พรรคการเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร และ สกอตแลนด์

พรรคชาติสกอต (อังกฤษ: Scottish National Party) เป็นพรรคการเมืองชาตินิยมสกอตและสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศสกอตแลนด์ พรรคฯ สนับสนุนและรณรงค์เรียกร้องเอกราชของสกอตแลนด์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่สุดอันดับสามตามสมาชิกภาพในสหราชอาณาจักร รองจากพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม และเป็นพรรคใหญ่สุดในประเทศสกอตแลนด์ จำนวนสมาชิกของพรรคฯ มีมากกว่าสี่เท่าของจำนวนสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมสกอต แรงงานสกอตและเสรีประชาธิปไตยสกอตรวมกัน หัวหน้าพรรคชาติสกอตคนปัจจุบันคือฮัมซา ยูซาฟ ซึ่งเข้ามาแทนที่นิโคลา สเตอร์เจียน หลังจากการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2023

พรรคชาติสกอต
Scottish National Party
หัวหน้าพรรคฮัมซา ยูซาฟ (ส.ส.)
รองหัวหน้าพรรคเคธ บราวน์ (ส.ส.)
ผู้นำสมาชิกสภาสามัญชนเอียน แบล็คฟอร์ด (ส.ส.)
ก่อตั้ง7 เมษายน 2477
รวมตัวกับ
  • พรรคชาติสกอตแลนด์
  • พรรคชาวสกอต
ที่ทำการGordon Lamb House
3 Jackson's Entry
Edinburgh
EH8 8PJ
อุดมการณ์ชาตินิยม[1][2]
สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์[3]
เสรีชาตินิยม[4][5]
ท้องถิ่นนิยม[6][7]
ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม[8][9][10]
สนับสนุนสหภาพยุโรป[11]
จุดยืนกลาง-ซ้าย
กลุ่มในภูมิภาคพรรคพันธมิตรเสรีแห่งยุโรป [1]
สี  สีเหลือง
สภาสามัญชน
(ที่นั่งฝั่งสกอตแลนด์)
48 / 59
รัฐสภาสกอตแลนด์[12]
64 / 129
เว็บไซต์
www.snp.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
การเมืองสหราชอาณาจักร
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคฯ ก่อตั้งในปี 2477 จากการวมพรรคชาติสกอตแลนด์ (National Party of Scotland) และพรรคชาวสกอต (Scottish Party) มีผู้แทนในรัฐสภาอย่างต่อเนื่องนับแต่วินนี อีวิง (Winnie Ewing) ชนะการเลือกตั้งซ่อมแฮมิลตันปี 2510 เมื่อมีรัฐสภาสกอตในปี 2542 พรรคฯ กลายเป็นพรรคการเมืองใหญ่สุดอันดับสอง โดยเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่สองสมัย พรรคฯ เถลิงอำนาจในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2550 ตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ก่อนชนะการเลือกตั้งปี 2554 หลังจากนั้น พรรคฯ ตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากครั้งแรกของประเทศสกอตแลนด์

ในปี 2558 พรรคฯ เป็นพรรคการเมืองใหญ่สุดในแง่สมาชิกภาพ สมาชิกรัฐสภาสกอต สมาชิกรัฐสภาและสมาชิกสภาท้องถิ่น โดยมีสมาชิกกว่า 115,000 คน สมาชิกรัฐสภาสกอต 64 คน สมาชิกรัฐสภา 55 คนและสมาชิกสภาท้องถิ่น 424 คน คิดรวมเป็น 2% ของประชากรชาวสกอตทั้งหมด ปัจจุบัน พรรคฯ ยังมี 2 ที่นั่งในรัฐสภายุโรป ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดอะกรีน/พันธมิตรเสรียุโรป (Greens/EFA) พรรคฯ เป็นสมาชิกของพันธมิตรเสรียุโรป

อ้างอิง

แก้
  1. Hassan, Gerry (2009), The Modern SNP: From Protest to Power, Edinburgh University Press, pp. 5, 9
  2. Christopher Harvie (2004). Scotland and Nationalism: Scottish Society and Politics, 1707 to the Present. Psychology Press. ISBN 978-0-415-32724-4.
  3. Independence. Scottish National Party. เก็บถาวร 28 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Mitchell, James; Bennie, Lynn; Johns, Rob (2012), The Scottish National Party: Transition to Power, Oxford University Press, pp. 107–116
  5. Keating, Michael (2009), "Nationalist Movements in Comparative Perspective", The Modern SNP: From Protest to Power, Edinburgh University Press, pp. 214–217
  6. Frans Schrijver (2006). Regionalism After Regionalisation: Spain, France and the United Kingdom. Amsterdam University Press. pp. 261–290. ISBN 978-90-5629-428-1.
  7. Lynn Bennie (2017). "The Scottish National Party: Nationalism for the many". ใน Oscar Mazzoleni; Sean Mueller (บ.ก.). Regionalist Parties in Western Europe: Dimensions of Success. Taylor & Francis. pp. 22–41. ISBN 978-1-317-06895-2.
  8. "About Us". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2015.
  9. Eve Hepburn (18 October 2013). New Challenges for Stateless Nationalist and Regionalist Parties. Routledge. p. 9. ISBN 978-1-317-96596-1.
  10. Bob Lingard (24 July 2013). Politics, Policies and Pedagogies in Education: The Selected Works of Bob Lingard. Routledge. p. 120. ISBN 978-1-135-01998-3.
  11. "Anti-Brexit feeling expected to help SNP in European elections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2019.
  12. BBC (2016). "Scotland Parliament election 2016". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.