สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

สาธารณรัฐประชาชนฮังการี (ฮังการี: Magyar Népköztársaság; รัสเซีย: Венгерская Народная Республика) เป็นรัฐสังคมนิยมแบบพรรคการเมืองเดียว ดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1949[5] ถึงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1989[6] โดยประเทศในช่วงเวลานี้ถูกพรรคแรงงานสังคมนิยมฮังการีปกครองภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต[7] ตามการประชุมที่มอสโกใน ค.ศ. 1944 วินสตัน เชอร์ชิล และโจเซฟ สตาลิน ได้เห็นพ้องต้องกันว่าในภายหลังสงคราม ฮังการีจะถูกรวมอยู่ในเขตอิทธิพลสหภาพโซเวียต[8][9] สาธารณรัฐประชาชนฮังการียังดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1989 เมื่อกองกำลังฝ่ายต่อต้านได้นำพาจุดสิ้นสุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศฮังการี

สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
Magyar Népköztársaság

1949–1989
เพลงชาติ"ฮิมนุส"
(ไทย: "เพลงสดุดี")
สาธารณรัฐประชาชนฮังการีใน ค.ศ. 1989
สาธารณรัฐประชาชนฮังการีใน ค.ศ. 1989
สถานะรัฐสมาชิกในกติกาสัญญาวอร์ซอและคอมิคอน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บูดาเปสต์
47°26′N 19°15′E / 47.433°N 19.250°E / 47.433; 19.250
ภาษาราชการฮังการี
ศาสนา
รัฐโลกวิสัย
(โดยนิตินัย)
รัฐอเทวนิยม
(โดยพฤตินัย)
โรมันคาทอลิก (ส่วนใหญ่)
เดมะนิมชาวฮังการี
การปกครองค.ศ. 1949–1956:
รัฐเดี่ยว รัฐพรรคการเมืองเดียว ลัทธิมากซ์-เลนิน สาธารณรัฐสังคมนิยมภายใต้ระบอบเผด็จการสตาลิน[1]
ค.ศ. 1956-1989:
รัฐเดี่ยว รัฐพรรคการเมืองเดียว ลัทธิมากซ์-เลนิน สาธารณรัฐสังคมนิยม
เลขาธิการ 
• 1949–1956
มาจาช ราโกชี
• 1956
แอร์เนอ แกเรอ
• 1956–1988
ยาโนช กาดาร์
• 1988–1989
กาโรย โกรซ
สภาประธานาธิบดี 
• 1949–1950 (คนแรก)
อาร์ปาด ซอกอชิช
• 1988–1989 (คนสุดท้าย)
บรูโน แฟแร็นตส์ สตรออุบ
คณะรัฐมนตรี 
• 1949–1952 (คนแรก)
อิชต์วาน โดบี
• 1988–1989 (คนสุดท้าย)
มิกโลช เนแมต
สภานิติบัญญัติโอร์ซากจือเลส (Országgyűlés)
ประวัติศาสตร์ 
31 พฤษภาคม 1947
20 สิงหาคม 1949
14 ธันวาคม 1955
23 ตุลาคม 1956
1 มกราคม 1968
23 ตุลาคม 1989
พื้นที่
• รวม
93,011[2] ตารางกิโลเมตร (35,912 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1949[3]
9,204,799
• 1970[3]
10,322,099
• 1990[3]
10,375,323
เอชดีไอ (1989)0.915[4]
สูงมาก
สกุลเงินโฟรินต์ (HUF)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รูปแบบวันที่yyyy.mm.dd.
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+36
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฮังการีที่ 2
สาธารณรัฐฮังการีที่ 3
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี

สาธารณรัฐมีมุมมองว่าตนเองเป็นรัฐทายาทของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์แห่งแรกหลังจากการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (รัสเซียโซเวียต) สาธารณรัฐถูกกำหนดให้เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนโดยสหภาพโซเวียตเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1940 ในทางภูมิศาสตร์แล้ว สาธารณรัฐมีอาณาเขตติดกับโรมาเนียและสหภาพโซเวียต (ส่วนด้านยูเครนโซเวียต) ทางด้านตะวันออก ส่วนด้านตะวันตกเฉียงใต้ติดกับยูโกสลาเวีย (ส่วนด้านโครเอเชีย เซอร์เบีย และสโลวีเนีย) สำหรับทางด้านเหนือติดกับเชโกสโลวาเกีย และติดกับออสเตรียทางด้านตะวันตก

ผลสืบเนื่อง

แก้

รายงานจากโพล ค.ศ. 2020 ของ Policy Solutions ในประเทศฮังการี ชาวฮังการีร้อยละ 54 ระบุว่าผู้คนมีชีวิตที่ดีกว่าในสมัยคอมมิวนิวต์ ในขณะที่ร้อยละ 31 ระบุว่าผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตที่ดีกว่าตอนนั้น[10]

อ้างอิง

แก้
  1. Gati, Charles (September 2006). Failed Illusions: Moscow, Washington, Budapest and the 1956 Hungarian Revolt. Stanford University Press. pp. 47–49. ISBN 0-8047-5606-6.
  2. Élesztős, László, บ.ก. (2004). "Magyarország határai" [Borders of Hungary]. Révai új lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. 13. Szekszárd: Babits Kiadó. p. 895. ISBN 963-9556-13-0.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Az 1990. évi népszámlálás előzetes adatai". Statisztikai Szemle. 68 (10): 750. October 1990.
  4. Human Development Report 1990, p. 111
  5. "1949. évi XX. törvény. A Magyar Népköztársaság Alkotmánya" [Act XX of 1949. The Constitution of the Hungarian People's Republic]. Magyar Közlöny (ภาษาฮังการี). Budapest: Állami Lapkiadó Nemzeti Vállalat. 4 (174): 1361. 20 August 1949.
  6. "1989. évi XXXI. törvény az Alkotmány módosításáról" [Act XXXI of 1989 on the Amendment of the Constitution]. Magyar Közlöny (ภาษาฮังการี). Budapest: Pallas Lap- és Könyvkiadó Vállalat. 44 (74): 1219. 23 October 1989.
  7. Rao, B. V. (2006), History of Modern Europe A.D. 1789–2002, Sterling Publishers Pvt. Ltd.
  8. Melvyn Leffler, Cambridge History of the Cold War: Volume 1 (Cambridge University Press, 2012), p. 175
  9. The Untold History of the United States, Stone, Oliver and Kuznick, Peter (Gallery Books, 2012), p. 114, citing The Second World War Triumph and Tragedy, Churchill, Winston, 1953, pp. 227–228, and Modern Times: The World from the Twenties to the Nineties, Johnson, Paul (New York: Perennial, 2001), p. 434
  10. "30 YEARS ON – PUBLIC OPINION ON THE REGIME CHANGE IN HUNGARY" (PDF). Policy Solutions. May 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้