การเลือกตั้งในกัมพูชา
การเลือกตั้งในกัมพูชามีสองระดับคือสมัชชาแห่งชาติ (ภาษาเขมร: រដ្ឋសភាជាតិ, Radhsphea) มีสมาชิก 123 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และพฤฒสภา(ภาษาเขมร: ព្រឹទ្ធសភា, Sénat) มีสมาชิก 61 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของพรรคการเมืองในสมัชชาแห่งชาติ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองเด่นพรรคเดียว คือพรรคประชาชนกัมพูชา
หลังจากมีการลงนามในสนธิสัญญาปารีส พ.ศ. 2534 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองและการรุกรานของต่างชาติ และการสิ้นสุดการมีกองกำลังติดอาวุธภายในประเทศ (เขมรแดง) เมื่อ พ.ศ. 2541 กัมพูชามีการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536 2541 และ 2546 การเลือกตั้งครั้งแรกจัดตั้งโดยอันแทค การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และสภาชุมชนที่ได้รับเลือกนี้ไปเลือกสมาชิกพฤฒสภาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549
พรรคการเมืองที่มีความโดดเนในกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา พรรคฟุนซินเปก พรรคสมรังสี พรรคประชาชนกัมพูชาได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 แต่ได้เสียงไม่ถึงสองในสามจึงไม่พอจัดตั้งรัฐบาล การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นสำเร็จเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคฟุนซินเปก[1]
ต้นปี พ.ศ. 2549 พรรคประชาชนกัมพูชาประสบความสำเร็จในการแก้รัฐธรรมนูญ ให้พรรคที่มีคะแนนเสียงมากกว่าร้อยละ 50 หรือพรรคที่มีเสียงส่วนใหญ่ในสมัชชาแห่งชาติได้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นการลดโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลผสมในอนาคต
อ้างอิง
แก้- ↑ Country Assessment Strategy (CAS) for the Kingdom of Cambodia เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Bank, April 18, 2005.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- National Election Committee เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cambodia Development Resource Institute (CDRI) - Development policy research institute
- Committee for Free and Fair Elections in Cambodia เก็บถาวร 2007-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (COMFREL) - NGO
- Coalition for Free and Fair Elections (COFFEL) - NGO