สงครามกลางเมืองกัมพูชา
สงครามกลางเมืองกัมพูชา หรือบ้างเรียก การปฏิวัติเขมร เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) และเวียดกงฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) อีกฝ่ายหนึ่ง
สงครามกลางเมืองกัมพูชา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม, สงครามอินโดจีน, และ สงครามเย็น | |||||||
รถถังสหรัฐเข้าเมืองกัมพูชาในปี พ.ศ. 2513 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ราชอาณาจักรกัมพูชา (1968–1970) การสนับสนุน: |
เขมรแดง | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (1968–1970) ลน นล สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ลอง โบเรต ริชาร์ด นิกสัน เฮนรี คิสซินเจอร์ โรเบิร์ต แม็กนามารา Clark Clifford Melvin Laird |
พล พต เขียว สัมพัน เอียง ซารี นวน เจีย ซอน เซน พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (1970–1975) ซอน ซาน (1970–1975) | ||||||
กำลัง | |||||||
30,000 (1968)[1] 35,000 (1970)[2] 100,000 (1972)[2] 200,000 (1973)[2][1] 50,000 (1974)[2] |
4,000 (1970)[3] 70,000 (1972)[2] 40,000–60,000 (1975)[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 275,000–310,000 ราย[4][5][6] |
สงครามนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากอิทธิพลและการกระทำของพันธมิตรคู่สงคราม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) เป็นไปเพื่อป้องกันฐานที่มั่นทางตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งหากเสียไปการดำเนินความพยายามทางทหารในเวียดนามใต้จะยากขึ้น หรัฐประหาร 18 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทำให้รัฐบาลนิยมอเมริกาและต่อต้านเวียดนามเถลิงอำนาจ และยุติความเป็นกลางในสงครามเวียดนาม กองทัพเวียดนามเหนือจึงถูกคุกคามจากทั้งรัฐบาลกัมพูชาใหม่ที่ไม่เป็นมิตรทางตะวันตก และกองกำลังสหรัฐและเวียดนามใต้ในเวียดนามทางตะวันออก
หลังจากการสู้รบผ่านไป 5 ปี รัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐเขมรพ่ายแพ้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 และเขมรแดงได้ประกาศตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย ความขัดแย้งนี้แม้จะเป็นการสู้รบในประเทศ แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2502 – 2518) และมีความเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างราชอาณาจักรลาว เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา
ช่วงเริ่มต้น (พ.ศ. 2508 – 2513)
แก้ภูมิหลัง
แก้ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา นโยบายเอียงซ้ายของพระนโรดม สีหนุได้ปกป้องประเทศในการเข้าสู่สงครามเช่นในราชอาณาจักรลาวและเวียดนามใต้[7] ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนามเหนือต่างไม่โต้แย้งถึงสถานะเอียงซ้ายของพระนโรดม สีหนุ กรมประชาชนถูกรวมเข้ากับรัฐบาล ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 พระนโรดม สีหนุได้ยุติข้อตกลงกับสหรัฐ งดรับความช่วยเหลือและหันไปรับความช่วยเหลือจากจีนและสหภาพโซเวียต ใน พ.ศ. 2509 มีข้อตกลงระหว่างจีนและพระนโรดม สีหนุมากขึ้นจนมีกองทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงเข้ามาตั้งอยู่ในกัมพูชาตะวันออก และยอมให้ใช้ท่าเรือสีหนุวิลล์เพื่อขนส่งอาวุธและอาหารให้กับเวียดกง
ในปีเดียวกัน พระนโรดม สีหนุยอมให้ นายพลลน นล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่นิยมสหรัฐปราบปรามกิจกรรมของฝ่ายซ้าย ทำให้สมาชิกกรมประชาชนส่วนหนึ่งหนีไปฮานอย พระนโรดม สีหนุเสียความนิยมไปส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ สินค้าที่ควรส่งออกถูกส่งไปให้เวียดกง กองกำลังคอมมิวนิสต์ในประเทศเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 11 กันยายน ฝ่ายอนุรักษนิยมได้คะแนนเสียงถึง 75%.[8][9] ลน นลได้เป็นนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีคือพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพระนโรดม สีหนุ ความตึงเครียดในสังคมเพิ่มขึ้น และยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ชนบท[10]
การลุกฮือที่พระตะบอง
แก้ในการรักษาสมดุลระหว่างที่ฝ่ายอนุรักษนิยมได้รับการสนับสนุนมากขึ้น พระนโรดม สีหนุได้จัดตั้งรัฐบาลเงาเพื่อตรวจสอบการบริหารของลน นล[11] สิ่งหนึ่งที่ลน นลได้ทำเป็นอย่างแรกเมื่อเข้ารับตำแหน่งคือแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยอุดรูรั่วของการขนส่งข้าวไปให้พรรคคอมมิวนิสต์ ทหารถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อควบคุมการเก็บเกี่ยวและซื้อด้วยราคาของรัฐบาลซึ่งเป็นราคาที่ต่ำ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวนา โดยเฉพาะในพระตะบอง[12][13] ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2510 ในขณะที่พระนโรดม สีหนุเสด็จไปฝรั่งเศส กลุ่มกบฏได้ลุกฮือที่สัมลวต ในพระตะบอง ทำร้ายเจ้าหน้าที่เก็บภาษี ลน นลได้ประกาศกฎอัยการศึก และส่งทหารเข้าไปทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน หมู่บ้านถูกเผา เมื่อพระนโรดม สีหนุเสด็จกลับมา ได้สั่งจับกุม ฮู ยวน ฮู นิม และเขียว สัมพัน ทั้งหมดได้หนีไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พระนโรดม สีหนุได้สั่งให้จับกุมพ่อค้าคนกลางชาวจีน ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าวผิดกฎหมาย ต่อมา ลน นลถูกบีบให้ลาออก พระนโรดม สีหนุพยายามให้ฝ่ายซ้ายเข้ามาถ่วงดุลกับฝ่ายอนุรักษนิยม วิกฤตที่เกิดขึ้นได้ผ่านพ้นไป แต่ทำให้มีประชาชนหลบลงใต้ดินไปรวมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์มากขึ้น ซึ่งพระนโรดม สีหนุเรียกกลุ่มนี้ว่าเขมรแดง ส่วนลน นลกลายเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการปราบปรามอันเหี้ยมโหด[14]
การจัดกลุ่มใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์
แก้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2510 แม้จะไม่ได้วางแผนมาอย่างดี แต่ก็ทำให้เห็นภาพพจน์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ว่าในเขตชนบท ผู้นำคือ พล พต เอียง ซารี และซอน เซน[15] ซึ่งเป็นผู้นิยมลัทธิเหมา มีอิทธิพลในเขตพื้นที่ของเขมรบน เขมรแดงมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนามเหนือน้อย ได้มีการจัดองค์กรใหม่ จัดตั้งองค์กรและอบรมเอง ในขณะที่เวียดนามเหนือก็ไม่พอใจกลุ่มนิยมจีนเหล่านี้ ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2511 เขมรแดงได้เริ่มการต่อสู้โดยจัดตั้งกองทัพปฏิวัติกัมพูชา ต่อมาในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 พระนโรดม สีหนุได้สถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอีกครั้งตามคำแนะนำของกลุ่มฝ่ายขวาในรัฐบาล
ปฏิบัติการมนู
แก้แม้ว่าสหรัฐจะกังวลเกี่ยวกับการเข้ามาแทรกแซงในกัมพูชาของเวียดนามตั้งแต่ พ.ศ. 2509 แต่สหรัฐก็ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพราะคิดว่าพระนโรดม สีหนุจะเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่ก็ได้ส่งที่ปรึกษาทางการทหารเข้าไปใน พ.ศ. 2510 อย่างไรก็ตาม นโยบายที่จะให้สหรัฐถอนตัวออกจากเวียดนามและทำให้ความขัดแย้งกลายเป็นเรื่องของเวียดนามทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2512 ได้เกิดปฏิบัติการมนู เครื่องบินของกองทัพอาการสหรัฐได้บินเข้าไปทิ้งระเบิดในดินแดนกัมพูชาที่อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดตายนิญในเวียดนามใต้ และได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากตามแนวชายแดน โดยหวังว่าจะขับไล่เวียดกงออกไปจากกัมพูชาได้ ฮานอยยังคงนิ่งเงียบหลังจากเหตุการณ์นี้ ไม่มีการประชุมใดๆเกิดขึ้นตามมา
การโค่นล้มพระนโรดม สีหนุ (พ.ศ. 2513)
แก้รัฐประหารของลอน นอล
แก้เมื่อพระนโรดม สีหนุออกเดินทางไปยังฝรั่งเศส ได้มีกลุ่มต่อต้านเวียดนามซึ่งได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาลออกมาประท้วงที่สถานทูตเวียดนามเหนือและเวียดกง ลน นลไม่ได้พยายามทำให้การประท้วงสิ้นสุดลง ในวันรุ่งขึ้น กลับสั่งปิดท่าเรือสีหนุวิลล์ไม่ให้เวียดนามเหนือใช้ และประกาศขับไล่ทหารเวียดกงออกไปจากกัมพูชาภายในวันที่ 15 มีนาคม ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2513 ได้จัดให้มีการประชุมสภาเกี่ยวกับอนาคตของพระนโรดม สีหนุ ในฐานะประมุขรัฐ ซึ่งสภาลงมติ 92 – 0 ปลดพระนโรดม สีหนุออกจากประมุขรัฐ เจง เฮงได้เป็นประธานสมัชชาแห่งชาติ ลน นลเป็นนายกรัฐมนตรีและมีอำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระสีสุวัตถิ์ สิริมตะเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐบาลใหม่คงอยู่เพื่อให้การถ่ายโอนอำนาจเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีข้อสงสัยว่าสหรัฐอยู่เบื้องหลังการปลดพระนโรดม สีหนุแต่ไม่มีหลักฐาน
ชนชั้นกลางส่วนใหญ่และชาวกัมพูชาที่มีการศึกษายอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบใหม่เพราะหมายถึงการได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐและมีกองทหารสหรัฐเข้ามาในประเทศ พระนโรดม สีหนุที่เดินทางไปยังปักกิ่งได้ประกาศผ่านทางวิทยุเรียกร้องให้ประชาชนที่สนับสนุนพระองค์ออกมาประท้วง ซึ่งมีผู้ประท้วงออกมาในหลายจังหวัดแต่ที่รุนแรงที่สุดคือจังหวัดกำปงจาม ในวันที่ 29 มีนาคม ฝูงชนได้ฆ่าลน นิล น้องชายของลน นลและตัดเอาตับไปปรุงอาหาร ในพนมเปญมีผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องให้สีหนุกลับมาราว 40,000 คน ก่อนที่จะสงบลง และกลายเป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ
การสังหารหมู่ชาวเวียดนาม
แก้กลุ่มชนส่วนใหญ่ทั้งในเมืองและในชนบทได้แสดงความโกรธแค้นและระบายใส่กลุ่มชนชาวเวียดนาม ลน นลได้จัดตั้งกองทหารเพื่อกวาดล้างชาวเวียดนามราว 400,000 คนเพื่อเป็นการต่อต้านเวียดกง มีการจับชาวเวียดนามไปเข้าค่ายกักกันแล้วฆ่าทิ้งภายหลัง ในวันที่ 15 เมษายน มีร่างของชาวเวียดนาม 800 คนลอยในแม่น้ำโขงเข้าไปสู่เวียดนามใต้ ทั้งเวียดนามใต้ เวียดนามเหนือและเวียดกงประณามการสังหารหมู่ครั้งนี้[16] ซึ่งลน นลได้กล่าวต่อรัฐบาลไซ่ง่อนว่าเป็นการยากที่จะแยกชาวเวียดนามที่บริสุทธิ์ออกจากพวกเวียดกง จึงควบคุมการทำงานของทหารได้ยาก[17]
แนวร่วมสหชาติกัมพูชาและรัฐบาลพลัดถิ่น
แก้ที่ปักกิ่ง พระนโรดม สีหนุได้ประกาศการสลายตัวของรัฐบาลที่พนมเปญและได้ประกาศตั้งแนวร่วมสหชาติเขมร ซึ่งพระองค์กล่าวภายหลังงว่าลน นลเป็นผู้ทำให้พระองค์ตัดสินใจทำแบบนี้ เวียดนามเหนือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในกัมพูชาโยส่งนายกรัฐมนตรี ฝ่าม วัน ด่ง เข้าพบพระนโรดม สีหนุที่จีน เพื่อสนับสนุนการที่พระองค์จะเข้ามาเป็นพันธมิตรกับเขมรแดง ในขณะนั้น พล พตได้ติดต่อกับเวียดนามซึ่งสนับสนุนอาวุธในการสู้รบกับรัฐบาลกัมพูชา พล พตและสีหนุอยู่ในปักกิ่งในเวลาเดียวกัน แต่ทั้งจีนและเวียดนามไม่เคยแจ้งให้สีหนุทราบ และไม่ได้ให้ทั้งสองคนพบกัน หลังจากนั้นไม่นาน พระนโรดม สีหนุได้ประกาศทางวิทยุไปถึงประชาชนกัมพูชาให้ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลและสนับสนุนเขมรแดง พระนโรดม สีหนุได้นำพระนามและความนิยมต่อพระองค์ในเขตชนบท ไปให้กับขบวนการที่พระองค์ควบคุมได้น้อยมาก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 พล พตกลับมายังกัมพูชา หลังจากที่พระนโรดม สีหนุประกาศสนับสนุนเขมรแดงทำให้เขมรแดงได้รับความนิยมและมีทหารมากขึ้น
พระนโรดม สีหนุได้ประกาศวาพระองค์เป็นพันธมิตรกับเขมรแดง เวียดนามเหนือ ขบวนการปะเทดลาว และเวียดกงซึ่งเท่ากับว่าพระองค์สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 5 พฤษภาคม พระองค์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรสหภาพแห่งชาติกัมพูชา พระนโรดม สัหนุมีสถานะเป็นประมุขรัฐ เปน โนตเป็นนายกรัฐมนตรี เขียว สัมพันเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหาร แม้ว่าผู้บัญชาการทหารตัวจริงคือพล พต ฮู นิมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ ฮู ยวนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การปฏิรูปชนบทและการสหกรณ์ รัฐบาลราชอาณาจักรสหภาพแห่งชาติแห่งกัมพูชาประกาศตัวเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น โดยเขียว สัมพันเป็นผู้แทนในกัมพูชา พระนโรดม สีหนุและผู้จงรักภักดีพำนักอยู่ในจีน แม้ว่าพระองค์จะเคยเสด็จมาเยี่ยมเยือนพื้นที่ปลดปล่อย เช่น นครวัดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2516 แต่การเสด็จมาก็เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ ไม่ได้มีอิทธิพลในทางการเมือง
สงครามที่ขยายตัว (พ.ศ. 2513 – 2514)
แก้ฝ่ายตรงข้าม
แก้หลังรัฐประหาร ลน นลได้นำกัมพูชาเข้าสู่สงคราม เขาได้พยายามติดต่อกับนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติเพื่อให้สนับสนุนรัฐบาลใหม่ มีปฏิบัติการทางทหารเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กองทัพของฝ่ายรัฐบาลที่เรียกว่ากองทัพแห่งชาติเขมร (FANK) ทหารส่วนใหญ่มาจากชาวกัมพูชาในเขตเมือง ซึ่งเข้าร่วมกับรัฐบาลใหม่หลังการโค่นล้มพระนโรดม สีหนุ กองทัพขยายตัวขึ้นมากจากจำนวนผู้สมัคร แต่การฝึกทักษะใดๆยังไม่เพียงพอ ทำให้กองทัพไม่มีความเข้มแข็งมากนัก ระหว่าง พ.ศ. 2517 – 2518 กองทัพของฝ่ายรัฐบาลได้เพิ่มจำนวนจาก 100,000 คนจนถึง 250,000 คน กองทัพสหรัฐได้สนับสนุนอาวุธและยุทโธปกรณ์ให้กัมพูชา และส่งเจ้าหน้าที่ 113 คนเข้ามาในพนมเปญใน พ.ศ. 2514
ปัญหาอีกประการของกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรคือการฉ้อราษฎร์บังหลวง มีทหารผีที่ไม่มีตัวตนแต่ได้รับเบี้ยเลี้ยง และนำอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนไปขายในตลาดมืด ลน นลจะสั่งการไปยังทหารระดับปฏิบัติการโดยตรง แต่ไม่ได้สนใจสถานะที่แท้จริงของกองทัพ ทหารส่วนใหญ่สู้รบอย่างกล้าหาญในครั้งแรกๆ แต่ค่อยๆลดลงเมื่อได้รับค่าตอบแทนต่ำจนไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว
กองทัพเขมรแดงได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่จากจีน ในช่วง พ.ศ. 2513 – 2515 เป็นช่วงที่มีการปรับองค์กร ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 – 2517 เป็นช่วงที่เริ่มจัดตั้งพื้นที่ปลดปล่อยในเขตชนบท เขมรแดงเริ่มมีปัญหากับพระนโรดม สีหนุและผู้สนับสนุน และตั้งแต่ พ.ศ. 2517 – 2518 เขมรแดงเริ่มเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยความรุนแรง
การรุกรานกัมพูชาของเวียดนามเหนือ
แก้ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวียดนามเหนือได้ส่งทหารรุกเข้าไปในกัมพูชาเพื่อต่อต้านรัฐบาลใหม่ของกัมพูชาที่นิยมตะวันตก โดยกล่าวว่าเป็นการรุกเข้าไปตามคำร้องขอของนวนเจีย ผู้นำเขมรแดง ทหารเวียดนามเดินทัพผ่านกัมพูชาตะวันออกไปอย่างรวดเร็ว จนอีก 24 กิโลเมตรจะถึงพนมเปญจึงถูกผลักดันให้ถอยกลับมา ทหารของเขมรแดงมีบทบาทน้อยมากในการนี้
ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2513 รัฐบาลเวียดนามใต้และสหรัฐได้เสนอยุทธการกัมพูชา โดยรัฐบาลสหรัฐจะต้องดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาในด้านเป็นการสร้างเกราะกำบังด้านหลังให้กับการถอนทหารสหรัฐ เพื่อทำลายระบบและทหารของเวียดนามเหนือ เป็นการทดสอบนโยบายการทำให้เป็นเวียดนาม และเป็นการส่งสัญญาณไปถึงรัฐบาลเวียดนามเหนือ เมื่อสหรัฐส่งทหารเข้าไปในกัมพูชา เวียดนามเหนือได้ประกาศยุทธการ X เพื่อต่อสู้กับฝ่ายสาธารณรัฐเขมรตามคำร้องขอของเขมรแดง และเพื่อป้องกันระบบและการขนส่งของตนในกัมพูชา ในเดือนมิถุนายนกองทัพเวียดนามเหนือรบชนะฝ่ายสาธารณรัฐเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ในขณะที่เขมรแดงได้จัดตั้งพื้นที่ปลดปล่อยทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นอิสระจากเวียดนามเหนือ
เจนละ 2
แก้ในคืนวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2514 กองกำลังของเวียดกงและเวียดนามเหนือได้โจมตีสนามบินโปเชนตงซึ่งเป็นสนามบินหลักของฝ่ายสาธารณรัฐเขมรจนได้รับความเสียหายมาก แต่สหรัฐก็รีบส่งความช่วยเหลือมาทันที สองสัปดาห์ต่อมา ลน นลป่วยต้องไปรักษาตัวที่ฮาวาย ก่อนจะรีบกลับในอีก 2 เดือนต่อมา
ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม ฝ่ายสาธารณรัฐเขมรได้จัดตั้งปฏิบัติการเจนละ 2 ซึ่งเป็นการรุกครั้งแรกของปี จุดประสงค์หลักคือเพื่อเปิดเส้นทางหมายเลข 6 ไปยังกำปงธม ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองและถูกปิดกั้นจากเมืองหลวงไปกว่าปี ในช่วงแรกปฏิบัติการประสบความสำเร็จ สามารถเข้าถึงเมืองได้ กองทัพเวียดนามเหนือและเขมรแดง โจมตีกลับมาอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมและยึดเมืองกลับไปได้ ความพ่ายแพ้ในปฏิบัติการเจนละ 2 ทำให้เขมรแดงและเวียดนามเหนือเป็นฝ่ายรุกโดยสมบูรณ์
ความยุ่งยากในสาธารณรัฐเขมร (พ.ศ. 2515 – 2518)
แก้การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด
แก้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 – 2517 สงครามเกิดขึ้นทางเหนือและทางใต้ของเมืองหลวงการต่อสู้จำกัดเพียงการรักษาการเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ปลูกข้าวทางตะวันตกเฉียงเหนือ และเส้นทางหมายเลข 5 ไปยังดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นทางที่ติดต่อไปยังเวียดนามใต้ ส่วนกลยุทธของเขมรแดง ต้องการตัดการติดต่อในทุกทางเพื่อโดดเดี่ยวพนมเปญ ในที่สุดกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรจึงแตกเป็นส่วนไม่สามารถได้รับการสนับสนุนได้ การช่วยเหลือของสหรัฐส่วนใหญ่เป็นการทิ้งระเบิดและเครื่องบินรบ สหรัฐและเวียดนามใต้รุกเข้ามาในกัมพูชา โดยการสนับสนุนทางอากาศในชื่อปฏิบัติการเสรีภาพ เมื่อกองกำลังเหล่านี้ถอนตัวออกไป ปฏิบัติการทางอากาศยังคงดำเนินต่อไป เพื่อทำลายการเคลื่อนไหวของเวียดนามเหนือและเวียดกง
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลน นลได้ประกาศว่าเขาเป็นผู้ปลดปล่อยและบังคับให้เจง เฮงซึ่งเป็นประมุขรัฐนับตั้งแต่ปลดพระนโรดม สีหนุให้ลาออกและมอบอำนาจให้เขาแทน ในการฉลองครบรอบ 2 ปีของรัฐประหาร ลน นลมีฐานะเป็นประมุขรัฐแม้จะมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ลน นลได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเขมร แต่กลับเกิดความแตกแยกภายในมากขึ้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 มีการลงนามในความตกลงปารีสเพื่อยุติความขัดแย้งในลาวและเวียดนามใต้ ในวันที่ 29 มกราคม ลน นลได้ประกาศหยุดยิงทั้งประเทศ แต่เขมรแดงไม่ยอมรับการหยุดยิงนี้และยังคงสู้รบต่อไป ในเดือนมีนาคมและเมษายนได้รุกเข้าใกล้เมืองหลวงทำให้กองทัพอากาศสหรัฐตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก เพื่อผลักดันให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ถอยกลับไปในเขตชนบท[18]
สถานการณ์ที่ใกล้เข้ามา
แก้ในช่วง พ.ศ. 2515 – 2516 ทั้งในและนอกประเทศกัมพูชาเชื่อว่าสงครามเป็นเรื่องความขัดแย้งของคนต่างชาติ และไม่มีผลต่อธรรมชาติของคนเขมร ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2516 ยังไม่มีความกังวลในกลุ่มของรัฐบาลถึงท่าทีของเขมรแดงที่ไม่ต้องการเจรจาสันติภาพและความรุนแรงที่ฝังลึกในสังคมผู้นำของเขมรแดง การคงอยู่ของเขมรแดงในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องหลบซ่อน ในพื้นที่ปลดปล่อยจะเรียกว่า"อังการ์" ซึ่งเป็นภาษาเขมรหมายถึงองค์กร
ในช่วงเวลาเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งระหว่างเขมรแดงกับเวียดนามเหนือ ผู้นำหัวรุนแรงของพรรคกล่าวหาว่าเวียดนามต้องการสร้างสหพันธรัฐอินโดจีน โดยมีเวียดนามเหนือเป็นผู้นำ เขมรแดงนิยมแนวทางของจีน ส่วนเวียดนามเหนือนิยมแนวทางของสหภาพโซเวียตที่ยอมรับรัฐบาลของลน นล หลังการลงนามในความตกลงปารีส กองทัพประชาชนเวียดนามยุติการส่งความช่วยเหลือทางอาวุธให้เขมรเดงเพื่อกดดันให้เขมรแดงยอมสงบศึก แต่เขมรแดงกลับประนามฮานอย สมาชิกของเขมรแดงที่เคยผ่านการอบรมมาจากเวียดนามมักถูกกลุ่มของพล พต สังหาร[19] นอกจากนั้น เขมรแดงยังแสดงท่าทีในพื้นที่ปลดปล่อยว่าไม่แน่ใจว่าจะสนับสนุนสีหนุตลอดไปหรือไม่ แม้ว่าสีหนุจะทรงพอพระทัยในการคุ้มครองของจีน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2516 นี้ ผู้จงรักภักดีต่อสีหนุเริ่มถูกขับออกจากรัฐบาลพลัดถิ่น
พนมเปญแตก
แก้เขมรแดงเริ่มโจมตีพนมเปญอีกครั้งเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2518 ทำให้การขนส่งและการคมนาคมในสาธารณรัฐเขมรถูกตัด การเก็บเกี่ยวข้าวและการจับปลาทำได้น้อยลง ประชากรในพนมเปญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ลี้ภัยจาก 6 แสนคนก่อนสงครามกลายเป็น 2 ล้านคน หนทางที่สาธารณรัฐเขมรจะได้รับความช่วยเหลือคือการขนส่งทางแม่น้ำโขงจากเวียดนามใต้ ต่อมา เขมรแดงควบคุมแม่น้ำไว้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐจึงใช้ความช่วยเหลือทางอากาศ ทหารฝ่ายสาธารณรัฐเขมรยังคงสู้ป้องกันกรุงพนมเปญ ในเดือนมีนาคม มีทหารเขมรแดงราว 40,000 คนล้อมกรุงพนมเปญไว้
ลน นลลี้ภัยออกนอกประเทศในวันที่ 1 เมษายน[20] เซากัม คอยทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดี แต่สถานการณ์ก็เลวร้ายลง ในวันที่ 12 เมษายน สหรัฐตัดสินใจปิดสถานทูตและอพยพคนออกด้วยเฮลิคอปเตอร์ เซากัม คอยได้เดินทางออกนอกประเทศด้วย ลอง โบเรต ลน นน และพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีอื่นๆตัดสินใจอยู่ต่อไป[21] และต่อมา ทั้งหมดถูกเขมรแดงประหารชีวิต
หลังจากที่สหรัฐและเซากัม คอยอพยพออกไป สัก สุตสคานทำหน้าที่เป็นประมุขรัฐของสาธารณรัฐเขมรจนกระทั่งล่มสลาย ในวันที่ 15 เมษายน แนวป้องกันเมืองถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ทำลาย ตอนเช้าของวันที่ 17 เมษายน คณะกรรมการตัดสินใจย้ายที่ทำการรัฐบาลไปยังจังหวัดอุดรมีชัยทางตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. เสียงของนายพลเม็ย ซี จันของกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรได้ออกอากาศทางวิทยุประกาศให้กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรหยุดยิงเพราะอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มที่ล้อมพนมเปญไว้[22] ในที่สุด สงครามสิ้นสุดโดยเขมรแดงก่อตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย พนมเปญว่างเปล่า อพยพผู้คนออกสู่ชนบท ปีศูนย์ได้เริ่มต้นขึ้น
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Global security – Cambodia Civil War
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Spencer C. Tucker (2011). The Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social, and Military History. ABC-CLIO. p. 376. ISBN 978-1-85109-960-3.
- ↑ Sarah Streed (2002). Leaving the house of ghosts: Cambodian refugees in the American Midwest. McFarland. p. 10. ISBN 0-7864-1354-9.
- ↑ Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality Crises: The Case of Cambodia, 1970–1979". Forced Migration and Mortality. National Academies Press. pp. 103–104. ISBN 9780309073349.
Subsequent reevaluations of the demographic data situated the death toll for the [civil war] in the order of 300,000 or less.
cf. "Cambodia: U.S. bombing, civil war, & Khmer Rouge". World Peace Foundation. 7 August 2015. - ↑ Banister, Judith; Johnson, E. Paige (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia". Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community. Yale University Southeast Asia Studies. p. 87. ISBN 9780938692492.
An estimated 275,000 excess deaths. We have modeled the highest mortality that we can justify for the early 1970s.
- ↑ Sliwinski, Marek (1995). Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique. Paris: L'Harmattan. pp. 42–43, 48. ISBN 978-2-738-43525-5.
- ↑ Isaacs, Hardy and Brown et al., pp. 54–58.
- ↑ Chandler, pp. 153–156.
- ↑ Osborne, p. 187.
- ↑ Chandler, p.157.
- ↑ Isaacs, Hardy and Brown, p. 86.
- ↑ Chandler, pp. 164–165.
- ↑ Osborne, p. 192.
- ↑ Isaacs, Hardy and Brown, p. 87.
- ↑ Chandler, p. 128.
- ↑ Lipsman and Doyle, p. 145.
- ↑ Lipsman and Doyle, p. 146.
- ↑ Isaacs, Hardy and Brown, p. 100.
- ↑ Chandler, p. 211.
- ↑ Deac, p. 218.
- ↑ Isaacs, Hardy and Brown, p. 111.
- ↑ Ponchaud, p. 7.